สำรวจ

พบดินแดนใหม่ ณ ปล่องไฟใต้ทะเลลึก พร้อมสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยรู้จักอีก 6 สายพันธุ์

นักสำรวจพบดินแดนแห่งใหม่ที่อยู่ลึกลงไปในอ่าวแคลิฟอร์เนีย นอกชายฝั่งลาปาซ ประเทศเม็กซิโก เป็นที่ตั้งของปล่องไฟใต้ทะเลสูง 24 เมตร สภาพแวดล้อมโดยรอบมีความร้อนสูงจนไม่น่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ แต่ทว่าพวกเขากลับพบสิ่งมีชีวิตที่โลกไม่เคยรู้จักมากถึง 6 สายพันธุ์เลย ทีมสำรวจนานาชาติจากอเมริกาและเม็กซิโก ร่วมกันออกสำรวจโดยใช้หุ่นยนต์ควบคุมระยะไกล (ROV) ชื่อ “SuBastian” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเก็บตัวอย่างของเหลวจากช่องปล่องไฟใต้ทะเล ทั้งหิน โคลน น้ำ และสิ่งมีชีวิต รวมทั้งยังใช้โซนาร์ทำแผนที่ใต้ทะเลเพื่อให้สะดวกต่อการเดินเรือในอนาคต โดยปล่องไฟดังกล่าวคือ “ปล่องไฮโดรเทอร์มอล” เป็นช่องระบายความร้อนจากใต้พิภพ เกิดจากรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งน้ำทะเลจะซึมผ่านรอยแยกลงไปสัมผัสกับเปลือกโลกที่ความร้อนสูง เปรียบเสมือนเป็นหม้อต้มน้ำที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน จากนั้นก็จะเกิดความร้อนตีกลับส่งขึ้นมาทำให้ในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิความร้อนสูงถึง 287 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว นอกจากการศึกษาข้อมูลเคมีของปล่องไฮโดรเทอร์มอลแล้ว พวกเขายังพบสิ่งมีชีวิตสุดอึดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ นั่นคือเหล่าหนอนทะเลที่มีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีหนอนทะเลอย่างน้อย 6 สายพันธุ์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน และอีก 10 สายพันธุ์ที่ไม่น่าจะมาอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ อีกทั้งยังมีพวกครัสเตเชีย หอย ดอกไม้ทะเล หนอนลูกศร และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักวิจัยสงสัยคือ พวกมันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ความร้อนสูงแบบนั้นโดยไม่ถูกต้มสุกได้อย่างไร ? เรื่องนี้คือสิ่งที่พวกเขาต้องศึกษาและวิจัยกันต่อไป แต่จากการประเมิณคาดว่าด้วยอุณหภูมิที่สูง ณ บริเวณนั้นอาจดึงดูดสารอาหารทำให้พวกมันปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่ออยู่รอดได้ ดังนั้นแม้ว่าการสำรวจนี้จะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม […]

พบดินแดนใหม่ ณ ปล่องไฟใต้ทะเลลึก พร้อมสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยรู้จักอีก 6 สายพันธุ์ Read More »

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร

นักวิจัยสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทรบนโลก พบว่ามีจำนวนมากถึง 1 พันล้านชนิด จากเดิมที่เคยเข้าใจว่ามี 20,000 ชนิด ซึ่งหากมัดรวมกันคาดว่าอาจมีน้ำหนักมากกว่าช้างแอฟริกัน 2 แสนล้านตัว ! ว่าแต่..การค้นพบนี้สำคัญอย่างไร ? เดี๋ยวเราเล่าให้ฟังครับ ในการสำรวจนี้มีนักวิจัยกว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมงาน International Census of Marine Microbes (ICoMM) เพื่อร่วมมือกันสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทร ถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว การค้นพบความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัฏจักรคาร์บอน ซึ่งจุลินทรีย์ที่หลากหลายนี้เชื่อมโยงกับพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารบนโลก ไม่เพียงแต่ในทะเลเท่านั้น แต่รวมถึงห่วงโซ่บนพื้นดินด้วย ถึงจะบอกว่าเป็นกองทัพจุลินทรีย์ที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งอาจฟังดูน่ากลัวแต่มันไม่ได้เตรียมตัวโจมตีพวกเรานะครับ ทว่าเหล่าจุลินทรีย์พวกนี้ทำหน้าที่เป็นลมหายใจของโลก ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนมันออกซิเจน รวมถึงแร่ธาตุที่สำคัญอื่น ๆ กลับสู่พื้นดิน และวนเข้าสู่วัฏจักรสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก “จอห์น บารอส” ประธานสภาที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ ICoMM จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า “มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ประมาณ 50-90 เปอร์เซนต์

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร Read More »

หนุ่มอังกฤษเผยวิธี (พร้อมขั้นตอน) การเดินทางไปยัง “เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก”

“ไมลส์ เราท์เลดจ์” (Miles Routledge) นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบเสี่ยงตาย เขาเดินทางไปยังสถานที่อันตรายมากมายทั่วโลก เช่น อัฟกานิสถานท่ามกลางการยึดครองของตอลิบาน หรือ ยูเครนระหว่างการรุกรานของรัสเซีย โดยจุดหมายต่อไปของเขาคือ “นอร์ท เซนทิเนล” เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก “นอร์ท เซนทิเนล” (North Sentinel) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในอ่าวเบงกอล ณ คาบมหาสมุทรอินเดีย เป็นที่อยู่ของชนเผ่าเซนทิเนลลีส ที่ปฏิเสธการติดต่อจากโลกภายนอกมานานเกือบ 10,000 ปีแล้ว และหากใครเข้ามาใกล้เกาะภายในรัศมี 500 เมตร จะถูกชนเผ่าโจมตีด้วยการยิงธนูใส่ทันที  โดยในปี 2006 มีชาวประมง 2 คน ถูกสังหารเนื่องจากเข้าใกล้เกาะมากเกินไป และในปี 2018 นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน John Allen Chau ก็ถูกสังหารหลังจากพยายามขึ้นฝั่งบนเกาะเซนทิเนล โดยสาเหตุที่พวกเขาปฏิเสธจากโลกภายนอกแบบนี้ เป็นเพราะกลัวการติดเชื้อจากคนนอกเผ่านั้นเอง แม้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทางการของอินเดียพยายามผูกมิตรกับเผ่าเซนทิเนลแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล เอาล่ะ..กลับมาที่ “ไมลส์ เราท์เลดจ์” เขาทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ถึงแผนการเดินทางไปยังเกาะเซนทิเนลไว้ดังนี้ เริ่มจากเช่าเรือ 2 ลำเดินทางไปยังเกาะเซนทิเนล โดยแยกกันไปคนละทาง ให้เรือลำแรกจุดดอกไม้ไฟเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของชนเผ่า

หนุ่มอังกฤษเผยวิธี (พร้อมขั้นตอน) การเดินทางไปยัง “เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก” Read More »

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยไมอามี-ค้นพบ “สระน้ำมรณะ” (Death Pool) ที่ใต้ก้นทะเลแดง (Red Sea) เป็นสระน้ำเกลือขนาดยาว 3 เมตร ที่ปราศจากออกซิเจนและระดับความเค็มที่สูงจนเป็นอันตราย หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์ซาลีน” (hypersaline) สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เผลอลงไปในสระมรณะนี้ได้ ทีมวิจัยค้นพบสระมรณะนี้ในปี 2020 ที่ระดับความลึก 1,770 เมตร ในอ่าวอควาบา ทะเลแดง ด้วยการใช้หุ่นยนต์สำรวจควบคุมระยะไกล (ROV) ภายใต้โครงการ OceanXplorer ถูกตั้งชื่อว่า “NEOM Brine Pools” โดยศาสตราจารย์ “แซม เพอร์คิส” ผู้นำทีมวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า “นอกจากมันจะไม่มีออกซิเจน มันยีงมีสารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เป็นพิษอีกด้วย” สิ่งที่น่าสนใจนอกจากความน่าสะพรึงของมันก็คือ สภาพแวดล้อมของสระมรณะนี้ที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยนับตั้งแต่มันก่อตัวขึ้นมา นั่นหมายความว่านี่เป็นเสมือนสมุดบันทึกที่สามารถช่วยให้นักวิจัยเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาจจะตั้งแต่เมื่อหลายพันจนถึงหลายล้านปีก่อน และอาจให้ความกระจ่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกเลยก็เป็นได้ เฮ้ย ! ไม่เว่อไปหน่อยหรอ ? แอ่งน้ำเค็มนี้มันจะเปิดเผยข้อมูลโลกขนาดนั้นเลยหรอ ? โดยเพอร์คิสให้คำตอบว่า “ความเข้าใจในปัจจุบันของเราคือสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจากมหาสมุทร ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเหมือนกัน ซึ่งหากเป็นไปตามทฤษฎีสระมรณะนี้อาจจะจำลองสภาพทะเลในโลกยุคแรกก็เป็นได้” นอกจากนี้ ยังพบจุลินทรีย์ชื่อ“Extremophile” ซึ่งไม่แน่ว่ามันอาจทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกก็ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้สระมรณะแห่งนี้คงสภาพไว้ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือความอันตรายของมันนั่นแหละ

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้ Read More »

นักสำรวจพบ “หมู่บ้านร้าง” ใน Arctic Circle ที่ชาวบ้านไม่ใช่มนุษย์-แต่เป็น “แก๊งหมีขั้วโลก”

เมื่อช่วงฤดูร้อนปี 2021 ช่างภาพชาวรัสเซีย “Dmitry Kokh” เดินทางสำรวจ “เกาะแรงเกิล” (Wrangle Island) เกาะห่างไกลที่อยู่ในเขต Arctic circle ทางตอนเหนือของภูมิภาคชูคอตกา ประเทศรัสเซีย โดยสิ่งที่เขาพบคือ หมู่บ้านร้างแห่งหนึ่งที่ซึ่งชาวบ้านคือ “แก๊งหมีขั้วโลก” กว่า 20 ตัว Kokh ร่องเรือไปไกลกว่า 2,000 กิโลเมตร จากเมือง Anadyr เมืองหลวงของชูคอตกา เพื่อเดินทางไปยังเกาะแรงเกิล โดยทางตอนใต้ของเกาะแรงเกิลมีเกาะเล็ก ๆ ชื่อ “Kolyuchin” ที่นั่นมีหมู่บ้านร้างที่อดีตเคยเป็นศูนย์วิจัยสภาพอากาศของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันคือที่อยู่อาศัยของหมีขั้วโลก “เกาะ Kolyuchin มีขนาดเล็กมาก คุณสามารถมองเห็นทั้งเกาะได้จากบนเรือ” Kokh กล่าวกับ Livescience สำหรับสถานีวิจัยสภาพอากาศของโซเวียตนั้นถูกทิ้งร้างไปเมื่อปี ค.ศ.1991 หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย โดยในระหว่างที่เรือของ Kokh จะเทียบท่า เขาเห็นความเคลื่อนไหวบางอย่างที่หน้าต่างของบ้านร้าง จนกระทั่งพบว่ามันคือหมีขั้วโลก “เราเห็นหมี 1 ตัว แล้วก็เห็นอีกตัว เมื่อนับไปเรื่อย ๆ จนมีหมีมากถึง

นักสำรวจพบ “หมู่บ้านร้าง” ใน Arctic Circle ที่ชาวบ้านไม่ใช่มนุษย์-แต่เป็น “แก๊งหมีขั้วโลก” Read More »

สำรวจ “โลกใหม่” ซ่อนอยู่ใต้น้ำแข็งแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) พบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพียบ

นักสำรวจพบ “โลกใหม่” ที่มีระบบนิเวศของตัวเอง ซ่อนอยู่ใต้หิ้งน้ำแข็ง Larsen แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ในทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) ณ ความลึกประมาณ 450 เมตร ซึ่งข้างใต้เต็มไปด้วยฝูงสิ่งมีชีวิตแบบที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน หิ้งน้ำแข็ง Larsen ถูกขนานนามว่าเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นร่องลึกที่ทอดยาวไปตามน้ำแข็งในบริเวณที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ ซึ่งลักษณะที่ผิดปกตินี้นักวิจัยคาดว่าเป็นร่องที่เกิดจากน้ำแข็งละลายกลายเป็นแม่น้ำลึกลงไปใต้น้ำแข็ง ดังนั้นทีมวิจัยจึงลงมือเจาะน้ำแข็งและใช้กล้องลงไปสำรวจ กล้องปรากฏเป็นภาพเบลอ ๆ มีจุดดำ ๆ ในตอนแรกนักวิจัยคิดว่าอุปกรณ์มีปัญหา แต่หลังจากปรับโฟกัส พบว่าเลนส์กล้องถูกปิดด้วย แอมฟิพอด (Amphipods) สัตว์จำพวกครัสเตเชียน (พวกกุ้ง) ซึ่งนักวิจัยไม่ได้คาดคิดว่าจะพบสิ่งมีชีวิตมากมายขนาดนี้ เครก สตีเวนส์ นักสมุทรศาสตร์ทางกายภาพจากสถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาติ (NIWA) ประเทศนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “การที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มากขนาดนี้ หมายความที่นั่น (ใต้แผ่นน้ำแข็ง) มีระบบนิเวศที่สำคัญเกิดขึ้นอย่างชัดเจน” ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่สงสัยเรื่องนี้มานานแล้วว่าที่บริเวณปากแม่น้ำที่ไหลลงในมหาสมุทร น่าจะมีระบบนิเวศหรือคุณลักษณะบางอย่างที่น่าจะเอื้อต่อการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้ แต่ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีใครศึกษาและสำรวจอย่างจริงจัง “ฮาว ฮอร์แกน” หัวหน้าทีมวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า “การค้นพบโลกใหม่นี้เป็นกลุ่มแรกให้ความรู้สึกเหมือนเป็นนีล อาร์มสตรองที่เหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกอย่างนั้นเลยล่ะ พวกเราดีใจมาก” หลังจากส่งกล้องลงไปสำรวจ นอกจากการพบสิ่งมีชีวิตจะทำให้พวกเขาแปลกใจแล้ว ทีมวิจัยยังพบว่าถ้ำใต้น้ำแข็งถูกแบ่งออกเป็น 4-5 ชั้น และเพดานถ้ำน้ำแข็งก็ไม่ได้ราบเรียบเหมือนที่เคยเข้าใจกันมาตลอด หมายความว่าการสำรวจในครั้งนี้ทำให้นักวิจัยรู้ว่าเรื่องที่พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับภูเขาน้ำแข็งนั้นผิดมาตลอด

สำรวจ “โลกใหม่” ซ่อนอยู่ใต้น้ำแข็งแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) พบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพียบ Read More »

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว

พื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศเยเมนและโอมาน มีหลุมประหลาดขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นโดยไม่มีใครทราบที่มาที่ไป ด้วยความลึกลับของหลุมนี้ คนในพื้นที่จึงเรียกมันว่า “หลุมสู่นรก” (Well of Hell) เพราะเชื่อว่าหลุมแห่งนี้คือสถานที่แห่งความชั่วร้าย โดย “หลุมสู่นรก” ตั้งอยู่ที่ทะเลทรายแห่งเมืองอัล มาฮ์รา เป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 30 เมตร ลึกประมาณ 100-250 เมตร นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหลุมนี้น่าจะมีอายุหลายล้านปีมาแล้ว แม้มันจะดูน่าค้นหาในสายตาของนักสำรวจ แต่คนในพื้นที่ต่างหวาดกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้ สำหรับที่มาของของชื่อหลุมสู่นรก มาจากตำนานที่เล่าขานกันว่ามันเป็นคุกที่สร้างขี้นเพื่อจองจำปิศาจ ซึ่งมันก็ไม่ได้มีหลักฐานประจักษ์แน่ชัดนักว่าในนั้นมีปิศาจจริงหรือไม่ แต่เพราะ “กลิ่นเหม็นเขียว” ที่ลอยขึ้นมา คนในพื้นที่จึงเชื่อว่ามีสิ่งชั่วร้ายอยู่ภายในนั้น ทั้งนี้ การสำรวจจากปากหลุมทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากหลุมมีลักษณะดิ่งลงไปเป็นแนวตรง จึงเกิดเงาจากปากหลุมบดบังแสงอาทิตย์ ทางเดียวที่จะพิสูจน์ภายในหลุมได้คือการส่งคนลงไปสำรวจ ซึ่งทีมนักสำรวจนำโดย “โมฮัมมัด อัล คินดี” ตัดสินใจที่จะลงไปพิสูจน์ แม้คนในพื้นที่จะเตือนพวกเขาเกี่ยวกับคำสาปร้ายแรงที่อยู่ในหลุมสู่นรกนี้ก็ตาม คินดีและทีมของเขาได้ลงไปสำรวจถึงก้นหลุมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2021 ปรากฏว่าภูมิทัศน์ของมันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร ระดับออกซิเจนก็อยู่ในระดับที่ปกติไม่ต่างจากข้างบนพื้นผิว ไม่มีแก๊สพิษ แถมยังมีหินไข่มุกสีเขียวที่เกิดจากการสะสมของแคลเซียมคาบอร์เนต (เรียกว่า Cave pearl เพราะมันพบได้บ่อยในถ้ำ) ทำให้พื้นที่นี้ดูน่าสนใจสำหรับนักสำรวจอย่างพวกเขาด้วย แต่หากจะบอกว่าอะไรที่น่ากลัวในหลุมนี้ ก็คงเป็นงูพิษจำนวนมาก

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว Read More »

Scroll to Top