ไดโนเสาร์

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน

เมื่อปี 2009 เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยค้นพบฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานมีปีกดึกดำบรรพ์ (หรือที่เรียกกันว่า “เรซัวร์”) ในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี เป็นหนึ่งในสองสายพันธุ์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน มีฉายาว่า “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า “เรซัวร์” คือชื่อเรียกของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ โดยจะมีหลัก ๆ แค่ 2 กลุ่ม คือ 1. Rhamphorhynchinae และ 2. Pterodactyloids ซึ่งสามารถพบเฉพาะในซีกโลกเหนือหรือที่เรียกว่ามหาทวีปลอเรเซีย ปล. อดีตมหาทวีปแพนเจียแตกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ลอเรเซีย (เหนือ) 2.กอนด์วานา (ใต้) โดยการค้นพบนี้เป็นครั้งแรกที่พบเรซัวร์ในซีกโลกใต้ คาดว่าเป็นสมาชิกของ Rhamphorhynchinae เพราะมีขนาดเล็ก โดยปีกกว้าง 2 เมตร มีหางยาวแหลม และจะงอยปากยืนยาว พร้อมฟันแหลมคม และแม้จะพ่นไฟไม่ได้แบบในซีรีส์ หรือในนิยายที่เราคุ้นเคย แต่ลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมาก็เพียงพอให้เราเรียกมันว่า “มังกร” ได้ “โจนาธาน อัลรากอน” […]

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน Read More »

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง”

ระหว่างการสำรวจธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของปาทาโกเนีย นักบรรพชีวินค้นพบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์หายากคือ “อิคธิโอซอร์” (Ichthyosaur) สัตว์เลื้อยคลานในทะเลคล้ายโลมาที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 251-95 ล้านปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ทำให้ฟอสซิลนี้น่าสนใจและหายากกว่าปกติคือ “มันกำลังตั้งท้อง” ฟอสซิลอิคธิโอซอร์นี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2009 โดยนักบรรพชีวินวิทยา “Judith Pardo-Pérez” เขาตั้งชื่อให้มันว่า “ฟิโอน่า” (Fiona) มาจากตัวละครยักษ์ในเภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง “Shrek” (2001) เพราะฟอสซิลมีสีเขียวจากการถูกเคลือบด้วยสารออกไซด์ มีขนาดยาว 4 เมตร มีอายุประมาณ 139-129 ล้านปีก่อน (ช่วงต้นยุคครีเทเชียส) ต่อมาเข้าร่วมงานวิจัยกับ “แอริน แมกซ์เวล” ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งรัฐในเมืองสตุตการ์ท ประเทศเยอรมนี ในการขุดมันขึ้นมา โดยต้องใช้เวลากว่า 13 ปี ในการขุดเนื่องจากที่ตั้งของฟอสซิลฟิโอน่าตั้งอยู่บนธารน้ำแข็ง Tyndall ซึ่งห่างไกลมาก ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในการขนย้ายเท่านั้น Pardo-Pérez กล่าวว่า “ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้อง สิ่งนี้ช่วยในการศึกษาอย่างมาก เพราะมันแสดงให้เห็นวงจรชีวิต สามารถบอกได้ว่าอิคธิโอซอร์ตั้งท้องครั้งละกี่ตัว ลูกที่กำลังจะคลอดออกมามีขนาดเท่าใด” อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้องตัวแรก เพราะก่อนหน้านี้เคยพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1749 แต่ถึงอย่างนั้นการค้นพบนี้ก็ช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้มากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากฟอสซิลฟิโอน่า ยังมีฟอสซิลของอิคธิโอซอร์อีกนับร้อยตัวในแหล่งสะสมฟอสซิล ณ

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง” Read More »

พบฟอสซิล สัตว์ดึกบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ (อายุ 86 ล้านปี) ขนานนามกันว่า “มังกรมรณะ”

นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิล อายุ 86 ล้านปี ของสัตว์เลื้อยคลานบินได้ หรือ เทอโรซอร์ (Pterosaur) สายพันธุ์ใหม่ มีขนาดใหญ่ยาว 9 เมตร ในเทือกเขาแอนดีส จังหวัดเมนโดซาทางตะวันตกของอาร์เจนตินา มันเป็นสัตว์นักล่าที่ได้รับการขนานนามว่า “มังกรมรณะ” (Dragon of Death) ย้อนกลับไปในยุคไทรแอสซิคและยุคครีเทเชียส เทอโรซอร์ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อ 215 ล้านปีก่อน เป็นสัตว์ที่ปกครองท้องฟ้าทั่วโลกมายาวนานนับร้อยล้านปี เนื่องจากพวกมันไม่มีคู่แข่งหรือศัตรูเลย จึงสามารถวิวัฒนาการแตกสายพันธุ์ออกมามากมายหลายขนาด โดยสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 12 เมตร ซึ่งเมื่อสยายปีกจะมีความกว้างกว่าเครื่องบินรบ f-16 เสียอีก นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ Cuyo ประเทศอาร์เจนติน่า พบกระดูกฟอสซิลประมาณ 40 ชิ้น เมื่อนำมาประกอบกันแล้วจึงทราบว่ามันคือฟอสซิลของเทอโรซอร์ ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดแรก ๆ บนโลกที่สามารถบินได้และล่าเหยื่อจากบนฟ้า ตามรายงานของ National Geographic (การค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Cretaceous Research) จากการวิเคราะห์เป็นไปได้ว่าพวกมันสูญพันธุ์ไปพร้อม ๆ กับไดโนเสาร์ในตอนที่เกิดเหตุดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก ณ คาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก ที่กำจัดสิ่งมีชีวิต

พบฟอสซิล สัตว์ดึกบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ (อายุ 86 ล้านปี) ขนานนามกันว่า “มังกรมรณะ” Read More »

รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า”

การ์ไจอาเนียร์ (Garjainia) สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อราว 250 ล้านปีก่อน (ในยุคไทรแอสสิค – ก่อนยุคจูราสสิค) แต่ความโหดและความตะกละของมัน มีความเป็นไปได้สูงมากว่า มันกินได้ทุกอย่างแม้แต่ “พวกเดียวกันเอง” การ์ไจอาเนียร์ อยู่ในตระกูล erythrosuchid ซึ่งแปลว่า “จระเข้แดง” มีการขุดพบฟอสซิลของมันครั้งแรกที่รัสเซียเมื่อปี ค.ศ.1950 และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vjushkovia triplicostata จากนั้นในเวลาต่อมาได้ถูกค้นพบอีกครั้งที่แอฟริกาใต้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นสายพันธุ์ต่างกัน จึงได้รับการตั้งชื่อว่า Garjainia prima   ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สัตว์กินเนื้อยุคโบราณชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับมังกรโคโมโด และจระเข้แม่น้ำไนล์ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้มันจะไม่ใช่นักล่าที่มีขนาดตัวใหญ่มากนัก (ความยาวไม่ถึง 3 เมตร) แต่ส่วนหัวของมันมีความยาวถึง 1 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับหัวของทีเร็กซ์เลยทีเดียว    ริชาร์ด บัตเลอร์ นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า – “พวกมันมีส่วนหัวที่ใหญ่แบบแปลกประหลาดมาก ซึ่งยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่คิดว่าอาจเชื่อมโยงกับบทบาทของพวกมันในฐานะนักล่าแถวหน้าในระบบนิเวศของยุคนั้น โดยขากรรไกรที่ใหญ่และทรงพลัง พร้อมทั้งฟันขนาดใหญ่ที่คมแบบมีดหั่นสเต๊ก จึงทำให้การล่าเหยื่อแต่ละครั้งมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง” บัตเลอร์กล่าวเสริมว่า พวก “จระเข้แดง”

รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า” Read More »

Scroll to Top