นักวิจัยค้นพบ แบคทีเรียยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแบบไม่ต้องใช้กล้องจุลทัศน์เลยทีเดียว แบคทีเรียตัวนี้ชื่อ “Thiomargarita magnifica” มันมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปถึง 5,000 เท่าเลยทีเดียว

“จีน-แมรี่ วอลแลนด์” นักชีววิทยาทางทะเลจากศูนย์วิจัย Complex Systems ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า มันมีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีลักษณะ ขนาดและรูปร่างคล้ายขนตามนุษย์ ซึ่งนอกจากจะใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปถึง 5,000 เท่าแล้ว เมื่อเทียบกับแบคทีเรียที่จัดว่ามีขนาดใหญ่ เจ้าแบคทีเรียตัวนี้ก็ยังใหญ่กว่าถึง 50 เท่า
ยิ่งไปกว่านั้น เซลล์ในแบคทีเรียยักษ์นี้ก็ยังพิเศษและซับซ้อนกว่าแบคทีเรียทั่วไป คือสารพันธุกรรมของแบคทีเรียทั่วไปจะลอยตัวอย่างอิสระอยู่ภายในเซลล์ แต่สำหรับ T.magnifica กลับบบรจุสารพันธุกรรมไว้ในถุงเมมเบรน ซึ่งปกติแล้วจะพบได้เฉพาะในพืชและสัตว์เท่านั้น

โดย “โอลิเวอร์ กลอส” นักชีววิทยาทางทะเลจากประเทศฝรั่งเศส ค้นพบแบคทีเรียชนิดนี้ครั้งแรก จากการเก็บตัวอย่างน้ำในป่าชายเลนเขตร้อนในทะเล Lesser Antilles คาบสมุทรแคริบเบียน ซึ่งในตอนแรกพวกเขาเข้าใจว่ามันเป็นสัตว์จำพวกพยาธิชนิดหนึ่ง แต่เมื่อหลายปีต่อมาเริ่มมีการศึกษาจริงจังมากขึ้น จึงทราบว่ามันคือแบคทีเรีย
ก่อนหน้านี้ มีทฤษฎีเกี่ยวกับสาเหตุที่แบคทีเรียมีขนาดเล็กจิ๋วจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าระบุว่า “เซลล์แบคทีเรียนั้นไม่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นตัวจำกัดขนาดของเซลล์” กล่าวคือ เมื่อร่างกายมีความเรียบง่าย ไม่มีอวัยวะมากมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จพต้องมีขนาดใหญ่โตเมื่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั่นเอง แต่ทว่าหลังจากการค้นพบแบคทีเรียขนาดยักษ์นี้ ทำให้ทฤษฎีที่นักวิจัยเคยเชื่อมาตลอดถูกพังทลายลง

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่ทราบชัดเจนว่า T.magnifica มีบทบาทอะไรในระบบนิเวศน์ในป่าชายเลน ทั้งนี้ นักวิจัยยังต้องทำความเข้าใจมันอีกมาย ซึ่งตอนนี้นักวิจัยทราบเพียงเหตุผลที่มันมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียปกติก็เพื่อให้รับออกซิเจนและซัลไฟด์มากขึ้น รองรับกับเซลล์ที่ซับซ้อน
อ้างอิง (Ref.) – Sciencenews, Nature, NewYorkTimes