Author name: admin

นี่คือ “อิลิปิกา” สัตว์หายาก – ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดของโลก (ตอนนี้เหลือไม่ถึง 1 พันตัว)

เป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว ที่ตัว “อิลิปิกา” (Ili Pika) ปรากฏตัวขึ้นมาให้โลกรู้จัก เป็นสัตว์ตัวจิ๋วสุดน่ารักคล้ายหนูผสมกระต่าย หน้าตาเหมือนตุ๊กตาหมี ใบหูกลมใหญ่ อาศัยอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศจีน ที่ตอนนี้เป็นสายพันธุ์ตัวปิก้าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก โดย “อิลิปิกา” ปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1983 บนเทือกเขาเทียนซาน ขณะที่ เหวยตง หลี่ นักวิจัยจากสถาบันนิเวศวิทยาและภูมิศาสตร์ซินเจียง กำลังสำรวจธรรมชาติ เขาพบเห็นสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วคล้ายกระต่ายซ่อนตัวอยู่ในซอกหินบนหุบเขา มันมีขนาดตัวประมาณ 20 เซนติเมตร ขนสีเทา มีลายจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเขาไม่เคยพบสิ่งมีชีวิตตัวนี้มาก่อน จึงจับตัวอย่างมา 1 ตัวเพื่อตรวจสอบ หลี่ส่งตัวอย่างไปยังศูนย์วิจัย Chinese Academy of Science จึงทราบว่านี่เป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในตระกูลปิกา (Ochotona) และตั้งชื่อทางการให้ว่า “อิลิปิกา” ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochotona iliensis แต่หลังจากการค้นพบครั้งนั้น ก็แทบไม่มีใครเคยพบมันอีกเลย (มีเพียง 29 ครั้งเท่านั้นที่มีรายงานการพบพวกมัน) ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยรู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของเจ้าอิลิปิกาเท่าไหร่นัก โดยสาเหตุที่ยากจะพบตัวอิลิปิกา เป็นเพราะมันอยู่บนเทือกเขาสูงที่ระดับความสูงประมาณ […]

นี่คือ “อิลิปิกา” สัตว์หายาก – ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดของโลก (ตอนนี้เหลือไม่ถึง 1 พันตัว) Read More »

ในที่สุด “ปีศาจทัสมาเนีย” ก็รอดพ้นจากการสูญพันธุ์ และกำเนิดอีกครั้งในรอบ 3,000 ปี

ปีศาจแทสมาเนีย (Tasmania Devil) สัตว์กินเนื้อประเภทกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลียนานกว่า 3,000 ปี แต่ข่าวดีล่าสุด “ลูกแทสมาเนียตัวแรก” บนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลียถือกำเนิดขึ้นแล้ว ในอดีตตัวแทสมาเนียสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันสามารถพบพวกมันได้บนเกาะแทสมาเนียเท่านั้น โดยสาเหตุมาจากในอดีตผู้คนพยายามกำจัดตัวแทสมาเนีย เนื่องจากพวกมันฆ่าสัตว์เลี้ยงตามบ้านเรือนจำนวนมาก ประกอบกับการมาของหมาป่าดิงโก้ (Dingo) ทำให้จำนวนแทสมาเนียค่อย ๆ ลดลง อีกทั้งโรคเนื้องอกบนใบหน้า (DFTD) ที่แพร่ระบาดในหมู่แทสมาเนีย จนคร่าชีวิตพวกมันไปหลายหมื่นตัว อย่างไรก็ตาม แม้บนเกาะแทสมาเนียจะเป็นแหล่งที่อยู่เดียวของพวกมัน ณ ตอนนี้ แต่สถานะของแทสมาเนียก็นับว่าใกล้สูญพันธุ์เต็มที เนื่องจากโรคเนื้องอก DFTD ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จะแก้ปัญหาโรคนี้ในวงกว้างได้ยังไง ดังนั้นเพื่อปกป้องสายพันธุ์แทสมาเนีย พวกเขาจึงต้องแยกพวกมันออกมาเพาะพันธุ์อยู่บนแผ่นดินใหญ่แทน โดยเมื่อปี 2011 องค์กรอนุรักษ์สัตว์ Aussie Ark ร่วมกับ Re:Wild และ WildArk ได้จัดตั้งโครงการรื้อฟื้นปีศาจแทสมาเนียบนแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย ด้วยการนำแทสมาเนีย 44 ตัว จากเกาะแทสมาเนียไปดูแลในศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์ใน Devil Ark บนแผ่นดินใหญ่ และปล่อย 26 ตัวเข้าไปในป่าเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ โดยในจำนวนนั้นมีตัวเมียที่เป็นวัยเจริญพันธุ์ 7 ตัว

ในที่สุด “ปีศาจทัสมาเนีย” ก็รอดพ้นจากการสูญพันธุ์ และกำเนิดอีกครั้งในรอบ 3,000 ปี Read More »

รู้จักกับ “Mirny Mine” หลุมเพชรใหญ่ที่สุดในโลก (ลึก 500 เมตร) มีแรงดึงดูดให้เฮลิคอปเตอร์ตกได้

เหมืองเมียร์นี่ (Mirny Mine) นับว่าเป็นหลุมที่ใหญ่ที่สุดที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ แต่นอกเหนือจากที่มันจะเป็นเหมืองเพชรอันล้ำค่าแห่งหนึ่งของโลกแล้ว มันยังแฝงด้วยเรื่องราวพิศวงที่ว่ากันว่า เหมืองยักษ์แห่งนี้สามารถดูดเฮลิคอปเตอร์ที่บินผ่านให้ตกได้ด้วย !   จุดเริ่มต้นของเหมืองแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1955 ทีมธรณีวิทยาแห่งสหภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน ค้นพบว่าบริเวณแถบไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแร่คิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) ซึ่งเป็นแร่ที่เกิดขึ้นจากการเย็นตัวลงของแม็กม่าที่สามารถถลุงออกมาให้กลายเป็นเพชรได้ และด้วยความที่เป็นแร่หายากมีค่ามหาศาล ส่งผลให้ทีมธรณีวิทยาที่ค้นพบได้รับรางวัลเลนิน ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติชิ้นหนึ่งในสหภาพโซเวียตเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวสหภาพโซเวียตยังได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้การดำเนินการเพื่อสร้างเหมืองเมียร์นี่เป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่มีน้อย เนื่องจากประชากรในประเทศลดลงหลังสงครามโลกสิ้นสุด จนถึงสภาพแวดล้อมในแถบไซบีเรียที่ไม่เอื้ออำนวยในการขุดเหมืองเอาเสียเลย โดยพื้นที่ในแถบไซบีเรียเป็นที่ทราบกันว่ามีสภาพอากาศแบบสุดขั้วแห่งหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้ ช่วงฤดูหนาวอันแสนยาวนานบางครั้งทำให้อากาศลดต่ำลงถึง -40 องศาเซลเซียส รถขุดเจาะไม่สามารถทำงานได้ในอากาศเย็นจัด (ยางและเหล็กที่แข็งตัวทำให้เปราะแตกได้ง่าย) หรือจะเป็นชั้นดินเยือกแข็งเรียกว่า เพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ซึ่งต้องใช้ระเบิดหรือเครื่องขุดเจาะกำลังสูง อย่างไรก็ตาม แม้การสร้างเหมืองเมียร์นี่จะยากลำบากมาก แต่มันก็ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าเพราะมันสร้างรายได้ให้กับสหภาพโซเวียตได้อย่างมหาศาล อย่างในปี ค.ศ.1960 แร่คิมเบอร์ไลต์ที่ขุดได้สามารถถลุงออกมาเป็นเพชรมากถึง 2 ล้านกะรัต ! และเมื่อคำนวณรายได้ตั้งแต่เหมืองเริ่มเปิดทำการก็จะอยู่ที่ราว ๆ 1.3 หมื่นล้านปอนด์ หรือประมาณ 4.4 แสนล้านบาทครับ ส่วนเรื่องเล่าที่ว่าเหมืองเมียร์นี่ดูดเฮลิคอปเตอร์นั้นมีคำอธิบายอยู่ว่า เหมืองนี้มีความลึกถึง 525

รู้จักกับ “Mirny Mine” หลุมเพชรใหญ่ที่สุดในโลก (ลึก 500 เมตร) มีแรงดึงดูดให้เฮลิคอปเตอร์ตกได้ Read More »

(นี่ลิงนะไม่ใช่แมว) รู้จัก “เดอ-บราซซา” (De Brazza) ลิงโลกเก่า-ที่ราคาแพงที่สุดในโลก

คำว่า “ลิงโลกเก่า” และ “ลิงโลกใหม่” คืออะไร ? ลิงโลกเก่าจะเป็นลิงที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา เอเชีย และยุโรป ซึ่งเป็นทวีปที่ถูกพบก่อน ลิงพวกนี้มีฟันกราม 2 ซี่ รูจมูกแคบ อาจมีหางหรือไม่มีหาง แต่หางจะไม่ถูกใช้ยึดเหนี่ยวกับต้นไม้ และตัวผู้ในลิงจำพวกนี้จะไม่ชอบเลี้ยงลูก ส่วนลิงโลกใหม่คือ ลิงที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นทวีปที่ถูกค้นพบภายหลัง ลิงพวกนี้จะมีฟันกราม 3 ซี่ มีรูจมูกว้าง และมีหางที่ช่วยยึดเหนี่ยวต้นไม้และจับวัตถุได้ โดยตัวผู้ในจำพวกนี้มักจะอยู่ช่วยตัวเมียเลี้ยงลูกหลานด้วย นี่คือ “เดอ-บราซซา” (De Brazza) พบได้ในแถบแอฟริกากลางไปจนถึงเอธิโอเปียและเคนยา มักอาศัยอยู่ในป่าใกล้แม่น้ำหรือหนองน้ำ พวกมันถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1876 โดยนักสำรวจชาวอิตาลีนามว่า “ปิแอร์ ซาวายอง เดอ บราซซา” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อลิงชนิดนี้ โดยทั่วไปแล้วลิงเดอ-บราซซ่ามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 8-10 ตัว ซึ่งประกอบด้วยตัวผู้ที่โตเต็มวัย 1 ตัว และตัวเมียโตเต็มวัย 1 ตัว (หรืออาจจะ 2-3 ตัว) นอกนั้นจะเป็นลิงเด็ก ๆ ทั้งหมด

(นี่ลิงนะไม่ใช่แมว) รู้จัก “เดอ-บราซซา” (De Brazza) ลิงโลกเก่า-ที่ราคาแพงที่สุดในโลก Read More »

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว

พื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศเยเมนและโอมาน มีหลุมประหลาดขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นโดยไม่มีใครทราบที่มาที่ไป ด้วยความลึกลับของหลุมนี้ คนในพื้นที่จึงเรียกมันว่า “หลุมสู่นรก” (Well of Hell) เพราะเชื่อว่าหลุมแห่งนี้คือสถานที่แห่งความชั่วร้าย โดย “หลุมสู่นรก” ตั้งอยู่ที่ทะเลทรายแห่งเมืองอัล มาฮ์รา เป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 30 เมตร ลึกประมาณ 100-250 เมตร นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหลุมนี้น่าจะมีอายุหลายล้านปีมาแล้ว แม้มันจะดูน่าค้นหาในสายตาของนักสำรวจ แต่คนในพื้นที่ต่างหวาดกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้ สำหรับที่มาของของชื่อหลุมสู่นรก มาจากตำนานที่เล่าขานกันว่ามันเป็นคุกที่สร้างขี้นเพื่อจองจำปิศาจ ซึ่งมันก็ไม่ได้มีหลักฐานประจักษ์แน่ชัดนักว่าในนั้นมีปิศาจจริงหรือไม่ แต่เพราะ “กลิ่นเหม็นเขียว” ที่ลอยขึ้นมา คนในพื้นที่จึงเชื่อว่ามีสิ่งชั่วร้ายอยู่ภายในนั้น ทั้งนี้ การสำรวจจากปากหลุมทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากหลุมมีลักษณะดิ่งลงไปเป็นแนวตรง จึงเกิดเงาจากปากหลุมบดบังแสงอาทิตย์ ทางเดียวที่จะพิสูจน์ภายในหลุมได้คือการส่งคนลงไปสำรวจ ซึ่งทีมนักสำรวจนำโดย “โมฮัมมัด อัล คินดี” ตัดสินใจที่จะลงไปพิสูจน์ แม้คนในพื้นที่จะเตือนพวกเขาเกี่ยวกับคำสาปร้ายแรงที่อยู่ในหลุมสู่นรกนี้ก็ตาม คินดีและทีมของเขาได้ลงไปสำรวจถึงก้นหลุมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2021 ปรากฏว่าภูมิทัศน์ของมันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร ระดับออกซิเจนก็อยู่ในระดับที่ปกติไม่ต่างจากข้างบนพื้นผิว ไม่มีแก๊สพิษ แถมยังมีหินไข่มุกสีเขียวที่เกิดจากการสะสมของแคลเซียมคาบอร์เนต (เรียกว่า Cave pearl เพราะมันพบได้บ่อยในถ้ำ) ทำให้พื้นที่นี้ดูน่าสนใจสำหรับนักสำรวจอย่างพวกเขาด้วย แต่หากจะบอกว่าอะไรที่น่ากลัวในหลุมนี้ ก็คงเป็นงูพิษจำนวนมาก

นี่คือ “Well of Hell” บ่อลึกลับฉายา “หลุมสู่นรก” ที่เป็นปริศนามานับล้านปี-ตอนนี้ถูกสำรวจแล้ว Read More »

ยืนยัน “โลมา-อิรวดี” (ตัวสุดท้ายในแม่น้ำโขง) พึ่งจากเราไป 2 เดือนที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา องค์กรด้านการอนุรักษ์นานาชาติ (WWF) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการจากไปของโลมาอิรวดีตัวสุดท้ายในแม่น้ำโขงเขต สปป.ลาว ซึ่งทาง WWF ระบุว่า “นี่คือการสูญพันธุ์ระดับนานาชาติ” โดยก่อนหน้านี้จากผลสำรวจประชากรล่าสุด เมื่อปี 2016 ระบุว่า มีโลมาสายพันธุ์ดังกล่าวอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงเขต สปป.ลาว 3 ตัว (แต่ 2 ตัวก่อนหน้านี้จากไปเมื่อปี 2021) โดยตัวล่าสุดเป็นเพศผู้ อายุ 25 ปี ขนาดลำตัวยาว 2.6 เมตร น้ำหนัก 110 กิโลกรัม จากการตรวจสอบเชื่อว่ามันถูกอวนลากติดขึ้นบกตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว และเสียชีวิตใน 4 วันต่อมา จึงทำให้สปป.ลาว ไม่มีโลมาน้ำจืดสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่แล้วครับ … ข้อมูลอย่างละเอียด-เกี่ยวกับโลมาชนิดนี้ : โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin) (ชื่อวิทยาศาสตร์ Orcaella brevirostris) พวกมันถูกพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า (จึงเป็นที่มาของชื่อ) สามารถพบพวกมันได้เพียงแหล่งน้ำ 5 แห่งบนโลก

ยืนยัน “โลมา-อิรวดี” (ตัวสุดท้ายในแม่น้ำโขง) พึ่งจากเราไป 2 เดือนที่ผ่านมา Read More »

“อะโซ-โลตล์” สัตว์ที่กำลังถูกวิจัย-และใกล้สูญพันธุ์ เพราะมีสกิลฮีลเหมือน “วูลฟ์เวอรีน”

“อะโซ-โลตล์” หรือจะเรียกว่า “แอกโซ-ลอเติล” ก็ได้ (Axolotl) ชื่อวิทยาศาสตร์ “Ambystoma mexicanum” คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถงอกอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ที่เสียหายให้กลับมาใช้งานได้ แม้จะขาดออกหรือได้รับบาดเจ็บเพียงใดก็ตาม (แม้แต่ – หัวใจที่ถูกทำลายก็ยังสามารถรักษาได้เลยคิดดู – ฮีลลิ่งสกิลโคตรโหด) โดยพวกมันเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ-จำพวกเดียวกับซาลาแมนเดอร์ มีถิ่นกำเนิดและพบได้แห่งเดียวบนโลกคือ คลองโซชิมิลโก (Xochimilco) ประเทศเม็กซิโก (โดยภาษาสเปนออกเสียงว่า “อะโฮโลตล์” นะครับ) ถูกค้นพบครั้งแรกโดยชาวแอซเท็กเมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว ส่วนชื่อของมันก็ถูกตั้งตามเทพองค์หนึ่งตามความเชื่อของพวกเขานั่นเอง) และแม้สกิลการสร้างอวัยวะจะเจ๋งขนาดไหน แต่กระบวนการฟื้นฟูจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพวกมันยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น (ถ้าตายไปแล้วคือจบ) โดยกระบวนการมีดังนี้ เมื่ออวัยวะส่วนใดเสียหาย-เลือดจะหยุดไหลแทบทันที-จากนั้นประมาณ 2 ถึง 3 วัน เซลล์ที่ปิดปากแผลจะทำหน้าที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเรียกว่า “บลาสเทมา” (Blastema)-ซึ่งจะค่อย ๆ แบ่งตัวเพื่อสร้างเป็นกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นประสาท เส้นเลือด-จนพัฒนากลายเป็นอวัยวะส่วนที่ขาดให้กลับมาใช้งานได้ปกติ (เวลาในการฟื้นฟูราว 30-60 วัน) ซึ่งแน่นอนว่าความสามารถนี้ครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นปอด สมอง กระเพาะ ลำไส้ แต่ตามข้อมูลระบุว่า อวัยวะจะต้องไม่เสียหายเกิน

“อะโซ-โลตล์” สัตว์ที่กำลังถูกวิจัย-และใกล้สูญพันธุ์ เพราะมีสกิลฮีลเหมือน “วูลฟ์เวอรีน” Read More »

นี่คือแมวป่าเซอร์วัล “Serval Cat” (สีดำล้วน) แมวป่าสุดหล่อ ประจำแทนซาเนีย

แมวป่า (Serval Cat – เซอร์วัล) คือสัตว์จำพวกแมวที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาตะวันออก ลักษณะเด่นของมันคือ คอยาว หูใหญ่ หัวเล็ก และมีลวดลายเป็นจุดทั่วลำตัว แต่ภาพที่ถ่ายได้โดยช่างภาพนักสำรวจชาวอังกฤษ George Benjamin แสดงให้เราได้เห็นว่า Serval Cat ที่อยู่ตามธรรมชาติ ก็มีตัวสีดำล้วนเฉกเช่นแมวทั่วไปเช่นกัน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจมากครับ (ภาพด้านล่างนี้ จอร์จ ถ่ายได้ที่ประเทศแทนซาเนียครับผม) Lynn Von Hagen นักชีววิทยา เผยว่า ครั้งหนึ่งเธอเคยพบลูกแมวสีดำเดินอยู่ข้างถนนในเขตอนุรักษ์ของประเทศเคนยา เมื่อตรวจสอบก็พบว่า มันคือแมวป่า Serval Cat ที่ปกติจะมีลักษณะสีสันลวดลายเป็นลายจุดคล้ายเสือดาว แต่แมวป่า Serval Cat ตามธรรมชาติ กลับมีลวดลายสีดำล้วนมากถึง 46% ของจำนวนแมวป่า Serval Cat ทั้งหมด ทำไมแมวป่า Serval Cat จึงเป็นสีดำ ? สาเหตุที่ทำให้พวกมันกลายเป็นสีดำ เนื่องจากเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “เมลานิซึม” (melanism) ความผิดปกตินี้เกิดจาก เมลานิน

นี่คือแมวป่าเซอร์วัล “Serval Cat” (สีดำล้วน) แมวป่าสุดหล่อ ประจำแทนซาเนีย Read More »

ความร้อนจากการปะทุ “ภูเขาไฟ-ปอมเปอี” (เมื่อ 2 พันปีก่อน) เปลี่ยนสมองคนให้กลายเป็น “แก้ว”

เมื่อครั้งที่ภูเขาไฟวิสุเวียส ระเบิดขึ้นเมื่อ 79 ปีก่อนคริสตกาล มันได้ปล่อยก๊าซและหินร้อนออกมามากพอ จนสามารถต้มเลือดภายในร่างกายของมนุษย์จนเดือดได้ หรือแม้แต่ทำให้ผิวหนังของสิ่งมีชีวิตระเหยกลายเป็นไอ รวมทั้งยังเปลี่ยนเนื้อเยื่อสมองของมนุษย์ให้กลายเป็นแก้วได้เลย   ซึ่งปกติแล้วนักโบราณคดีไม่ค่อยพบสมองมนุษย์ระหว่างการขุดสำรวจมากนัก แต่ถ้าพบแล้วล่ะก็ ส่วนมากสมองก็จะมีรูปร่างคล้ายสบู่ก้อนเล็ก ๆ เสียมากกว่า แต่ล่าสุดเมื่อตรวจสอบซากของผู้เคราะห์ร้ายที่เสียชีวิตในเฮอร์คิวเลเนียม (Herculaneum) เมืองโบราณ ณ ประเทศอิตาลี ในเหตุการณ์การระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียส (Vesuvius eruption) เหล่านักวิจัยกลับพบสิ่งที่ต่างออกไป พวกเขาพบว่า สมองของเหยื่อถูกไฟไหม้จนเปลี่ยนเป็นเศษแก้วชิ้นเล็กชิ้นน้อย (สีดำ) โดยเกิดจากการผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “Vitrification” (เวอร์-ทิ-ฟิ-เค-ชั่น) คือการที่ของผิวอ่อนถูกความร้อนสูงเฉียบพลันจนเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลว และเมื่อเย็นลงจึงกลายเป็นผลึกแก้ว การค้นพบนี้เป็นผลงานของ ดร.เพียร์ เพาโล เปโตรเน (Pier Paolo Petrone) ศาสตราจารย์วิชาสรีรวิทยามนุษย์และมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยแพทย์เฟเดอริโกที่สอง (Federico II University) ในอิตาลี เปโตรเนและเพื่อนร่วมงานของเขาเข้าไปสำรวจซากโครงกระดูกของเหยื่อมากกว่า 300 คนในเฮอร์คิวเลเนียม โดยเมืองเฮอร์คิวเลเนียมอยู่ห่างจากเมืองปอมเปอีราว 20 กิโลเมตร และด้วยระยะความใกล้นี้เอง ทำให้ผู้คนในเฮอร์คิวเลเนียมก็ต้องพบกับชะตากรรมสยดสยองเช่นกัน ซึ่งส่วนมากจะเสียชีวิตจากการที่เลือดภายในร่างกายร้อนจนเดือด-เกิดเป็นแรงดันสูงนำไปสู่การทำให้หัวกะโหลกของพวกเขาระเบิด ในงานวิจัยชิ้นใหม่ เปโตรเนและผู้ร่วมเขียนงานวิจัยเข้าไปตรวจสอบเหยื่อที่อยู่บนเตียงไม้

ความร้อนจากการปะทุ “ภูเขาไฟ-ปอมเปอี” (เมื่อ 2 พันปีก่อน) เปลี่ยนสมองคนให้กลายเป็น “แก้ว” Read More »

รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า”

การ์ไจอาเนียร์ (Garjainia) สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อราว 250 ล้านปีก่อน (ในยุคไทรแอสสิค – ก่อนยุคจูราสสิค) แต่ความโหดและความตะกละของมัน มีความเป็นไปได้สูงมากว่า มันกินได้ทุกอย่างแม้แต่ “พวกเดียวกันเอง” การ์ไจอาเนียร์ อยู่ในตระกูล erythrosuchid ซึ่งแปลว่า “จระเข้แดง” มีการขุดพบฟอสซิลของมันครั้งแรกที่รัสเซียเมื่อปี ค.ศ.1950 และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vjushkovia triplicostata จากนั้นในเวลาต่อมาได้ถูกค้นพบอีกครั้งที่แอฟริกาใต้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นสายพันธุ์ต่างกัน จึงได้รับการตั้งชื่อว่า Garjainia prima   ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สัตว์กินเนื้อยุคโบราณชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับมังกรโคโมโด และจระเข้แม่น้ำไนล์ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้มันจะไม่ใช่นักล่าที่มีขนาดตัวใหญ่มากนัก (ความยาวไม่ถึง 3 เมตร) แต่ส่วนหัวของมันมีความยาวถึง 1 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับหัวของทีเร็กซ์เลยทีเดียว    ริชาร์ด บัตเลอร์ นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า – “พวกมันมีส่วนหัวที่ใหญ่แบบแปลกประหลาดมาก ซึ่งยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่คิดว่าอาจเชื่อมโยงกับบทบาทของพวกมันในฐานะนักล่าแถวหน้าในระบบนิเวศของยุคนั้น โดยขากรรไกรที่ใหญ่และทรงพลัง พร้อมทั้งฟันขนาดใหญ่ที่คมแบบมีดหั่นสเต๊ก จึงทำให้การล่าเหยื่อแต่ละครั้งมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง” บัตเลอร์กล่าวเสริมว่า พวก “จระเข้แดง”

รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า” Read More »

Scroll to Top