Author name: admin

รู้จัก “แมวน้ำช้าง” สายพันธุ์แมวน้ำ-ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “สุดยอดป๋า” (ผู้ 1 : เมีย 50 ตัว)

สำหรับ “แมวน้ำช้าง” (Elephant seal) คือสายพันธุ์แมวน้ำ-ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวผู้มีลำตัวยาวราว 5-6 เมตร หนักได้ถึง 3 ตัน (ใหญ่กว่าเจ้าวอลรัสเขี้ยวยาวเกือบ 2 เท่า) ความน่าสนใจของมันคือ ตัวผู้ 1 ตัว สามารถรวบรวมตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ต่อเนื่องภายในช่วงฤดูเดียวได้มากถึงครั้งละ 40-50 ตัว (แต่ถ้าตัวไหนต่อสู้เก่ง ก็สามารถปกครองตัวเมียได้ถึง 150 ตัวเลย) ทั้งนี้ ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ 2-3 เท่าครับ โดยชื่อ “แมวน้ำช้าง” นอกจากจะมาจากขนาดตัวที่ใหญ่เบ้อเร่อแล้ว จุดสำคัญที่ถูกตั้งชื่อก็ยังมาจาก “จมูก” สุดโดดเด่น ที่มีลักษณะเหมือนงวงช้างด้วย (แต่พบได้เฉพาะตัวผู้นะ) เพราะใช้สำหรับส่งเสียงขู่ตัวอื่น และยังใช้เป็นจุดเด่นดึงดูดตัวเมีย (ยิ่งจมูกยาวใหญ่ = ยิ่งมีเสน่ห์) แมวน้ำช้าง แบ่งย่อยได้ 2 สายพันธุ์คือ 1.แมวน้ำช้างใต้ 2.แมวน้ำช้างเหนือ ซึ่งสายพันธุ์ใหญ่ที่สุดจริงในโลกจริง ๆ คือ “แมวน้ำช้างใต้” ครับ พวกมันเป็นนักว่ายน้ำที่ชำนาญมาก ตลอดช่วงชีวิตจะอาศัยอยู่ในน้ำกว่า […]

รู้จัก “แมวน้ำช้าง” สายพันธุ์แมวน้ำ-ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “สุดยอดป๋า” (ผู้ 1 : เมีย 50 ตัว) Read More »

นักวิจัย-พยายามคืนชีพ “เสือแทสเมเนีย” เพื่อเปิดโอกาสทำเงินจากธุรกิจ (มูลค่ามหาศาล)

เชื่อมั้ยว่าในอดีต เมื่อปี ค.ศ.1888 ทางการออสเตรเลียเคยตั้งเงินรางวัลแก่สัตว์ชนิดนี้ 1 ตัวต่อ 60 บาท (เพราะไปไล่กินแกะของชาวบ้าน) จนกระทั่งปี ค.ศ.1909 จึงได้ยกเลิก โดยพวกมันถูกล่าไปทั้งหมด 2,184 ตัว และอีก 27 ปีต่อมา “เสือแทสเมเนีย” (Tasmanian tiger) ตัวสุดท้ายของโลก ที่อาศัยอยู่ ณ สวนสัตว์ Hobart Zoo ก็ได้จากโลกไป จึงทำให้คนรุ่นหลังอย่างพวกเราได้เห็นเพียงคลิปและภาพของพวกมันเท่านั้น ซึ่งก่อนจะไปถึงเนื้อหาที่อธิบายถึงขั้นตอนการคืนชีพให้กับสัตว์ชนิดนี้ เรามาดูข้อเท็จจริงและเหตุผลกันก่อนดีกว่าครับว่า เพราะเหตุใดการโคลนนิ่ง “เสือแทสเมเนีย” ถึงสามารถสร้างเม็ดเงินทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล โดยมี 2 เหตุผลหลัก ดังนี้ 1.เนื่องจากมันเป็นสัตว์ที่มักถูกยกเป็นตัวอย่างถึงการสูญพันธุ์จากน้ำมือมนุษย์ ทำให้หลังจากที่มีข่าวการพบเห็นมันอีกครั้งเมื่อปี 2005 ถึงขั้นที่ว่านิตยสารออสเตรเลีย The Bulletin ได้ตั้งเงินรางวัลไว้สูงถึง 35 ล้านบาทให้กับคนที่สามารถพิสูจน์ได้หากพวกมันยังมีชีวิตอยู่ ทำให้ผู้คนและสื่อน้อยใหญ่ได้พากันเดินทางไปยังพื้นที่ป่าและอุทยานต่าง ๆ เพื่อตามหามันกันเลยทีเดียว และทุกครั้งที่มีข่าวการพบเห็นไม่ว่ากี่ครั้ง ก็จะได้รับความสนใจอยู่เสมอ (แทบจะเป็นการโปรโมทการท่องเที่ยวไปแล้ว) ซึ่งหากการฟื้นชีพสำเร็จ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจะต้องเดินทางมาเพื่อเยี่ยมชมตัวจริงอย่างแน่นอน

นักวิจัย-พยายามคืนชีพ “เสือแทสเมเนีย” เพื่อเปิดโอกาสทำเงินจากธุรกิจ (มูลค่ามหาศาล) Read More »

พบฟอสซิล “จระเข้โบราณ” (ชนิดใหม่) ที่กินไดโนเสาร์เป็นอาหาร อายุเก่าแก่กว่า 95 ล้านปี

(ประกาศล่าสุดปี 2022) นอกจากจะพบว่ามันเป็นจระเข้น้ำจืดสปีชีส์ใหม่แล้ว หลังจากวิจัยอย่างละเอียดโดยใช้เวลากว่า 12 ปี (ซึ่งใช้เวลาส่วนมากไปกับการตรวจสอบอย่างปราณีต-เพราะฟอสซิลเปราะบางมาก) จนทำให้พบว่า ฟอสซิลนี้มีอายุเก่าแก่กว่า 95 ล้านปี แถมภายในท้องของมัน ยังมีเศษซากของเหยื่อ ซึ่งเป็นโคนขาทั้ง 2 ข้างของไดโนเสาร์กินพืชออร์นิโธพอดเด็กหนัก 1.7 กิโลกรัมอีกด้วย ซึ่งสถานที่-ที่พบคือ ศูนย์วิจัยแกะ ตั้งอยู่ ณ รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) ประเทศออสเตรเลีย โดยสปีชีส์นี้ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Confractosuchus sauroktonos พร้อมฉายา “The Broken Dinosaur Killer” (นักฆ่าไดโนเสาร์ที่แตกสลาย) โดยขณะที่มันมีชีวิตอยู่ น่าจะมีขนาดลำตัวยาวถึง 2.5 เมตรเลยทีเดียว ซึ่งการขุดค้นนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2010 เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็เคยพบฟอสซิลของจระเข้ ณ สถานที่แห่งนี้แล้วเช่นกัน ซึ่งในตอนที่ขุดพบเจ้าจระเข้ตัวนี้นั้น แม้ว่ากระดูกหางและขาหลังจะสูญหาย แต่โครงกระดูกของส่วนอื่น ๆ ยังอยู่ครบชวนน่าทึ่ง ทั้งกระโหลกศรีษะ พร้อมฟัน รวมถึงโครงกระดูกหลังของมันด้วย (สมบูรณ์ 35% เมื่อเทียบกับทั้งร่างครับ) และหากถามว่า

พบฟอสซิล “จระเข้โบราณ” (ชนิดใหม่) ที่กินไดโนเสาร์เป็นอาหาร อายุเก่าแก่กว่า 95 ล้านปี Read More »

ปริศนาที่นักวิทย์งง ทำไมบางครั้ง-ห่านต้อง “บินแบบกลับตัว” (ขู่นักล่าหรือแค่อยากโชว์ออฟ ?)

เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยเห็นภาพห่านบินกลับหัวนี้ผ่านตากันมาบ้างแล้ว มันถูกถ่ายโดยช่างภาพชื่อ “วินเซนต์ คอร์เนลิสเซน” (Vincent Cornelissen) ซึ่งดูแว๊บแรกเหมือนเป็นภาพลวงตา ไม่แน่ใจว่าสรุปห่านตัวนี้มันบินกลับหัวจริง ๆ หรือเราตาฟาด เพราะหัวมันตั้งตรง แต่ปีกและตัวกลับหงายท้อง วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมาไขคำตอบเรื่องนี้ไปด้วยกันครับ แน่นอนว่า มันไม่ใช่ภาพตัดต่อ และมันก็ไม่ใช่จังหวะการถ่ายภาพที่บังเอิญที่ห่านจะทำท่าแบบนี้ เพราะว่ามันเป็นเรื่องปกติของสัตว์จำพวกห่าน เป็ด และหงส์ ซึ่งการทำแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Whiffle” เป็นการเบรคความเร็วขณะบินบนอากาศเพื่อจะเทคตัวลงสู่พื้น โดยปกติแล้ว เมื่อห่านกระพือปีก – จะทำให้เกิดแรงดันอากาศใต้ปีกทำหน้าที่ยกตัวห่านให้ลอยขึ้น – แต่เมื่อห่านพลิกตัว 180 องศา – ทำให้จากเดิมอากาศที่ยกตัวห่านขึ้น – ถูกกลับด้านกลายเป็นกดตัวห่านลงสู่พื้นนั่นเอง แต่ทั้งนี้ ถึงจะสามารถไขคำตอบเรื่องของอากาศพลศาสตร์ได้แล้ว แต่สิ่งที่ยังคาใจนักวิทยาศาสตร์อยู่ก็คือ ห่านสามารถรักษาหัวของมันให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องได้เสมอ โดยไม่บิดไปพร้อมตัวได้อย่างไร ? และทำไมมันถึงต้องทำแบบนั้นด้วย ? เรื่องนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ศึกษาอย่างจริงจัง จนได้คำตอบว่าความลับอยู่ที่ “คอห่าน” ที่ทำหน้าที่คล้ายกับระบบกันสะเทือนของรถยนต์ โดยงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์งานวิจัยนี้ลงในวารสาร Journal of the Royal Society Interface ที่นำโดย “เดวิด

ปริศนาที่นักวิทย์งง ทำไมบางครั้ง-ห่านต้อง “บินแบบกลับตัว” (ขู่นักล่าหรือแค่อยากโชว์ออฟ ?) Read More »

พบหลักฐาน มนุษย์สามารถสร้าง “คุงกา” (สัตว์ลูกผสม-ข้ามสปีชีส์) ได้ตั้งแต่ 4,500 ปีก่อนแล้ว

ความรู้ด้านวิศวกรรมชีวภาพ (bioengineering) ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหม่ที่มีแต่นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เท่านั้นที่รู้จัก แต่ล่าสุดนักวิจัยจากฝรั่งเศสพบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถผสมสัตว์ข้ามสายพันธุ์ได้ตั้งแต่ 4,500 ปีก่อนแล้ว จากการผสม “ลาบ้าน-กับลาป่า” ได้ออกมาเป็นสัตว์สปีชีส์ใหม่ชื่อว่า “คุงกา” (Kunga) ซากกระดูกของคุงกาจำนวน 25 ตัว ถูกพบครั้งแรกในปี 2006 ณ สุสานของชนชั้นสูงของชาวเมโสโปเตเมีย “เทล อุมม์ เอล-มาร์รา” (Tell Umm el-Marra) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศซีเรีย ซึ่งในตอนแรกถูกเข้าใจว่าเป็นกระดูกของม้า แต่ทว่าในประวัติศาสตร์ชาวเมโสโปเตเมียเพิ่งรู้จักม้าในอีก 500 ปีถัดมา ปริศนานี้เป็นที่ถกเถียงกันมานานกว่า 10 ปี จนกระทั่งในปี 2022 นักวิจัยจาก Institut Jacques Monod ประเทศฝรั่งเศส ได้ศึกษาเปรียบเทียบจีโนมของซากสัตว์ชนิดนี้ กับพันธุกรรมจากซากลาป่าซีเรียอายุ 11,000 ปี และลาบ้าน ปรากฏว่ามันมี DNA ของลาทั้ง 2 ชนิดอยู่ในตัวเดียวกัน นั่นหมายความว่าซากสัตว์ที่เถียงกันมานานนั้น แท้จริงเป็นสัตว์ลูกผสม (คุงกา) นั่นเอง แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะมันไม่ได้มีตัวเดียวและจากซากโครงกระดูกที่พบ

พบหลักฐาน มนุษย์สามารถสร้าง “คุงกา” (สัตว์ลูกผสม-ข้ามสปีชีส์) ได้ตั้งแต่ 4,500 ปีก่อนแล้ว Read More »

นักบินใช้ถุงชา 30 บาท ซ่อมสถานีอวกาศนอกโลก-ที่ปกติต้องใช้เงินถึง 4,500 ล้านบาท

ในปี 2020 นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ตรวจพบว่ามีอากาศรั่วไหลมากผิดปกติ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดรูรั่วบนยาน ซึ่งหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ร้ายแรงได้ แต่ถ้าจะซ่อมก็มีค่าใช้จ่ายสูงมหาศาลถึง 4 พันล้านบาท ทว่าปัญหานี้กลับถูกแก้ง่าย ๆ ด้วย “ใบชา” จากถุงชาร้อนที่มีมูลค่าแค่ 30 บาท ทั้งนี้ สาเหตุที่นักบินอวกาศทราบว่าเกิดรอยรั่ว เพราะโดยปกติแล้วสถานีอวกาศนานาชาติจะสูญเสียอากาศบนยานออกไปเล็กน้อยตลอดเวลา เฉลี่ยแล้วใน 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง สถานีอวกาศจะสูญเสียอากาศออกไปประมาณ 250 กรัม (โคจรรอบโลก 15 รอบครึ่ง) โดยอากาศที่สูญเสียไปจะถูกเติมทุก ๆ 3 เดือน แต่หลังจากพบปัญหา ปรากฏว่าใน 1 วัน สถานีอวกาศเสียอากาศบนยานไปมากกว่า 1 กิโลกรัม จริง ๆ ปัญหาดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2019 แล้ว แต่ปริมาณอากาศที่รั่วไหลออกไปมันมากกว่าเดิมเพียงน้อยซะจนไม่ส่งผลกระทบอะไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปอากาศเริ่มรั่วไหลออกมากผิดปกติจนน่ากังวล เพราะมันบ่งบอกว่ารูรั่วนั้นเริ่มขยายใหญ่ขึ้น ศูนย์บังคับการ NASA จึงสั่งให้นักบินอวกาศบนยานเร่งหารูรั่วโดยด่วน ซึ่งใช้เวลาหาอยู่ 4

นักบินใช้ถุงชา 30 บาท ซ่อมสถานีอวกาศนอกโลก-ที่ปกติต้องใช้เงินถึง 4,500 ล้านบาท Read More »

นี่คือ “กล้องจิ๋ว” ขนาดเล็กที่สุดในโลก (เท่าเม็ดเกลือ) แต่คุณภาพดีไม่แพ้กล้องทั่วไปเลย

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักพัฒนาพยายามทำให้ “กล้อง” มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เพื่อง่ายต่อการพกพา แต่ใครจะไปคิดว่าพวกเขาจะสามารถทำให้มันมีขนาดเล็กจนเหลือขนาดเท่า “เม็ดเกลือ” (Salt Gain Camera) แถมยังสามารถถ่ายภาพออกมาได้มีคุณภาพดีไม่แพ้กล้องคอมแพคทั่วไปเลยด้วย โดยกล้องจิ๋วที่ว่านี้ เป็นผลงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน มีขนาดเพียง 0.5 มิลลิเมตรเท่านั้น ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “Metasurface” มีเสาทรงกระบอก 1.6 ล้านแท่ง (เสาแต่ละแท่งมีขนาดเท่าไวรัส HIV 1 ตัว) เปรียบเสมือนเสาสัญญาณในการรับภาพ ซึ่งมันจะถ่ายภาพนาโนนับล้าน – ส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลด้วย neural nano-optics – และปรับให้ภาพออกมาคมชัด ซึ่งเทคโนโลยี Metasurface นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเทคโนโลยีแบบเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างชิพคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก โดยกล้องนี้ทำจากวัสดุซิลิคอนไนไตรด์คล้ายแก้ว มีความแข็งแรงทนทาน แต่นี่ก็เป็นเพียงตัวต้นแบบเท่านั้น ยังมีงานอีกมากที่นักวิจัยต้องพัฒนาต่อไปให้สามารถใช้งานได้จริง คำถาม : แล้วเราจะทำกล้องให้มันมีเล็กขนาดนี้เพื่ออะไร ? ตอบ : มันสามารถใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่ทำหน้าที่เป็นกล้องให้หุ่นยนต์จิ๋วในการสำรวจจุดที่ยากจะเข้าถึงมาก ๆ เช่น ใช้ในทางการแพทย์สำหรับสำรวจอวัยวะภายในมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นมันยังสามารถทำได้มากกว่าการถ่ายภาพคือสามารถตรวจจับสัญญาณของโรคร้ายในร่างกายได้ด้วย จริง ๆ การสร้างกล้องนาโนแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่

นี่คือ “กล้องจิ๋ว” ขนาดเล็กที่สุดในโลก (เท่าเม็ดเกลือ) แต่คุณภาพดีไม่แพ้กล้องทั่วไปเลย Read More »

ค้นพบฟอสซิล “สัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล” (ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ – อยู่บนโลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน)

ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์จากยุค Triassic กลาง ที่เคยอยู่บนโลกเมื่อ 247-237 ล้านปีก่อน ณ หุบเขา Augusta Mountains ในเนวาดา สหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่แค่เฉพาะกะโหลกอย่างเดียวก็ยาวกว่า 2 เมตรแล้ว โดยฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ตัวดังกล่าวเป็น “อิกไทโอซอร์” (Ichthyosaur) สายพันธุ์ใหม่ถูกตั้งชื่อว่า “Cymbospondylus Youngorum” (อ่านว่า ซิม–โบ–สะ–ปอน–ได–รัส/โย–อัน–โก–รัม) เป็นสัตว์ขนาดยักษ์ที่มีความยาวถึง 18 เมตร (ใหญ่พอ ๆ กับวาฬสเปิร์ม) ซึ่งการค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันช่วยให้เราเข้าใจถึงการวิวัฒนาการของอิกไทโอซอร์มากขึ้น  ดร.มาร์ติน แซนเดอร์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยบอนน์ กล่าวว่า “ในตอนแรกการค้นพบนี้นักวิจัยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก เนื่องจากพบเพียงแค่ชิ้นส่วนกระดูกสันหลังเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น แต่การค้นพบกระดูกสันหลังในทางกายวิภาคนั้น เป็นไปได้ว่าส่วนหัวสัตว์ตัวดังกล่าวต้องอยู่ใกล้ ๆ กันแน่นอน ทีมนักบรรพชีวินจึงพยายามขุดต่อไปจนพบกับกะโหลกศรีษะ ขาหน้าและหน้าอก จนได้ทราบว่ามันเป็นอิกไทโอซอร์สายพันธุ์ใหม่นั่นเอง” จากโครงสร้างฟอสซิลบริเวณกะโลหกเผยให้เห็นว่ามันมีปากยื่นยาวและฟันแหลมคม บ่งบอกว่า C. Youngorum เป็นสัตว์นักล่าที่กินเนื้อเป็นอาหารและมันอาจมีนิสัยดุร้ายด้วย ดร.เอวา มาเรีย กรีเบลา จากมหาวิทยาลัยไมนซ์ในเยอรมนี ได้สร้างแบบจำลองสภาพแวดล้อมในสมัยโบราณขึ้นมา เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการกิน

ค้นพบฟอสซิล “สัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล” (ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ – อยู่บนโลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน) Read More »

(รอดมาได้เพราะเลียนแบบลิง) เรื่องจริงของ “นักบิน” ที่เครื่องตกกลางป่า “แอมะซอน” กว่า 35 วัน

“อันโตนิโอ เซน่า” ได้รับการว่าจ้างให้ขับเครื่องบินขนส่งน้ำมันดีเซลจากเมือง Alenquer ทางตอนเหนือประเทศบราซิล ไปยังเหมืองทองคำผิดกฎหมายในป่าแอมะซอน รัฐปารา ด้วยเครื่องบิน Cessna 210 ทว่าจู่ ๆ เครื่องยนต์ก็ดับกระทันหัน ทำให้เขามีเวลาเพียง 5 นาทีในการตัดสินใจและต้องหาที่ลงจอดฉุกเฉินทันที เขาตกลงมาด้วยความเร็วสูงจากระดับความสูง 1,000 เมตร ซึ่งโชคดีที่เขาไม่ได้รับบาดเจ็บและรอดชีวิตจากเครื่องบินตกมาได้ แต่โชคร้ายที่เขาดันตกลงมากลางป่าแอมะซอนห่างไกลผู้คน และด้วยสินค้าที่ขนมากับเครื่องบินเป็นน้ำมัน ทำให้ทุกอย่างถูกไฟลุกท่วมในเวลาอันรวดเร็ว เซน่าคว้าทุกอย่างที่ดูเหมือนมีประโยชน์ เช่น กระเป๋าเป้ โทรศัพท์(ไม่มีสัญญาณ) น้ำ 3 ขวด น้ำอัดลม 4 ขวด ขนมปัง 1 ถุง เชือก ชุดฉุกเฉิน ตะเกียง และไฟแช็ค 2 อัน เขาใช้เวลา 5 วันแรก อยู่ใกล้ซากเครื่องบิน เพื่อหวังว่าควันไฟจะช่วยเรียกความช่วยเหลือได้ และตลอดเวลานั้นเขาได้ยินเสียงเครื่องบินกู้ภัยอยู่ใกล้ ๆ แต่ว่าก็ไม่มีเครื่องบินลำไหนลงมาช่วยเหลือเขาเลยสักลำ แม้จะโบกมือและตะโกนสุดเสียงก็ตาม เพราะป่าไม้ที่แน่นทึบทำให้ยากที่จะมองลงมาจากด้านบนได้ และหลังจากนั้น เซน่าก็ไม่ได้ยินเสียงเครื่องบินกู้ภัยอีกเลย “ผมคิดว่าพวกอาจจะเลิกตามหาผม

(รอดมาได้เพราะเลียนแบบลิง) เรื่องจริงของ “นักบิน” ที่เครื่องตกกลางป่า “แอมะซอน” กว่า 35 วัน Read More »

ในที่สุดก็พบ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” สัตว์หายากระดับ Ultra Rare ณ เขต Midnight Zone

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (2021) นักวิจัยจากศูนย์วิจัย MBARI ออกสำรวจนอกชายฝั่งอ่าวมอนเทอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และพบกับสิ่งมีชีวิตหายากระดับ Ultra Rare คือ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” (Giant Phantom Jellyfish) หรือฉายา “ผียักษ์ใต้ทะเล” ทีมวิจัยพบ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” ที่ใต้ทะเลลึก 1,000 เมตร ณ จุดที่เรียกว่า Midnight Zone โดยใช้ Doc Ricketts หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำ (ROV) ซึ่งตัวที่พบมีขนาดใหญ่มาก ความยาวถึง 10 เมตร ! (ถ้านึกไม่ออกว่ามันใหญ่แค่ไหน ให้ลองนึกภาพแมงกะพรุนยาวเท่ารถเมย์) และสาเหตุที่เราเรียกมันว่าผียักษ์ใต้ทะเล คือนอกจากขนาดตัวมหึมาแล้ว มันยังมีสีดำและหนวดที่ราวกับสวมผ้าพันคอพริวไหว ดูน่าขนลุกและสวยงามในเวลาเดียวกัน โดย “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1899 และจากการสำรวจนับพันครั้งของ MBARI เผยว่าพบแมงกะพรุนแพนธอมยักษ์ เพียง 9 ครั้งเท่านั้น และตลอดระยะเวลากว่า 122 ปี นับตั้งแต่การค้นพบครั้งแรก

ในที่สุดก็พบ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” สัตว์หายากระดับ Ultra Rare ณ เขต Midnight Zone Read More »

Scroll to Top