(ทำได้จริง) นี่คือ “สาหร่าย-ที่สร้างพลังงานไฟฟ้า” ให้คอมจิ๋ว 6 เดือน (โดยไม่เสียบปลั๊ก)
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ค้นพบแหล่งพลังงานใหม่ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วอย่าง “ไซยาโนแบคทีเรีย” (cyanobacteria) หรือที่เรียกกันว่า “สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน” ซึ่งทดลองแล้วว่ามันสามารถให้พลังงานแก่คอมพิวเตอร์จิ๋วใช้งานได้นานถึง 6 เดือน เชื่อว่านี่จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต การค้นพบนี้เกิดขึ้นระหว่างการล็อคดาวน์โควิด-19 เมื่อปี 2021 โดย “คริสโตเฟอร์ ฮาว” นักวิจัยผู้คิดค้นแหล่งพลังงานดังกล่าวได้สร้างภาชนะกล่องโปร่งแสงทำจากพลาสติกและอะลูมิเนียม ขนาดเท่าถ่านแบตเตอรี่ขนาด AA และบรรจุสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Synechocystis sp. PCC 6803 เอาไว้ภายใน และตั้งแบตเตอรี่สาหร่ายนี้ไว้ที่ขอบหน้าต่างเพื่อให้เกิดการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ว่าแต่..แค่การสังเคราะห์แสงมันให้พลังงานไฟฟ้าได้ยังไง ? ตอบ : มี 2 ทฤษฎีที่น่าจะมีความเป็นไปได้คือ 1. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินผลิตอิเล็กตรอนขึ้นมาได้เองจากการสังเคราะห์แสง หรือ 2.เป็นเพราะภาชนะอะลูกมิเนียมที่ถูกบรรจุไว้มีขั้วบวก-ลบ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีและผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมา การค้นพบนี้นับว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาสตร์ จนได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Energy & Environmental Science ซึ่งพวกเขาทดลองโดยการให้มันขับเคลื่อนโปรเซสเซอร์ Arm Cortex M0+ ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ใช้คำนวณผลรวมทางคณิตศาสตร์ โดยวนเป็นรอบละ 45 นาที สแตนด์บายรอ 15 นาที และวนมาคำนวณใหม่ ในตอนแรกพวกเขาคิดว่าพลังงานที่ได้คงหายไปใน 2-3 สัปดาห์ […]
(ทำได้จริง) นี่คือ “สาหร่าย-ที่สร้างพลังงานไฟฟ้า” ให้คอมจิ๋ว 6 เดือน (โดยไม่เสียบปลั๊ก) Read More »