จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และน้ำแข็งที่ละลายอย่างต่อเนื่องทำให้ทีมนักธรณีวิทยาที่ทำการศึกษาธารน้ำแข็ง Gepatschferner (ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศออสเตรีย) ค้นพบซากมัมมี่ “ชามัวร์” หรือ “แพะภูเขาโบราณ” อายุ 500 ปี สุดหายาก “Martin Stocker-Waldhuber” นักวิจัยผู้ค้นพบกล่าวกับ National Geographic ว่า “สังเกตเห็นเขาของมันโผล่ขึ้นมาจากน้ำแข็งตั้งแต่ปีก่อนแล้ว (2021) แต่ว่าในตอนนั้นมันยังโผล่ออกมาไม่พอที่จะสามารถดึงออกมาได้โดยที่ซากไม่เสียหาย” โดยซากของชามัวร์นี้ถูกพบที่ความสูงกว่า 11,000 ฟุต ประมาณ 3.3 กิโลเมตร “Andrea Fischer” นักธารน้ำแข็งแห่งเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัย กล่าวว่า “ชามัวร์ตัวนี้น่าจะเสียชีวิตตอนอายุประมาณ 2 ปี ซากบริเวณศรีษะเหลือแต่กระดูก แต่ส่วนอื่น ๆ ตั้งแต่อกลงไปยังคงถูกเก็บรักษาเนื่องด้วยความเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ยังมีขนและผิวหนังอยู่ครบถ้วน” การค้นพบแบบนี้เกิดขึ้นได้ยากในเทือกเขาแอลป์ แต่เนื่องด้วยอัตราการละลายที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า อาจมีซากสิ่งมีชีวิตหายากอื่น ๆ ที่ถูกธารน้ำแข็งเก็บรักษาและซ่อนเอาไว้โผล่ออกมาให้เราได้ค้นพบอีกในอนาคตอันใกล้ Fischer กล่าวเสริมอีกว่า “มีธารน้ำแข็งราว 4,000 แห่งในเทือกเขาแอลป์ เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อที่ค้นพบซากชามัวร์ในบริเวณที่เรากำลังทำการศึกษาอยู่พอดี” โดยน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ละลายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 มาจนถึงปัจจุบัน […]

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ Read More »

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2020 ศูนย์รักษาพันธุ์นกฮูกซัฟโฟล์ค ของประเทศอังกฤษ ได้รับรายงานขอความช่วยเหลือว่ามีนกฮูกตัวหนึ่งบินไม่ขึ้นนอนแช่อยู่ในคูน้ำ ซึ่งหากปล่อยไว้มันต้องตายแน่ ๆ เจ้าหน้าที่จึงต้องส่งทีมงานไปช่วยเหลือ จากการรายงานของ CNN หลังจากช่วยเหลือนกฮูกตัวดังกล่าวมาแล้ว ในตอนแรกหัวหน้าทีม “ลูฟัส แซมคิน” เข้าใจว่านกฮูกอาจจะแค่ตัวเปียกทำให้ปีกหนักจนบินไม่ขึ้น แต่หลังจากตัวแห้งแล้วน้องก็ไม่ยอมบิน แซมคินก็คิดว่า เอ๊ะ หรือมันบาดเจ็บ แต่หลังจากตรวจสอบอย่างละเอียดก็ไม่พบบาดแผลใด ๆ จนกระทั่งพาไปชั่งน้ำหนักจึงรู้ว่า “อ๋อ ! น้องแค่อ้วนเกินไป” เจ้าหน้าที่ระบุว่า “นกฮูกตัวนี้หนักถึง 245 กรัม” ซึ่งหนักกว่านกฮูกทั่วไปเกือบ 3 เท่า เป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงบินไม่ขึ้น ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ “มันทำยังไงถึงอ้วนได้ขนาดนั้น ?” เพราะโดยปกติแล้ว เป็นเรื่องยากมากที่นกป่าตามธรรมชาติจะกินจนไม่สามารถบินได้แบบนี้ จากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพบว่า นกฮูกตัวนี้อาจเป็น “โรคอ้วน” (natural obesity) ประกอบช่วงเดือนก่อนหน้า อากาศอบอุ่นกว่าปกติ ทำให้แหล่งอาหารสมบูรณ์เกินไป และตามธรรมชาติของสัตว์เมื่อมีอาหารมันจะกินไม่หยุด เพื่อกักตวงให้มากที่สุด ฉะนั้นผลเลยออกมาอย่างที่เห็น แซมคิน กล่าวว่า “มันกินมากเกินไป แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับมัน

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน Read More »

รู้จักกับ “ปลาจู๋” สิ่งมีชีวิตโบราณ-ที่อยู่บนโลกด้วยหน้าตาแบบนี้มานานกว่า 300 ล้านปี

นี่คือ “ปลาจู๋” (penis fish) แต่แท้จริงแล้วมันคือสัตว์ตระกูลหนอนทะเล ชื่อทางการที่ถูกต้องคือ “Fat innkeeper worms” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Urechis caupo) มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นสายพันธุ์สัตว์โบราณที่ว่ากันว่ามันมีชีวิตอยู่มาตั้งแต่เมื่อ 300 ล้านปีก่อนแล้ว แถมแทบไม่เปลี่ยนหน้าตาไปจากเดิมเลยด้วย ชื่อ “Fat innkeeper worms” แปลว่า “หนอนอ้วนเจ้าของโรงแรม” มาจากพฤติกรรมของมันที่มักจะขุดทรายเป็นหลุมโค้งรูปตัว U เพื่อดักจับเหยื่อและหลบซ่อนจากศัตรู โดยจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ทำให้หลุมเก่าที่ขุดไว้ถูกปลา กุ้ง หรือปูมาเทคโอเวอร์อยู่ต่อนั่นเอง อาศัยอยู่ในมหาสมุทรน้ำตื้นตามแนวชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ และเอเชียตะวันออก พวกมันจะฝั่งตัวอยู่ในพื้นทราย กินแบคทีเรียและแพลงตอนเป็นอาหาร โดยจะปล่อยเมือกเหนียวออกมาดังจับอาหารและจะดูดกลับเข้าไปกิน พวกมันเป็นเหยื่อของปลาฉลาม ปลากระเบน นกนางนวล และนากทะเล มีอายุขัยประมาณ 25 ปี นอกจากนี้ ถึงหน้าตามันจะดูไม่น่ากินเอาซะเลย แต่ในฝั่งเอเชียประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่น นี่ถือเป็นอาหารชั้นเลิศเลยล่ะ   ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2019 “เดวิด ฟอร์ด”

รู้จักกับ “ปลาจู๋” สิ่งมีชีวิตโบราณ-ที่อยู่บนโลกด้วยหน้าตาแบบนี้มานานกว่า 300 ล้านปี Read More »

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร

นักวิจัยสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทรบนโลก พบว่ามีจำนวนมากถึง 1 พันล้านชนิด จากเดิมที่เคยเข้าใจว่ามี 20,000 ชนิด ซึ่งหากมัดรวมกันคาดว่าอาจมีน้ำหนักมากกว่าช้างแอฟริกัน 2 แสนล้านตัว ! ว่าแต่..การค้นพบนี้สำคัญอย่างไร ? เดี๋ยวเราเล่าให้ฟังครับ ในการสำรวจนี้มีนักวิจัยกว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมงาน International Census of Marine Microbes (ICoMM) เพื่อร่วมมือกันสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทร ถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว การค้นพบความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัฏจักรคาร์บอน ซึ่งจุลินทรีย์ที่หลากหลายนี้เชื่อมโยงกับพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารบนโลก ไม่เพียงแต่ในทะเลเท่านั้น แต่รวมถึงห่วงโซ่บนพื้นดินด้วย ถึงจะบอกว่าเป็นกองทัพจุลินทรีย์ที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งอาจฟังดูน่ากลัวแต่มันไม่ได้เตรียมตัวโจมตีพวกเรานะครับ ทว่าเหล่าจุลินทรีย์พวกนี้ทำหน้าที่เป็นลมหายใจของโลก ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนมันออกซิเจน รวมถึงแร่ธาตุที่สำคัญอื่น ๆ กลับสู่พื้นดิน และวนเข้าสู่วัฏจักรสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก “จอห์น บารอส” ประธานสภาที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ ICoMM จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า “มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ประมาณ 50-90 เปอร์เซนต์

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร Read More »

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย

นักสำรวจพบซากกระดูกของสัตว์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 10 เมตร ในระหว่างเดินสำรวจชายหาดวอนบอยน์ ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคาดว่าเป็นกระดูกของวาฬ “โทนี่ แฮนด์ค็อก” ผู้ค้นพบในครั้งนี้กล่าวว่า “เราได้กลิ่นเหม็นระหว่างเดินสำรวจชายหาด และเมื่อตามกลิ่นไปก็ได้พบกับซากกระดูกขนาดใหญ่ที่น่าทึ่งนี้ มันยังคงสมบูรณ์และสดใหม่” สิ่งสำคัญที่ต้องระวังอย่างมากในการค้นพบนี้คือ ห้ามแตะต้องเด็ดขาดเนื่องจากอาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายได้ อีกทั้งการเก็บชิ้นส่วนของกระดูกที่พบไปถือเป็นการทำผิดกฎหมาย National Parks and Wildlife Service (NPWS) ระบุว่า “วาฬได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการครอบครองวาฬส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กฎหมายของรัฐและของรัฐบาลกลางถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ กระดูกวาฬมีสถานะแบบเดียวกับงาช้าง หากการครอบครองงาช้างผิดกฎหมาก กระดูกวาฬก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ ผู้คนยังคงสามารถเข้าใกล้และถ่ายรูปได้ “เกรแฮม สตับบ์” ผู็จัดการพิพิธภัณฑ์ Eden Killer Whale เผยว่า “การพบซากวาฬที่ทางตอนใต้ของออสเตรเลียนั้นไม่ค่อยแปลกเท่าไหร่ เพราะปกติจะมีซากวาฬถูกซัดเกยตื้นที่ภูมิภาคนี้เป็นประจำทุก ๆ 2 ปีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มันพิเศษคือการที่มันหลงเหลือแต่กระดูกสันหลังนี่แหละ ที่พบเจอได้ไม่บ่อยนัก” ในตอนนี้ นักวิจัยยังไม่ทราบว่า ซากกระดูกที่พบนี้เป็นของวาฬชนิดใด แต่อีกไม่นานก็น่าจะได้คำตอบเนื่องจากกระดูกยังคงมีเศษเนื้อ รวมถึงกระดูกก็มี DNA หลงเหลืออยู่เพียบ โดย “เดวิด ดอนเนลลี่”

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย Read More »

รู้จักกับ “นักปีนเขาตัวเปล่า” (Free Solo) พิชิตยอดเขาสูง 1,000 เมตร ได้โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วย

นี่คือ “อเล็กซ์ ฮอนโนลด์” (Alex Honnold) นักปีนเขาตัวเปล่าชื่อดัง (Free Soloing) ที่สามารถพิชิตยอดเขา El Capitan ในอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี สหรัฐอเมริกา ที่ความสูง 3,000 ฟุต (สูงเกือบ 1,000 เมตร) โดยไร้อุปกรณ์ช่วยเหลือ หรือเครื่องมือ safety ใด ๆ ทั้งสิ้น ทำไมเขาถึงกล้าขนาดนั้น ? นี่เป็นคำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวทันทีที่ผม (หรือคุณเอง) เห็นเรื่องนี้ เพราะเดิมทีการปีนเขาปกติ ก็นับว่าเป็นกีฬาที่ความเสี่ยงสูงมากอยู่แล้ว แม้จะมีอุปกรณ์ safety ก็ตาม แต่นั่นก็เทียบไม่ได้เลยกับการ Free Soloing เพราะหากพลาดนิดเดียว = ความตายทันที แน่นอนว่าคำถามนี้ฮอนโนลด์ถูกถามนับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน เขากล่าวกับ National Geographic ว่า “ผมแค่รักในการปีนเขา ไม่ใช่ว่าการทำแบบนี้มันเท่หรือตื่นเต้นดี แต่ผมทำไปเพียงเพราะผมรักที่จะทำมันแค่นั้นเอง” โดยฮอนโนลด์เริ่มปีนเขาตั้งแต่เด็กพร้อมพ่อ จนกระทั่งกลายมาเป็นนักปีนเขาเต็มตัวเมื่อโตขึ้น เขาพิชิตหน้าผามาแล้วมากมายทั่วโลก และความท้าทายล่าสุดคือการพิชิตยอดเขา El Capitan

รู้จักกับ “นักปีนเขาตัวเปล่า” (Free Solo) พิชิตยอดเขาสูง 1,000 เมตร ได้โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วย Read More »

หนุ่มอังกฤษเผยวิธี (พร้อมขั้นตอน) การเดินทางไปยัง “เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก”

“ไมลส์ เราท์เลดจ์” (Miles Routledge) นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบเสี่ยงตาย เขาเดินทางไปยังสถานที่อันตรายมากมายทั่วโลก เช่น อัฟกานิสถานท่ามกลางการยึดครองของตอลิบาน หรือ ยูเครนระหว่างการรุกรานของรัสเซีย โดยจุดหมายต่อไปของเขาคือ “นอร์ท เซนทิเนล” เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก “นอร์ท เซนทิเนล” (North Sentinel) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในอ่าวเบงกอล ณ คาบมหาสมุทรอินเดีย เป็นที่อยู่ของชนเผ่าเซนทิเนลลีส ที่ปฏิเสธการติดต่อจากโลกภายนอกมานานเกือบ 10,000 ปีแล้ว และหากใครเข้ามาใกล้เกาะภายในรัศมี 500 เมตร จะถูกชนเผ่าโจมตีด้วยการยิงธนูใส่ทันที  โดยในปี 2006 มีชาวประมง 2 คน ถูกสังหารเนื่องจากเข้าใกล้เกาะมากเกินไป และในปี 2018 นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน John Allen Chau ก็ถูกสังหารหลังจากพยายามขึ้นฝั่งบนเกาะเซนทิเนล โดยสาเหตุที่พวกเขาปฏิเสธจากโลกภายนอกแบบนี้ เป็นเพราะกลัวการติดเชื้อจากคนนอกเผ่านั้นเอง แม้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทางการของอินเดียพยายามผูกมิตรกับเผ่าเซนทิเนลแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล เอาล่ะ..กลับมาที่ “ไมลส์ เราท์เลดจ์” เขาทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ถึงแผนการเดินทางไปยังเกาะเซนทิเนลไว้ดังนี้ เริ่มจากเช่าเรือ 2 ลำเดินทางไปยังเกาะเซนทิเนล โดยแยกกันไปคนละทาง ให้เรือลำแรกจุดดอกไม้ไฟเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของชนเผ่า

หนุ่มอังกฤษเผยวิธี (พร้อมขั้นตอน) การเดินทางไปยัง “เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก” Read More »

(เรื่องจริง) “เมืองผีสิง” ที่ไฟเปิดทุกคืน-บ้านทุกหลังสะอาดกริบ แต่ไม่มีคนอยู่นาน 40 ปีแล้ว

ถ้าให้นึกภาพเมืองผีสิง หลายคนคงคิดว่าต้องเป็นบ้านโทรม ๆ รกร้าง เก่าแก่ และเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง แต่ทว่าที่เมือง “Kitsault” (คิท-ซอล์ท) ทุกอย่างกลับสะอาดเอี่ยม ราวกลับมีคนอยู่จริง ๆ แถมทุกคืน ไฟในเมืองจะเปิดตลอด แต่ทว่าที่นี่ไม่มีใครอยู่มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1982 แล้ว โดยเมือง Kitsault ตั้งอยู่ชายฝั่งทางตอนเหนือของรัฐบริติชโคลอมเบีย ประเทศแคนาดา ที่นี่มีทั้งบ้านเรือน ศูนย์การค้า ร้านอาหาร โรงพยาบาล ธนาคาร ผับบาร์ และโรงละคร ทั้งหมดนี้ถูกทิ้งร้างมานานกว่า 40 ปีแล้ว แต่ความลึกลับของที่นี่ไม่ใช่ภูติผีหรือวิญญาณ แต่เป็นเรื่องของธุรกิจต่างหาก เรื่องราวย้อนไปราว 100 ปีก่อน ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งแร่โมลิบดีนัม (Molybdenum) เป็นแร่โลหะที่ใช้ในการชุบเหล็กหรือใช้ผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้า ซึ่งรุ่งเรืองมากในยุคนั้น โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ราคาของแร่โมลิบดีนัมสูงขึ้นมาก เนื่องจากแร่นี้เริ่มเป็นที่ต้องการและหายาก ด้วยเหตุนี้ บริษัท Phelps Dodge จึงเห็นโอกาสทำกำไร จนในปี ค.ศ.1979 บริษัทตัดสินใจลงทุนสร้างเมืองเล็ก ๆ ขึ้นมาสำหรับคนงานเหมือง ซึ่งก็คือเมือง “Kitsault”

(เรื่องจริง) “เมืองผีสิง” ที่ไฟเปิดทุกคืน-บ้านทุกหลังสะอาดกริบ แต่ไม่มีคนอยู่นาน 40 ปีแล้ว Read More »

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยไมอามี-ค้นพบ “สระน้ำมรณะ” (Death Pool) ที่ใต้ก้นทะเลแดง (Red Sea) เป็นสระน้ำเกลือขนาดยาว 3 เมตร ที่ปราศจากออกซิเจนและระดับความเค็มที่สูงจนเป็นอันตราย หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์ซาลีน” (hypersaline) สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เผลอลงไปในสระมรณะนี้ได้ ทีมวิจัยค้นพบสระมรณะนี้ในปี 2020 ที่ระดับความลึก 1,770 เมตร ในอ่าวอควาบา ทะเลแดง ด้วยการใช้หุ่นยนต์สำรวจควบคุมระยะไกล (ROV) ภายใต้โครงการ OceanXplorer ถูกตั้งชื่อว่า “NEOM Brine Pools” โดยศาสตราจารย์ “แซม เพอร์คิส” ผู้นำทีมวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า “นอกจากมันจะไม่มีออกซิเจน มันยีงมีสารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เป็นพิษอีกด้วย” สิ่งที่น่าสนใจนอกจากความน่าสะพรึงของมันก็คือ สภาพแวดล้อมของสระมรณะนี้ที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยนับตั้งแต่มันก่อตัวขึ้นมา นั่นหมายความว่านี่เป็นเสมือนสมุดบันทึกที่สามารถช่วยให้นักวิจัยเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาจจะตั้งแต่เมื่อหลายพันจนถึงหลายล้านปีก่อน และอาจให้ความกระจ่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกเลยก็เป็นได้ เฮ้ย ! ไม่เว่อไปหน่อยหรอ ? แอ่งน้ำเค็มนี้มันจะเปิดเผยข้อมูลโลกขนาดนั้นเลยหรอ ? โดยเพอร์คิสให้คำตอบว่า “ความเข้าใจในปัจจุบันของเราคือสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจากมหาสมุทร ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเหมือนกัน ซึ่งหากเป็นไปตามทฤษฎีสระมรณะนี้อาจจะจำลองสภาพทะเลในโลกยุคแรกก็เป็นได้” นอกจากนี้ ยังพบจุลินทรีย์ชื่อ“Extremophile” ซึ่งไม่แน่ว่ามันอาจทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกก็ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้สระมรณะแห่งนี้คงสภาพไว้ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือความอันตรายของมันนั่นแหละ

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้ Read More »

รู้จักกับ “เมนวูล์ฟ” หมาป่า-ที่ไม่ใช่หมาป่า สัตว์หายากที่ตอนนี้กำลังจะสูญพันธุ์แล้ว

นี่คือ “เมนวูล์ฟ” (Maned Wolf) หมาป่าแห่งอเมริกาใต้ แต่ถึงจะชื่อว่าหมาป่า และมีหน้าตาเหมือนสุนัขจิ้งจอกผสมกวาง แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่สัตว์ในตระกูลหมาป่าหรือสุนัขจิ้งจอกเลย โดยชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chrysocyon brachyurus มันเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในตระกูล เมนวูล์ฟเป็นสัตว์หายากและตอนนี้มันใกล้จะสูญพันธุ์แล้วครับ เมนวูล์ฟมีลักษณะเด่นคือ ขนสีส้มแดงคล้ายสุนัขจิ้งจอก ขาดำยาว และหูตั้งใหญ่ โดยมันมีความสูงประมาณ 90 เซนติเมตร หนักประมาณ 30 กิโลกรัม (ถือว่าตัวใหญ่พอสมควรเลยนะ) อาศัยอยู่ในภูมิประเทศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าดิบชื้น พื้นที่ชุ่มน้ำ สามารถพบพวกมันได้ในอเมริกาใต้ตอนกลางและตะวันออก โดยเมนวูล์ฟเป็นสัตว์ที่ออกหากินตามลำพังและเป็นสัตว์ประเภทที่สามารถกินได้ทุกอย่าง (Omnivorous Diet) แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ไม่ใช่นักล่าดุดันเหมือนหมาป่าหรือสิงโตอะไรทำนองนั้น เพราะอาหารหลักของมันคือผลไม้ หนู กระต่าย นก และแมลง ซึ่งศัตรูทางธรรมชาติของมันคือสุนัขบ้านและเสือภูเขา แต่สิ่งที่คุกคามมันมากที่สุดคือมนุษย์ การขยายตัวของเมืองทำให้ที่อยู่อาศัยของเมนวูล์ฟลดลง และมีรายงานจำนวนไม่น้อยที่พบว่าเมนวูล์ฟถูกรถชนตายในเส้นถนนตัดผ่าน อีกทั้งยังมีการล่าเมนวูล์ฟสำหรับนำไปทำเป็นยาแผนโบราณ ถึงแม้ว่าจะไม่มีงานวิจัยว่าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของเมนวูล์ฟจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคก็ตาม แต่พวกมันก็ยังคงถูกล่าต่อไป อีกทั้งชาวบราซิลพื้นเมืองบางคนเชื่อว่า ลูกตาของเมนวูล์ฟเป็นเครื่องรางนำโชคอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การล่าเมนวูล์ฟบางครั้งถูกจัดเป็นกีฬา หรือไม่ก็ล่าเพราะเกษตกรบางคนจะล่าหมาป่าและสัตว์นักล่าทุกชนิดรวมถึงเมนวูล์ฟด้วยเพราะเชื่อว่ามันเข้าไปกินสัตว์ของพวกเขา ซึ่งแม้ความจริงเมนวูล์ฟไมม่ใช่สัตว์นักล่าอย่างที่คิด รวมถึงยังมีโรคติดต่อที่ทำให้จำนวนประชากรเมนวูล์ฟลดลงด้วย ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุให้พวกมันเข้าใกล้การสูญพันธุ์เข้าไปทุกที อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความพยายามในการอนุรักษ์เมนวูล์ฟด้วยการใส่มันอยู่ในรายชื่อสัตว์คุ้มครอง

รู้จักกับ “เมนวูล์ฟ” หมาป่า-ที่ไม่ใช่หมาป่า สัตว์หายากที่ตอนนี้กำลังจะสูญพันธุ์แล้ว Read More »

Scroll to Top