สิ่งแวดล้อม

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก

โพลีสไตรีน (Polystyrene) คือพลาสติกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด เช่นกล่องพลาสติก กล่องโฟม เป็นวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลและย่อยสลาย ส่วนใหญ่แล้วจะจบลงด้วยการฝังดินหรือไม่ก็ถูกทิ้งลงมหาสมุทร แต่ทว่าล่าสุดนักวิจัยพบ “หนอน” ที่สามารถกินและย่อยพลาสติกพวกนี้ได้แล้ว งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Microbial Genomics โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ค้นพบตัวอ่อนของด้วงดำ (Zophobas Morio) หรือที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์เวิร์ม” หรือ “หนอนยักษ์” (Superworm) สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ด้วยการกินพลาสติกโฟม “คริสเตียน รินกี้” ผู้นำการวิจัยทดลองแบ่งซูเปอร์เวิร์มออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว กลุ่มที่เลี้ยงด้วยพลาสติกโฟม และกลุ่มที่อดอาหารไปเลย ผลปรากฏว่า กลุ่มที่เลี้ยงด้วยโฟมสามารถเติบโตได้ดีกว่ากลุ่มที่อดอาหาร และมีโอกาสกลายเป็นดักแด้มากกว่าถึง 60% (แต่เป็นรองกลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว) นั่นหมายความว่า ซูเปอร์เวิร์มสามารถกินพลาสติกโฟมและเปลี่ยนมันเป็นพลังงานได้จริง ๆ ซึ่งแม้อาหารพลาสติกจะไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้กินอะไรเลย แต่สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้จริง ๆ คือ “เอนไซม์ในลำไส้” ของซูเปอร์เวิร์มว่าพวกมันสามารถย่อยสลายสารพลาสติกที่อึด-ถึก-ทนและย่อยยากนี้ได้อย่างไร ? แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะทำโรงงานหนอนย่อยพลาสติก แต่ต้องการศึกษาเพื่อหาทางรีไซเคิลพลาสติกต่างหาก โดยทีมวิจัยได้ใช้เทคนิดที่เรียกว่า Metagenomics ในการวิเคราะห์จุลินทรีย์ในลำไส้ และค้นหาว่าเอนไซม์ตัวไหนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว […]

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก Read More »

“หน้ากาก-กันเรอ” นวัตกรรมที่ช่วยให้วัว-เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (แต่อาจต้องใส่ตลอดชีวิต)

ขณะนี้บนโลกของเรามีการเลี้ยงวัวเพื่อปศุสัตว์ราว ๆ 1.6 พันล้านตัว ซึ่งรู้หรือไม่ว่า “การเรอและตด” ของพวกมันกำลังเป็นปัญหาต่อโลกอย่างมาก … นั่นเพราะทุกครั้งที่พวกมันเรอหรือตดจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมา ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุใหญ่สุดของปัญหาโลกร้อน (อันตรายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 84 เท่า) ด้วยเหตุนี้ Zelp บริษัท Startup สัญชาติอังกฤษ ก่อตั้งโดยสองพี่น้อง “ฟรานซิสโก และ แพทริซิโอ นอร์ริส” จึงทำการพัฒนา “หน้ากากกันเรอ” (Burp-catching mask) ที่สามารถดักจับก๊าซมีเทนที่ออกมาจากลมหายใจของวัว ช่วยให้สามารถลดปริมาณก๊าซมีเทนลงได้ถึง 60% เพราะกว่า 95% ของก๊าซมีเทนที่วัวปล่อยออกมานั้น-มาจากทางปากและจมูก (โดยตดเป็นเพียง 5%) ผู้พัฒนาจึงเลือกแก้ปัญหาที่ลมหายใจและการเรอก่อนครับ ทั้งนี้ โดยปกติการแก้ปัญหาลดก๊าซมีเทนของวัวจะอยู่ในรูปของสารเติมแต่งในอาหาร ซึ่งจะช่วยยับยั้งการผลิตก๊าซในกระเพาะวัวด้วยการเปลี่ยนกระบวนการย่อยอาหาร แม้วิธีนี้จะได้ผลแต่ก็ต้องแลกมากับการทำให้วัวได้รับสารอาหารน้อยลง แต่นวัตกรรม “หน้ากาก-กันเรอ” นี้ ช่วยให้วัวสามารถกินและย่อยอาหารได้ตามปกติ ซึ่งวิธีนี้จะมั่นใจได้ว่าวัวจะยังคงได้รับสารอาหารครบถ้วน ไม่ส่งผลต่อการผลิตเนื้อในตลาด โดยทางบริษัทยืนยันหนักแน่นอนว่า “ไม่ต้องห่วงว่ามันจะทรมาน” เพราะหน้ากากมีน้ำหนักเบา-ใช้งานง่าย-เพียงแค่สวมเข้ากับศรีษะก็ติดตั้งเสร็จสิ้น โดยแผ่นดักก๊าซจะติดอยู่เหนือรูจมูก-คอยทำหน้าที่กรองลมหายใจและเรอของวัวเข้าไป-ซึ่งแผ่นกรองจะทำปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนก๊าซมีเทนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์แทน (สามารถใส่ได้ทันทีหลังวัวหย่านมเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือนครับ) นอร์ริส (ผู้ร่วมก่อตั้ง)

“หน้ากาก-กันเรอ” นวัตกรรมที่ช่วยให้วัว-เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (แต่อาจต้องใส่ตลอดชีวิต) Read More »

Scroll to Top