FBIA

สำรวจ “โลกใหม่” ซ่อนอยู่ใต้น้ำแข็งแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) พบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพียบ

นักสำรวจพบ “โลกใหม่” ที่มีระบบนิเวศของตัวเอง ซ่อนอยู่ใต้หิ้งน้ำแข็ง Larsen แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ในทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) ณ ความลึกประมาณ 450 เมตร ซึ่งข้างใต้เต็มไปด้วยฝูงสิ่งมีชีวิตแบบที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน หิ้งน้ำแข็ง Larsen ถูกขนานนามว่าเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นร่องลึกที่ทอดยาวไปตามน้ำแข็งในบริเวณที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ ซึ่งลักษณะที่ผิดปกตินี้นักวิจัยคาดว่าเป็นร่องที่เกิดจากน้ำแข็งละลายกลายเป็นแม่น้ำลึกลงไปใต้น้ำแข็ง ดังนั้นทีมวิจัยจึงลงมือเจาะน้ำแข็งและใช้กล้องลงไปสำรวจ กล้องปรากฏเป็นภาพเบลอ ๆ มีจุดดำ ๆ ในตอนแรกนักวิจัยคิดว่าอุปกรณ์มีปัญหา แต่หลังจากปรับโฟกัส พบว่าเลนส์กล้องถูกปิดด้วย แอมฟิพอด (Amphipods) สัตว์จำพวกครัสเตเชียน (พวกกุ้ง) ซึ่งนักวิจัยไม่ได้คาดคิดว่าจะพบสิ่งมีชีวิตมากมายขนาดนี้ เครก สตีเวนส์ นักสมุทรศาสตร์ทางกายภาพจากสถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาติ (NIWA) ประเทศนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “การที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มากขนาดนี้ หมายความที่นั่น (ใต้แผ่นน้ำแข็ง) มีระบบนิเวศที่สำคัญเกิดขึ้นอย่างชัดเจน” ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่สงสัยเรื่องนี้มานานแล้วว่าที่บริเวณปากแม่น้ำที่ไหลลงในมหาสมุทร น่าจะมีระบบนิเวศหรือคุณลักษณะบางอย่างที่น่าจะเอื้อต่อการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้ แต่ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีใครศึกษาและสำรวจอย่างจริงจัง “ฮาว ฮอร์แกน” หัวหน้าทีมวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า “การค้นพบโลกใหม่นี้เป็นกลุ่มแรกให้ความรู้สึกเหมือนเป็นนีล อาร์มสตรองที่เหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกอย่างนั้นเลยล่ะ พวกเราดีใจมาก” หลังจากส่งกล้องลงไปสำรวจ นอกจากการพบสิ่งมีชีวิตจะทำให้พวกเขาแปลกใจแล้ว ทีมวิจัยยังพบว่าถ้ำใต้น้ำแข็งถูกแบ่งออกเป็น 4-5 ชั้น และเพดานถ้ำน้ำแข็งก็ไม่ได้ราบเรียบเหมือนที่เคยเข้าใจกันมาตลอด หมายความว่าการสำรวจในครั้งนี้ทำให้นักวิจัยรู้ว่าเรื่องที่พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับภูเขาน้ำแข็งนั้นผิดมาตลอด […]

สำรวจ “โลกใหม่” ซ่อนอยู่ใต้น้ำแข็งแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) พบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพียบ Read More »

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น

เมื่อปี 2021 ระหว่างที่ “มาร์ติน กลาทซ์ และโอลิเวอร์ กลาทซ์” พี่น้องฝาแฝดนักตกปลาที่ออกไปตกปลาในทะเลสาบแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ จู่ ๆ ก็มี “ปลาดุกสีทอง” กระโดดขึ้นมาบนเรือ ซึ่งปลาดุกสีพิเศษนี้ไม่ใช่ปลาเทพ แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ! โดยปลาดุกที่ทั้งคู่พบคือ “ปลาดุกเวลส์” (Wels Catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis เป็นสายพันธุ์ปลาดุกขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบและแม่น้ำทั่วยุโรป ปลาดุกชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องขนาดมหึมา พวกมันสามารถโตได้อย่างต่ำ 2.7 เมตร หนักเกือบ 130 กิโลกรัม อ้างอิงข้อมูลจาก NOAA โดย มาร์ติน กลาทซ์ กล่าวว่า “ตลอดชีวิตการตกปลาผมเพิ่งเคยเห็นปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เป็นครั้งแรก” ปกติแล้วปลาดุกเวลส์จะมีลำตัวสีเขียวแกมดำ มีลายจุดสีเหลืองเล็กน้อย แต่ปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” (ภาวะด่าง) เป็นโรคทางพันธุกรรมหายากที่เมลานินไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้  โรคนี้จะต่างจาก “โรคผิวเผือก” (Albinism) ที่ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) ในมุมมองของมนุษย์สีทองแบบนี้ดูแปลกและสวยงาม แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมันค่อนข้างใช้ชีวิตลำบากมากและเสี่ยงอันตรายมาก

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น Read More »

นักวิจัยสแกนกระโหลกศีรษะมนุษย์ยุคหิน-เพื่อดูว่าเมื่อ 8,000 ปีก่อน พวกเขามีหน้าตาอย่างไร

เมื่อปี 2012 นักโบราณคดีค้นพบกะโหลกศีรษะของมนุษย์ชาวสแกนดิเนเวียในแหล่งขุดค้น Kanaljorden ในเมือง Motala ประเทศสวีเดน มีอายุเก่าแก่ราว 8,000 ปี ภายในกระโหลกมี DNA ถูกเก็บรักษาไว้ ซึ่งข้อมูล DNA สามารถเปิดเผยใบหน้าที่แท้จริงของมนุษย์ยุคน้ำแข็งคนนี้ได้ !   นักนิติวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน “ออสการ์ นิลส์สัน” ใช้ข้อมูลพันธุกรรมจากกระโหลกศีรษะที่บ่งบอกถึง สีผิว สีผม สีนัยน์ตา อายุ และสแกนด้วยเครื่อง 3D จนเผยให้เห็นใบหน้าที่แท้จริงของชายวัย 50 ปี ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 8,000 ปีก่อน ในยุค Scandinavian Mesolithic เป็นช่วงเวลาของธารน้ำแข็งยุคสุดท้าย โดยตั้งชื่อให้เขาว่า “ลุดวิก” (Ludvig) “คริสตีน โรมีย์” จาก National Geographic รายงานว่า “ลุดวิกมีผมสีน้ำตาล โหนกแก้มนูนชัด นัยน์ตาสีฟ้าอ่อน เป็นชายร่างกำยำ ตกแต่งด้วยเสื้อคลุมที่ทำจากหนังหมูป่า” โดยส่วนที่ยากที่สุดของเรื่องนี้คือส่วนของกรามที่หายไป นักวิจัยจึงต้องวิเคราะห์คำนวณจากขนาดของกระโหลกศีรษะส่วนบน  

นักวิจัยสแกนกระโหลกศีรษะมนุษย์ยุคหิน-เพื่อดูว่าเมื่อ 8,000 ปีก่อน พวกเขามีหน้าตาอย่างไร Read More »

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว

พื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศเยเมนและโอมาน มีหลุมประหลาดขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นโดยไม่มีใครทราบที่มาที่ไป ด้วยความลึกลับของหลุมนี้ คนในพื้นที่จึงเรียกมันว่า “หลุมสู่นรก” (Well of Hell) เพราะเชื่อว่าหลุมแห่งนี้คือสถานที่แห่งความชั่วร้าย โดย “หลุมสู่นรก” ตั้งอยู่ที่ทะเลทรายแห่งเมืองอัล มาฮ์รา เป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 30 เมตร ลึกประมาณ 100-250 เมตร นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหลุมนี้น่าจะมีอายุหลายล้านปีมาแล้ว แม้มันจะดูน่าค้นหาในสายตาของนักสำรวจ แต่คนในพื้นที่ต่างหวาดกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้ สำหรับที่มาของของชื่อหลุมสู่นรก มาจากตำนานที่เล่าขานกันว่ามันเป็นคุกที่สร้างขี้นเพื่อจองจำปิศาจ ซึ่งมันก็ไม่ได้มีหลักฐานประจักษ์แน่ชัดนักว่าในนั้นมีปิศาจจริงหรือไม่ แต่เพราะ “กลิ่นเหม็นเขียว” ที่ลอยขึ้นมา คนในพื้นที่จึงเชื่อว่ามีสิ่งชั่วร้ายอยู่ภายในนั้น ทั้งนี้ การสำรวจจากปากหลุมทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากหลุมมีลักษณะดิ่งลงไปเป็นแนวตรง จึงเกิดเงาจากปากหลุมบดบังแสงอาทิตย์ ทางเดียวที่จะพิสูจน์ภายในหลุมได้คือการส่งคนลงไปสำรวจ ซึ่งทีมนักสำรวจนำโดย “โมฮัมมัด อัล คินดี” ตัดสินใจที่จะลงไปพิสูจน์ แม้คนในพื้นที่จะเตือนพวกเขาเกี่ยวกับคำสาปร้ายแรงที่อยู่ในหลุมสู่นรกนี้ก็ตาม คินดีและทีมของเขาได้ลงไปสำรวจถึงก้นหลุมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2021 ปรากฏว่าภูมิทัศน์ของมันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร ระดับออกซิเจนก็อยู่ในระดับที่ปกติไม่ต่างจากข้างบนพื้นผิว ไม่มีแก๊สพิษ แถมยังมีหินไข่มุกสีเขียวที่เกิดจากการสะสมของแคลเซียมคาบอร์เนต (เรียกว่า Cave pearl เพราะมันพบได้บ่อยในถ้ำ) ทำให้พื้นที่นี้ดูน่าสนใจสำหรับนักสำรวจอย่างพวกเขาด้วย แต่หากจะบอกว่าอะไรที่น่ากลัวในหลุมนี้ ก็คงเป็นงูพิษจำนวนมาก

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว Read More »

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก

โพลีสไตรีน (Polystyrene) คือพลาสติกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด เช่นกล่องพลาสติก กล่องโฟม เป็นวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลและย่อยสลาย ส่วนใหญ่แล้วจะจบลงด้วยการฝังดินหรือไม่ก็ถูกทิ้งลงมหาสมุทร แต่ทว่าล่าสุดนักวิจัยพบ “หนอน” ที่สามารถกินและย่อยพลาสติกพวกนี้ได้แล้ว งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Microbial Genomics โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ค้นพบตัวอ่อนของด้วงดำ (Zophobas Morio) หรือที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์เวิร์ม” หรือ “หนอนยักษ์” (Superworm) สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ด้วยการกินพลาสติกโฟม “คริสเตียน รินกี้” ผู้นำการวิจัยทดลองแบ่งซูเปอร์เวิร์มออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว กลุ่มที่เลี้ยงด้วยพลาสติกโฟม และกลุ่มที่อดอาหารไปเลย ผลปรากฏว่า กลุ่มที่เลี้ยงด้วยโฟมสามารถเติบโตได้ดีกว่ากลุ่มที่อดอาหาร และมีโอกาสกลายเป็นดักแด้มากกว่าถึง 60% (แต่เป็นรองกลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว) นั่นหมายความว่า ซูเปอร์เวิร์มสามารถกินพลาสติกโฟมและเปลี่ยนมันเป็นพลังงานได้จริง ๆ ซึ่งแม้อาหารพลาสติกจะไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้กินอะไรเลย แต่สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้จริง ๆ คือ “เอนไซม์ในลำไส้” ของซูเปอร์เวิร์มว่าพวกมันสามารถย่อยสลายสารพลาสติกที่อึด-ถึก-ทนและย่อยยากนี้ได้อย่างไร ? แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะทำโรงงานหนอนย่อยพลาสติก แต่ต้องการศึกษาเพื่อหาทางรีไซเคิลพลาสติกต่างหาก โดยทีมวิจัยได้ใช้เทคนิดที่เรียกว่า Metagenomics ในการวิเคราะห์จุลินทรีย์ในลำไส้ และค้นหาว่าเอนไซม์ตัวไหนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก Read More »

ขณะนี้หมียักษ์ “เจ้าแฮงค์รถถัง” (Hank The Tank) ยังบุกบ้านคนต่อเนื่อง หาอาหารแล้วกว่า 30 หลัง

เป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่หัวขโมย “Hank the Tank” (เจ้าแฮงค์รถถัง) หมีดำไซส์บิ๊กหนัก 226 กิโลกรัม ได้บุกทลายบ้านเรือนมาแล้วกว่า 30 หลังในย่าน Lake Tahoe รัฐแคลิฟอร์เนีย และดูเหมือนว่ามันจะไม่ต้องจำศีลในฤดูหนาวด้วยซ้ำเพราะมีอาหารให้กินเหลือเฟือ เจ้าแฮงค์รถถังมีขนาดใหญ่กว่าหมีดำทั่วไปที่หนักประมาณ 130 กิโลกรัมเท่านั้น โดยส่วนหนึ่งที่ทำให้มันมีขนาดใหญ่แบบนี้เป็นเพราะอาหารของมนุษย์มีแคลอรี่สูง เช่น พิซซ่า เบอเกอร์ ไอศกรีม น้ำอัดลม น้ำหวาน ซึ่งเมื่อเทียบกับอาหารตามธรรมชาติที่หมีทั่วไปกินจำพวกแมลง ผลไม้ น้ำผึ้ง หรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ “ปีเตอร์ ทีรา” โฆษกกรมประมงและสัตว์ป่าแห่งแคลิฟอร์เนีย กล่าวกับ BBC ว่า “แฮงค์เรียนรู้ที่จะใช้ขนาดและพลกำลังของตัวเองในการบุกทลายโรงจอดรถ ประตูบ้าน หน้าต่าง เพื่อบุกเข้าไปหาอาหารในห้องครัว ในยามที่ไม่มีคนอยู่บ้าน” ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องร้องเรียนกว่า 150 ครั้งว่า มีโจรบุกรุกแต่เมื่อตรวจจากกล้องวงจรปิด ร้อยทั้งร้อยจะพบว่าเป็นฝีมือของหมีดำทั้งสิ้น แต่ทว่าเมื่อตรวจดีเอ็นเอจากร่องรอยและขนหมีแล้ว ปรากฏว่ามีหมีดำอย่างน้อย 3 ตัว เชื่อว่ามีเจ้าแฮงค์เป็นหัวโจก เป็นไปได้ว่าพวกมันเริ่มเข้ามาในเมืองเมื่อช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงเมื่อปี 2021 เป็นช่วงเวลาที่ต้องสะสมอาหารเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาวที่จะมาถึง แต่ดูเหมือนพวกมันจะค้นพบว่าที่นี่ (เมือง) มีอาหารเหลือเฟือแบบไม่ต้องจำศีล

ขณะนี้หมียักษ์ “เจ้าแฮงค์รถถัง” (Hank The Tank) ยังบุกบ้านคนต่อเนื่อง หาอาหารแล้วกว่า 30 หลัง Read More »

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง”

ระหว่างการสำรวจธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของปาทาโกเนีย นักบรรพชีวินค้นพบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์หายากคือ “อิคธิโอซอร์” (Ichthyosaur) สัตว์เลื้อยคลานในทะเลคล้ายโลมาที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 251-95 ล้านปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ทำให้ฟอสซิลนี้น่าสนใจและหายากกว่าปกติคือ “มันกำลังตั้งท้อง” ฟอสซิลอิคธิโอซอร์นี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2009 โดยนักบรรพชีวินวิทยา “Judith Pardo-Pérez” เขาตั้งชื่อให้มันว่า “ฟิโอน่า” (Fiona) มาจากตัวละครยักษ์ในเภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง “Shrek” (2001) เพราะฟอสซิลมีสีเขียวจากการถูกเคลือบด้วยสารออกไซด์ มีขนาดยาว 4 เมตร มีอายุประมาณ 139-129 ล้านปีก่อน (ช่วงต้นยุคครีเทเชียส) ต่อมาเข้าร่วมงานวิจัยกับ “แอริน แมกซ์เวล” ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งรัฐในเมืองสตุตการ์ท ประเทศเยอรมนี ในการขุดมันขึ้นมา โดยต้องใช้เวลากว่า 13 ปี ในการขุดเนื่องจากที่ตั้งของฟอสซิลฟิโอน่าตั้งอยู่บนธารน้ำแข็ง Tyndall ซึ่งห่างไกลมาก ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในการขนย้ายเท่านั้น Pardo-Pérez กล่าวว่า “ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้อง สิ่งนี้ช่วยในการศึกษาอย่างมาก เพราะมันแสดงให้เห็นวงจรชีวิต สามารถบอกได้ว่าอิคธิโอซอร์ตั้งท้องครั้งละกี่ตัว ลูกที่กำลังจะคลอดออกมามีขนาดเท่าใด” อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้องตัวแรก เพราะก่อนหน้านี้เคยพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1749 แต่ถึงอย่างนั้นการค้นพบนี้ก็ช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้มากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากฟอสซิลฟิโอน่า ยังมีฟอสซิลของอิคธิโอซอร์อีกนับร้อยตัวในแหล่งสะสมฟอสซิล ณ

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง” Read More »

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น

เมื่อปี 2021 ระหว่างที่ “มาร์ติน กลาทซ์ และโอลิเวอร์ กลาทซ์” พี่น้องฝาแฝดนักตกปลาที่ออกไปตกปลาในทะเลสาบแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ จู่ ๆ ก็มี “ปลาดุกสีทอง” กระโดดขึ้นมาบนเรือ ซึ่งปลาดุกสีพิเศษนี้ไม่ใช่ปลาเทพ แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ! โดยปลาดุกที่ทั้งคู่พบคือ “ปลาดุกเวลส์” (Wels Catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis เป็นสายพันธุ์ปลาดุกขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบและแม่น้ำทั่วยุโรป ปลาดุกชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องขนาดมหึมา พวกมันสามารถโตได้อย่างต่ำ 2.7 เมตร หนักเกือบ 130 กิโลกรัม อ้างอิงข้อมูลจาก NOAA โดย มาร์ติน กลาทซ์ กล่าวว่า “ตลอดชีวิตการตกปลาผมเพิ่งเคยเห็นปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เป็นครั้งแรก” ปกติแล้วปลาดุกเวลส์จะมีลำตัวสีเขียวแกมดำ มีลายจุดสีเหลืองเล็กน้อย แต่ปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” (ภาวะด่าง) เป็นโรคทางพันธุกรรมหายากที่เมลานินไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้  โรคนี้จะต่างจาก “โรคผิวเผือก” (Albinism) ที่ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) ในมุมมองของมนุษย์สีทองแบบนี้ดูแปลกและสวยงาม แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมันค่อนข้างใช้ชีวิตลำบากมากและเสี่ยงอันตรายมาก

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น Read More »

รู้จัก “แอรี-ซีโร” (Airy-0) หลุมยักษ์ลวดลายแปลกตาบนดาวอังคาร (ภาพพึ่งปล่อยมาเมื่อ 1 เดือนก่อน)

เมื่อเดือนเมษายน 2022 นาซาเผยแพร่ภาพถ่ายดาวอังคารที่ถ่ายได้จากบนยานอวกาศ Mars Reconnaissance Orbiter เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2021 เป็นหลุมขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลุมอุกกาบาตยักษ์อีกที ถูกเรียกว่า “Airy-0” หลุม Airy-0 มีความกว้าง 500 เมตร เกิดขึ้นภายในหลุมอุกกาบาต Airy ที่กว้างถึง 43.5 กิโลเมตร ตั้งอยู่บน Sinus Meridiani หรือที่แปลว่า Middle Bay จุดที่อยู่กลางดาวอังคาร ได้รับการตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ Sir George Biddell Airy ผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์ที่ Greenwich Royal Observatory (หอดูดาวแห่งกรีนิช) ซึ่งพบหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่นี้เป็นครั้งแรก เดิมทีนักวิทยาศาสตร์พบหลุมยักษ์นี้ตั้งแต่เมื่อ 200 ปีก่อนแล้ว แต่ว่าเทคโนโลยีในสมัยนั้นไม่สามารถถ่ายภาพออกมาได้ จนกระทั่งเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากพอและสามารถถ่ายภาพนี้ออกมาเผยให้เห็นหลุม Airy-0 นั่นเอง โดยนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1884 พวกเขาได้กำหนดให้หลุมอุกกาบาต Airy เป็นจุดกำหนดเส้นเมริเดียนของดาวอังคาร เป็นเส้นลองจิจูดศูนย์องศาที่ตะวันออกและตะวันตกมาบรรจบกัน แต่ทว่า เมื่อกล้องโทรทรรศน์สามารถถ่ายภาพความละเอียดสูงจนเห็น

รู้จัก “แอรี-ซีโร” (Airy-0) หลุมยักษ์ลวดลายแปลกตาบนดาวอังคาร (ภาพพึ่งปล่อยมาเมื่อ 1 เดือนก่อน) Read More »

คู่รักนักธุรกิจเอาจริง “ทุ่ม 15 ล้าน” ซื้อบ้านต้นตอ The Conjuring หวังเผชิญประสบการณ์ต่าง ๆ

เมื่อปี 2019 คู่สามีภรรยา “เจนน์และคอรี ไฮน์เซน” ตัดสินใจซื้อบ้านที่เป็นต้นแบบจากภาพยนตร์และนวนิยายสยองขวัญเรื่อง “The Conjuring” ในราคาเกือบ 15 ล้านบาท ซึ่งอะไรดลใจให้ทั้งคู่ซื้อบ้านไม้เก่าผุพังในราคาสูงขนาดนี้ ? บ้านหลังนี้มีอาถรรพณ์และวิญญาณร้ายอยู่จริงเหรอ ? ประวัติศาสตร์ความจริงต่างจากในนิยายขนาดไหน ? มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลยครับ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 8.5 เอเคอร์ (21 ไร่) ในรัฐโลดไอแลนด์ ประเทศอเมริกา ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณช่วงปี ค.ศ.1736 กลายเป็นที่รู้จักจากภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี ค.ศ.1836 เนื่องจากเป็นบ้านเดี่ยวที่ตั้งอยู่ใจกลางป่ารายล้อมด้วยต้นไม้สูงอย่างน่าประหลาดใจและชวนขนลุกไปในเวลาเดียวกัน ต่อมาบ้านหลังนี้เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังหลังจากที่ครอบครัวเพอร์รอน (Perron) ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านหลังนี้เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1970 โดยแอนเดรีย ลูกสาวคนโตของบ้านเขียนบันทึกเรื่องราวและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ครอบครัวเจอกับบ้านหลังนี้ ในบันทึกมีท่อนที่เล่าว่า “น้องสาวเธอถูกตบจากสิ่งที่มองไม่เห็น มีเคียวที่ลอยออกมาจากโรงนาและเกือบตัดหัวแม่ บางครั้งเห็นคนที่ทะลุหายเข้าไปในกำแพง” โดยนวนิยายเรื่อง The Conjuring ถูกแต่งขึ้นจากบันทึกของแอนเดรีย ก่อนที่จะกลายมาเป็นภาพยนตร์ในปี 2013 ซึ่งตัวละครหลักในเรื่องคือ “บัทเชบา” (Bathsheba) ผีแม่มดที่หลอกหลอนและทำร้ายครอบครัวในเรื่อง จริงอยู่ที่บัทเชบาเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีตัวตนอยู่จริง แต่ทว่าร่างของเธอถูกฝั่งอยู่ในสุสานไกลออกไป และไม่มีประวัติเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมแต่อย่างใด

คู่รักนักธุรกิจเอาจริง “ทุ่ม 15 ล้าน” ซื้อบ้านต้นตอ The Conjuring หวังเผชิญประสบการณ์ต่าง ๆ Read More »

Scroll to Top