(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น

เมื่อปี 2021 ระหว่างที่ “มาร์ติน กลาทซ์ และโอลิเวอร์ กลาทซ์” พี่น้องฝาแฝดนักตกปลาที่ออกไปตกปลาในทะเลสาบแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ จู่ ๆ ก็มี “ปลาดุกสีทอง” กระโดดขึ้นมาบนเรือ ซึ่งปลาดุกสีพิเศษนี้ไม่ใช่ปลาเทพ แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ! โดยปลาดุกที่ทั้งคู่พบคือ “ปลาดุกเวลส์” (Wels Catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis เป็นสายพันธุ์ปลาดุกขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบและแม่น้ำทั่วยุโรป ปลาดุกชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องขนาดมหึมา พวกมันสามารถโตได้อย่างต่ำ 2.7 เมตร หนักเกือบ 130 กิโลกรัม อ้างอิงข้อมูลจาก NOAA โดย มาร์ติน กลาทซ์ กล่าวว่า “ตลอดชีวิตการตกปลาผมเพิ่งเคยเห็นปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เป็นครั้งแรก” ปกติแล้วปลาดุกเวลส์จะมีลำตัวสีเขียวแกมดำ มีลายจุดสีเหลืองเล็กน้อย แต่ปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” (ภาวะด่าง) เป็นโรคทางพันธุกรรมหายากที่เมลานินไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้  โรคนี้จะต่างจาก “โรคผิวเผือก” (Albinism) ที่ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) ในมุมมองของมนุษย์สีทองแบบนี้ดูแปลกและสวยงาม แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมันค่อนข้างใช้ชีวิตลำบากมากและเสี่ยงอันตรายมาก […]

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น Read More »

นักวิจัยสแกนกระโหลกศีรษะมนุษย์ยุคหิน-เพื่อดูว่าเมื่อ 8,000 ปีก่อน พวกเขามีหน้าตาอย่างไร

เมื่อปี 2012 นักโบราณคดีค้นพบกะโหลกศีรษะของมนุษย์ชาวสแกนดิเนเวียในแหล่งขุดค้น Kanaljorden ในเมือง Motala ประเทศสวีเดน มีอายุเก่าแก่ราว 8,000 ปี ภายในกระโหลกมี DNA ถูกเก็บรักษาไว้ ซึ่งข้อมูล DNA สามารถเปิดเผยใบหน้าที่แท้จริงของมนุษย์ยุคน้ำแข็งคนนี้ได้ !   นักนิติวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน “ออสการ์ นิลส์สัน” ใช้ข้อมูลพันธุกรรมจากกระโหลกศีรษะที่บ่งบอกถึง สีผิว สีผม สีนัยน์ตา อายุ และสแกนด้วยเครื่อง 3D จนเผยให้เห็นใบหน้าที่แท้จริงของชายวัย 50 ปี ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 8,000 ปีก่อน ในยุค Scandinavian Mesolithic เป็นช่วงเวลาของธารน้ำแข็งยุคสุดท้าย โดยตั้งชื่อให้เขาว่า “ลุดวิก” (Ludvig) “คริสตีน โรมีย์” จาก National Geographic รายงานว่า “ลุดวิกมีผมสีน้ำตาล โหนกแก้มนูนชัด นัยน์ตาสีฟ้าอ่อน เป็นชายร่างกำยำ ตกแต่งด้วยเสื้อคลุมที่ทำจากหนังหมูป่า” โดยส่วนที่ยากที่สุดของเรื่องนี้คือส่วนของกรามที่หายไป นักวิจัยจึงต้องวิเคราะห์คำนวณจากขนาดของกระโหลกศีรษะส่วนบน  

นักวิจัยสแกนกระโหลกศีรษะมนุษย์ยุคหิน-เพื่อดูว่าเมื่อ 8,000 ปีก่อน พวกเขามีหน้าตาอย่างไร Read More »

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว

พื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศเยเมนและโอมาน มีหลุมประหลาดขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นโดยไม่มีใครทราบที่มาที่ไป ด้วยความลึกลับของหลุมนี้ คนในพื้นที่จึงเรียกมันว่า “หลุมสู่นรก” (Well of Hell) เพราะเชื่อว่าหลุมแห่งนี้คือสถานที่แห่งความชั่วร้าย โดย “หลุมสู่นรก” ตั้งอยู่ที่ทะเลทรายแห่งเมืองอัล มาฮ์รา เป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 30 เมตร ลึกประมาณ 100-250 เมตร นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหลุมนี้น่าจะมีอายุหลายล้านปีมาแล้ว แม้มันจะดูน่าค้นหาในสายตาของนักสำรวจ แต่คนในพื้นที่ต่างหวาดกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้ สำหรับที่มาของของชื่อหลุมสู่นรก มาจากตำนานที่เล่าขานกันว่ามันเป็นคุกที่สร้างขี้นเพื่อจองจำปิศาจ ซึ่งมันก็ไม่ได้มีหลักฐานประจักษ์แน่ชัดนักว่าในนั้นมีปิศาจจริงหรือไม่ แต่เพราะ “กลิ่นเหม็นเขียว” ที่ลอยขึ้นมา คนในพื้นที่จึงเชื่อว่ามีสิ่งชั่วร้ายอยู่ภายในนั้น ทั้งนี้ การสำรวจจากปากหลุมทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากหลุมมีลักษณะดิ่งลงไปเป็นแนวตรง จึงเกิดเงาจากปากหลุมบดบังแสงอาทิตย์ ทางเดียวที่จะพิสูจน์ภายในหลุมได้คือการส่งคนลงไปสำรวจ ซึ่งทีมนักสำรวจนำโดย “โมฮัมมัด อัล คินดี” ตัดสินใจที่จะลงไปพิสูจน์ แม้คนในพื้นที่จะเตือนพวกเขาเกี่ยวกับคำสาปร้ายแรงที่อยู่ในหลุมสู่นรกนี้ก็ตาม คินดีและทีมของเขาได้ลงไปสำรวจถึงก้นหลุมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2021 ปรากฏว่าภูมิทัศน์ของมันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร ระดับออกซิเจนก็อยู่ในระดับที่ปกติไม่ต่างจากข้างบนพื้นผิว ไม่มีแก๊สพิษ แถมยังมีหินไข่มุกสีเขียวที่เกิดจากการสะสมของแคลเซียมคาบอร์เนต (เรียกว่า Cave pearl เพราะมันพบได้บ่อยในถ้ำ) ทำให้พื้นที่นี้ดูน่าสนใจสำหรับนักสำรวจอย่างพวกเขาด้วย แต่หากจะบอกว่าอะไรที่น่ากลัวในหลุมนี้ ก็คงเป็นงูพิษจำนวนมาก

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว Read More »

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก

โพลีสไตรีน (Polystyrene) คือพลาสติกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด เช่นกล่องพลาสติก กล่องโฟม เป็นวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลและย่อยสลาย ส่วนใหญ่แล้วจะจบลงด้วยการฝังดินหรือไม่ก็ถูกทิ้งลงมหาสมุทร แต่ทว่าล่าสุดนักวิจัยพบ “หนอน” ที่สามารถกินและย่อยพลาสติกพวกนี้ได้แล้ว งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Microbial Genomics โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ค้นพบตัวอ่อนของด้วงดำ (Zophobas Morio) หรือที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์เวิร์ม” หรือ “หนอนยักษ์” (Superworm) สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ด้วยการกินพลาสติกโฟม “คริสเตียน รินกี้” ผู้นำการวิจัยทดลองแบ่งซูเปอร์เวิร์มออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว กลุ่มที่เลี้ยงด้วยพลาสติกโฟม และกลุ่มที่อดอาหารไปเลย ผลปรากฏว่า กลุ่มที่เลี้ยงด้วยโฟมสามารถเติบโตได้ดีกว่ากลุ่มที่อดอาหาร และมีโอกาสกลายเป็นดักแด้มากกว่าถึง 60% (แต่เป็นรองกลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว) นั่นหมายความว่า ซูเปอร์เวิร์มสามารถกินพลาสติกโฟมและเปลี่ยนมันเป็นพลังงานได้จริง ๆ ซึ่งแม้อาหารพลาสติกจะไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้กินอะไรเลย แต่สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้จริง ๆ คือ “เอนไซม์ในลำไส้” ของซูเปอร์เวิร์มว่าพวกมันสามารถย่อยสลายสารพลาสติกที่อึด-ถึก-ทนและย่อยยากนี้ได้อย่างไร ? แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะทำโรงงานหนอนย่อยพลาสติก แต่ต้องการศึกษาเพื่อหาทางรีไซเคิลพลาสติกต่างหาก โดยทีมวิจัยได้ใช้เทคนิดที่เรียกว่า Metagenomics ในการวิเคราะห์จุลินทรีย์ในลำไส้ และค้นหาว่าเอนไซม์ตัวไหนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก Read More »

ขณะนี้หมียักษ์ “เจ้าแฮงค์รถถัง” (Hank The Tank) ยังบุกบ้านคนต่อเนื่อง หาอาหารแล้วกว่า 30 หลัง

เป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่หัวขโมย “Hank the Tank” (เจ้าแฮงค์รถถัง) หมีดำไซส์บิ๊กหนัก 226 กิโลกรัม ได้บุกทลายบ้านเรือนมาแล้วกว่า 30 หลังในย่าน Lake Tahoe รัฐแคลิฟอร์เนีย และดูเหมือนว่ามันจะไม่ต้องจำศีลในฤดูหนาวด้วยซ้ำเพราะมีอาหารให้กินเหลือเฟือ เจ้าแฮงค์รถถังมีขนาดใหญ่กว่าหมีดำทั่วไปที่หนักประมาณ 130 กิโลกรัมเท่านั้น โดยส่วนหนึ่งที่ทำให้มันมีขนาดใหญ่แบบนี้เป็นเพราะอาหารของมนุษย์มีแคลอรี่สูง เช่น พิซซ่า เบอเกอร์ ไอศกรีม น้ำอัดลม น้ำหวาน ซึ่งเมื่อเทียบกับอาหารตามธรรมชาติที่หมีทั่วไปกินจำพวกแมลง ผลไม้ น้ำผึ้ง หรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ “ปีเตอร์ ทีรา” โฆษกกรมประมงและสัตว์ป่าแห่งแคลิฟอร์เนีย กล่าวกับ BBC ว่า “แฮงค์เรียนรู้ที่จะใช้ขนาดและพลกำลังของตัวเองในการบุกทลายโรงจอดรถ ประตูบ้าน หน้าต่าง เพื่อบุกเข้าไปหาอาหารในห้องครัว ในยามที่ไม่มีคนอยู่บ้าน” ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องร้องเรียนกว่า 150 ครั้งว่า มีโจรบุกรุกแต่เมื่อตรวจจากกล้องวงจรปิด ร้อยทั้งร้อยจะพบว่าเป็นฝีมือของหมีดำทั้งสิ้น แต่ทว่าเมื่อตรวจดีเอ็นเอจากร่องรอยและขนหมีแล้ว ปรากฏว่ามีหมีดำอย่างน้อย 3 ตัว เชื่อว่ามีเจ้าแฮงค์เป็นหัวโจก เป็นไปได้ว่าพวกมันเริ่มเข้ามาในเมืองเมื่อช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงเมื่อปี 2021 เป็นช่วงเวลาที่ต้องสะสมอาหารเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาวที่จะมาถึง แต่ดูเหมือนพวกมันจะค้นพบว่าที่นี่ (เมือง) มีอาหารเหลือเฟือแบบไม่ต้องจำศีล

ขณะนี้หมียักษ์ “เจ้าแฮงค์รถถัง” (Hank The Tank) ยังบุกบ้านคนต่อเนื่อง หาอาหารแล้วกว่า 30 หลัง Read More »

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง”

ระหว่างการสำรวจธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของปาทาโกเนีย นักบรรพชีวินค้นพบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์หายากคือ “อิคธิโอซอร์” (Ichthyosaur) สัตว์เลื้อยคลานในทะเลคล้ายโลมาที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 251-95 ล้านปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ทำให้ฟอสซิลนี้น่าสนใจและหายากกว่าปกติคือ “มันกำลังตั้งท้อง” ฟอสซิลอิคธิโอซอร์นี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2009 โดยนักบรรพชีวินวิทยา “Judith Pardo-Pérez” เขาตั้งชื่อให้มันว่า “ฟิโอน่า” (Fiona) มาจากตัวละครยักษ์ในเภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง “Shrek” (2001) เพราะฟอสซิลมีสีเขียวจากการถูกเคลือบด้วยสารออกไซด์ มีขนาดยาว 4 เมตร มีอายุประมาณ 139-129 ล้านปีก่อน (ช่วงต้นยุคครีเทเชียส) ต่อมาเข้าร่วมงานวิจัยกับ “แอริน แมกซ์เวล” ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งรัฐในเมืองสตุตการ์ท ประเทศเยอรมนี ในการขุดมันขึ้นมา โดยต้องใช้เวลากว่า 13 ปี ในการขุดเนื่องจากที่ตั้งของฟอสซิลฟิโอน่าตั้งอยู่บนธารน้ำแข็ง Tyndall ซึ่งห่างไกลมาก ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในการขนย้ายเท่านั้น Pardo-Pérez กล่าวว่า “ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้อง สิ่งนี้ช่วยในการศึกษาอย่างมาก เพราะมันแสดงให้เห็นวงจรชีวิต สามารถบอกได้ว่าอิคธิโอซอร์ตั้งท้องครั้งละกี่ตัว ลูกที่กำลังจะคลอดออกมามีขนาดเท่าใด” อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้องตัวแรก เพราะก่อนหน้านี้เคยพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1749 แต่ถึงอย่างนั้นการค้นพบนี้ก็ช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้มากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากฟอสซิลฟิโอน่า ยังมีฟอสซิลของอิคธิโอซอร์อีกนับร้อยตัวในแหล่งสะสมฟอสซิล ณ

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง” Read More »

“The Lost Tape” (เทปวิดีโอ) ที่เผยเรื่องโคตรพีคของ “เชอร์โนบิล” จนถูกซ่อนไว้นานกว่า 36 ปี

สารคดีชุดใหม่ของ HBO เรื่อง “Chernobyl : The Lost Tapes” ได้รวบรวมเทปบันทึกภาพและวิดีโอ รวมถึงบทสัมภาษณ์ของผู้คนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในเชอร์โนบิล ซึ่งไม่เคยเปิดเผยมาก่อน มันถูกเก็บซ่อนมันไว้นานหลายทศวรรษนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ครั้งนั้น ภัยพิบัติเชอร์โนบิลเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปีค.ศ.1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลใกล้เมือง Pripyat ในยูเครน ซึ่งเกิดขึ้นจากการความประมาทของผู้ปฏิบัติงานและข้อบกพร่องพื้นฐานของการออกแบบโรงงาน ส่งผลให้เกิดหายนะระดับโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และแม้จะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ผลกระทบของเชอร์โนบิลยังคงรุนแรงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เทปวิดีโอนี้ถูกซ่อนและเรื่องราวความจริงถูกปิดบังไว้โดยรัฐบาลโซเวียตที่ปกครองยูเคลนอยู่ ณ ตอนนั้น เพราะกลัวว่าจะสร้างความเสียหายต่อรัฐบาลเนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามเย็น ทั้ง ๆ ที่อุบัติเหตุในครั้งนั้นปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีออกมามากกว่าระเบิดฮิโรชิมาถึง 400 เท่า แต่ผู้คนโดยรอบต่างใช้ชีวิตราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่แล้วผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบเริ่มมีอาการป่วยลึกลับ และทยอยเสียชีวิตลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาการป่วยเหล่านี้ถูกปิดเงียบ และอ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับการระเบิดของเชอร์โนบิล จนในที่สุดทุกคนก็รู้ความจริงถึงอันตรายที่เกิดขึ้น ซึ่งการปิดบังข้อมูลของรัฐบาลในครั้งนั้นทำให้ผู้คนไม่ไว้วางใจ เกิดการต่อต้านและนำไปสู่การล่มสลายของโซเวียตในอีกไม่กี่ปีต่อมา เชื่อหรือไม่ครับว่า รัฐบาลโซเวียตปิดบังข้อมูลการเสียชีวิตจากเหตุการณ์เชอร์โนบิลว่ามีผู้เสียชีวิต 13 คน ทั้ง ๆ ที่ต่อมาความจริงเปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากรังสีนิวเคลียร์จริง ๆ สูงถึง 200,000 คน เป็นการบิดเบือนตัวเลขที่น่าเหลือเชื่อมากจริง ๆ ซึ่งนี่เป็นเพียงข้อมูลคร่าว

“The Lost Tape” (เทปวิดีโอ) ที่เผยเรื่องโคตรพีคของ “เชอร์โนบิล” จนถูกซ่อนไว้นานกว่า 36 ปี Read More »

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น

เมื่อปี 2021 ระหว่างที่ “มาร์ติน กลาทซ์ และโอลิเวอร์ กลาทซ์” พี่น้องฝาแฝดนักตกปลาที่ออกไปตกปลาในทะเลสาบแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ จู่ ๆ ก็มี “ปลาดุกสีทอง” กระโดดขึ้นมาบนเรือ ซึ่งปลาดุกสีพิเศษนี้ไม่ใช่ปลาเทพ แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ! โดยปลาดุกที่ทั้งคู่พบคือ “ปลาดุกเวลส์” (Wels Catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis เป็นสายพันธุ์ปลาดุกขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบและแม่น้ำทั่วยุโรป ปลาดุกชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องขนาดมหึมา พวกมันสามารถโตได้อย่างต่ำ 2.7 เมตร หนักเกือบ 130 กิโลกรัม อ้างอิงข้อมูลจาก NOAA โดย มาร์ติน กลาทซ์ กล่าวว่า “ตลอดชีวิตการตกปลาผมเพิ่งเคยเห็นปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เป็นครั้งแรก” ปกติแล้วปลาดุกเวลส์จะมีลำตัวสีเขียวแกมดำ มีลายจุดสีเหลืองเล็กน้อย แต่ปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” (ภาวะด่าง) เป็นโรคทางพันธุกรรมหายากที่เมลานินไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้  โรคนี้จะต่างจาก “โรคผิวเผือก” (Albinism) ที่ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) ในมุมมองของมนุษย์สีทองแบบนี้ดูแปลกและสวยงาม แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมันค่อนข้างใช้ชีวิตลำบากมากและเสี่ยงอันตรายมาก

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น Read More »

(ทำได้จริง) นี่คือ “สาหร่าย-ที่สร้างพลังงานไฟฟ้า” ให้คอมจิ๋ว 6 เดือน (โดยไม่เสียบปลั๊ก)

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ค้นพบแหล่งพลังงานใหม่ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วอย่าง “ไซยาโนแบคทีเรีย” (cyanobacteria) หรือที่เรียกกันว่า “สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน” ซึ่งทดลองแล้วว่ามันสามารถให้พลังงานแก่คอมพิวเตอร์จิ๋วใช้งานได้นานถึง 6 เดือน เชื่อว่านี่จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต การค้นพบนี้เกิดขึ้นระหว่างการล็อคดาวน์โควิด-19 เมื่อปี 2021 โดย “คริสโตเฟอร์ ฮาว” นักวิจัยผู้คิดค้นแหล่งพลังงานดังกล่าวได้สร้างภาชนะกล่องโปร่งแสงทำจากพลาสติกและอะลูมิเนียม ขนาดเท่าถ่านแบตเตอรี่ขนาด AA และบรรจุสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Synechocystis sp. PCC 6803 เอาไว้ภายใน และตั้งแบตเตอรี่สาหร่ายนี้ไว้ที่ขอบหน้าต่างเพื่อให้เกิดการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ว่าแต่..แค่การสังเคราะห์แสงมันให้พลังงานไฟฟ้าได้ยังไง ? ตอบ : มี 2 ทฤษฎีที่น่าจะมีความเป็นไปได้คือ 1. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินผลิตอิเล็กตรอนขึ้นมาได้เองจากการสังเคราะห์แสง หรือ 2.เป็นเพราะภาชนะอะลูกมิเนียมที่ถูกบรรจุไว้มีขั้วบวก-ลบ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีและผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมา การค้นพบนี้นับว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาสตร์ จนได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Energy & Environmental Science ซึ่งพวกเขาทดลองโดยการให้มันขับเคลื่อนโปรเซสเซอร์ Arm Cortex M0+ ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ใช้คำนวณผลรวมทางคณิตศาสตร์ โดยวนเป็นรอบละ 45 นาที สแตนด์บายรอ 15 นาที และวนมาคำนวณใหม่ ในตอนแรกพวกเขาคิดว่าพลังงานที่ได้คงหายไปใน 2-3 สัปดาห์

(ทำได้จริง) นี่คือ “สาหร่าย-ที่สร้างพลังงานไฟฟ้า” ให้คอมจิ๋ว 6 เดือน (โดยไม่เสียบปลั๊ก) Read More »

พบฟอสซิล สัตว์ดึกบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ (อายุ 86 ล้านปี) ขนานนามกันว่า “มังกรมรณะ”

นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิล อายุ 86 ล้านปี ของสัตว์เลื้อยคลานบินได้ หรือ เทอโรซอร์ (Pterosaur) สายพันธุ์ใหม่ มีขนาดใหญ่ยาว 9 เมตร ในเทือกเขาแอนดีส จังหวัดเมนโดซาทางตะวันตกของอาร์เจนตินา มันเป็นสัตว์นักล่าที่ได้รับการขนานนามว่า “มังกรมรณะ” (Dragon of Death) ย้อนกลับไปในยุคไทรแอสซิคและยุคครีเทเชียส เทอโรซอร์ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อ 215 ล้านปีก่อน เป็นสัตว์ที่ปกครองท้องฟ้าทั่วโลกมายาวนานนับร้อยล้านปี เนื่องจากพวกมันไม่มีคู่แข่งหรือศัตรูเลย จึงสามารถวิวัฒนาการแตกสายพันธุ์ออกมามากมายหลายขนาด โดยสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 12 เมตร ซึ่งเมื่อสยายปีกจะมีความกว้างกว่าเครื่องบินรบ f-16 เสียอีก นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ Cuyo ประเทศอาร์เจนติน่า พบกระดูกฟอสซิลประมาณ 40 ชิ้น เมื่อนำมาประกอบกันแล้วจึงทราบว่ามันคือฟอสซิลของเทอโรซอร์ ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดแรก ๆ บนโลกที่สามารถบินได้และล่าเหยื่อจากบนฟ้า ตามรายงานของ National Geographic (การค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Cretaceous Research) จากการวิเคราะห์เป็นไปได้ว่าพวกมันสูญพันธุ์ไปพร้อม ๆ กับไดโนเสาร์ในตอนที่เกิดเหตุดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก ณ คาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก ที่กำจัดสิ่งมีชีวิต

พบฟอสซิล สัตว์ดึกบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ (อายุ 86 ล้านปี) ขนานนามกันว่า “มังกรมรณะ” Read More »

Scroll to Top