สัตว์

รู้จักกับ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตลก (ที่ชีวิตจริงแสนเศร้า) และความเข้าใจผิดของเสือขาวหายาก

นี่คือเรื่องจริงของ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตลกที่เป็นดาวน์ซินโดรม กลายเป็นกระแสไวรัลบนโลกออนไลน์ ผู้คนจำนวนมากต่างเอ็นดูเจ้าเคนนี่ แต่ทว่าชีวิตจริงของเคนนี่นั้นแสนเศร้า และมีความจริงบางอย่างที่สวนสัตว์ไม่ได้บอกเรา อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังบอกว่าเราไม่ควรเพาะพันธุ์เสือขาวด้วย เมื่อช่วงต้นปี 2000 ผู้คนต่างหลงใหลรูปถ่ายของ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตาตลก ที่ทางสวนสัตว์โปรโมทว่ามันเป็นดาวน์ซินโดรม แต่ความจริงแล้วเจ้าเคนนี่ไม่ได้เป็นดาวน์ซินโดรมและไม่มีทางเป็นด้วย เพราะ “ภาวะดาวน์ซินโดรม” เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในมนุษย์เท่านั้น นั่นหมายความว่าสวนสัตว์ใช้คำว่าดาวน์ซินโดรมเพียงเพื่อดึวดูดนักท่องเที่ยวเท่านั้น แล้วความผิดปกติของเจ้าเคนนี่คืออะไร ? “ซูซาน เบส” ผู้เชี่ยวชาญจาก Big Cat Rescue (BCR) กล่าวกับ the dodo ว่า “ความผิดปกติของเคนนี่เป็นผลมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์หลายชั่วอายุเพื่อให้ลูกเสือแสดงยีนด้อยออกมา (สีขาว) ซึ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มักจะมาจากคอกเดียวกัน” อีกทั้ง สาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเราไม่ควรเพาะพันธุ์เสือขาว เพราะว่า “เสือขาวไม่ใช่สายพันธุ์ ไม่ใช่สัตว์หายาก เพียงแต่เป็นความผิดปกติตามธรรมชาติเท่านั้น” ทว่าสาเหตุที่เรายังคงเห็นเสือขาวตามสวนสัตว์ นั่นก็เพราะมันทำกำไรได้ ซึ่งลูกเสือขาวส่วนใหญ่ที่ได้มักจะร่างกายไม่แข็งแรง และอายุสั้น โดยโอกาสเกิดเสือขาวที่แข็งแรงสมบูรณ์คือ 1 ใน 30 ตัว ซึ่งส่วนมากตัวที่ไม่แข็งแรงมักจะถูกฆ่าทิ้งเพราะขายไม่ได้ โดยเจ้าเคนนี่ถือว่าโชคดี เพราะได้รับการช่วยเหลือจาก Turpentine Creek Wildlife […]

รู้จักกับ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตลก (ที่ชีวิตจริงแสนเศร้า) และความเข้าใจผิดของเสือขาวหายาก Read More »

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน

เมื่อปี 2009 เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยค้นพบฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานมีปีกดึกดำบรรพ์ (หรือที่เรียกกันว่า “เรซัวร์”) ในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี เป็นหนึ่งในสองสายพันธุ์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน มีฉายาว่า “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า “เรซัวร์” คือชื่อเรียกของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ โดยจะมีหลัก ๆ แค่ 2 กลุ่ม คือ 1. Rhamphorhynchinae และ 2. Pterodactyloids ซึ่งสามารถพบเฉพาะในซีกโลกเหนือหรือที่เรียกว่ามหาทวีปลอเรเซีย ปล. อดีตมหาทวีปแพนเจียแตกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ลอเรเซีย (เหนือ) 2.กอนด์วานา (ใต้) โดยการค้นพบนี้เป็นครั้งแรกที่พบเรซัวร์ในซีกโลกใต้ คาดว่าเป็นสมาชิกของ Rhamphorhynchinae เพราะมีขนาดเล็ก โดยปีกกว้าง 2 เมตร มีหางยาวแหลม และจะงอยปากยืนยาว พร้อมฟันแหลมคม และแม้จะพ่นไฟไม่ได้แบบในซีรีส์ หรือในนิยายที่เราคุ้นเคย แต่ลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมาก็เพียงพอให้เราเรียกมันว่า “มังกร” ได้ “โจนาธาน อัลรากอน”

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน Read More »

รู้จักกับ “Sea Cucumber” สัตว์หน้าประหลาด แต่มูลค่ามหาศาล-ฉายา “ทองคำแห่งท้องทะเล”

หลายคนอาจไม่รู้ว่า “Sea cucumber” หรือ “ปลิงทะเล” เป็นสัตว์ที่มีมูลค่ามหาศาล ที่ขายกันในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3,500 ดอลลาร์ หรือราว ๆ 130,000 บาทกันเลยทีเดียว ว่าแต่ทำไมมูลค่าของมันถึงแพงขนาดนั้น แล้วใครกันที่ยอมจ่ายเงินมหาศาลเพื่อสัตว์ทะเลหน้าแปลกชนิดนี้ เดี๋ยว Flagfrog เล่าให้ฟังครับ ก่อนอื่นมารู้จักกับปลิงทะเลกันก่อน โดยพวกมันเป็นสัตว์ไม่มีกระดุกสันหลัง มีประมาณ 1,250 สายพันธุ์ทั่วโลก มีขนาดตั้งแต่ 2 เซนติเมตร ไปจนถึงยาวสุด 1.8 เมตรเลยทีเดียว กระจายตัวอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่น้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ไปจนถึงร่องลึกสุดในมหาสมุทร โดยสายพันธุ์ที่แพง ๆ คือสายพันธุ์ที่อยู่ในน้ำลึก (ยิ่งหายากก็ยิ่งแพงนั่นเอง) ปลิงทะเลจัดว่าเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะการขับถ่ายของมันจะขับไนโตรเจน แอมโมเนีย และแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างแนวปะการัง อีกทั้งของเสียที่พวกมันปล่อยออกมายังมีค่า pH สูง ซึ่งช่วยลดความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์อีกด้วย เอาล่ะเกริ่นซะเยอะเลย มาเข้าเรื่องกันดีกว่า สำหรับสาเหตุที่ทำให้สัตว์หน้าตาประหลาดนี้มีราคาสูงลิ่วเป็นเพราะ ความนิยมในฝั่งเอเชียตะวันออกที่เชื่อว่ามีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งในอดีตมักถูกเสิร์ฟให้กับชนชั้นสูงและคนร่ำรวยมาก ๆ เท่านั้น ดังนั้นปลิงทะเลจึงถูกมองว่าเป็นอาหารล้ำค่านั่นเอง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1980

รู้จักกับ “Sea Cucumber” สัตว์หน้าประหลาด แต่มูลค่ามหาศาล-ฉายา “ทองคำแห่งท้องทะเล” Read More »

จีนประสบความสำเร็จ โคลนนิ่ง “ลูกหมาป่าอาร์กติก” (สัตว์หายาก) ตัวแรกของโลก

จากความพยายามเกือบ 2 ปีเต็ม บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของจีน ประสบความสำเร็จในการโคลิ่นนิ่ง “ลูกหมาป่าอาร์กติก” (Arctic Wolf) ครั้งแรกและตัวแรกของโลก ถูกตั้งชื่อว่า “มายา” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2022 “Sinogene Biotechnologies” เปิดเผยวิดีโอของเจ้ามายา ลูกหมาป่าอาร์กติกที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ โดยมายาเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ในกรุงปักกิ่ง จาก DNA ของ “มายา” (ตัวต้นแบบ) หมาป่าอาร์กติกที่เสียชีวิตในฮาร์บิน โพลาร์แลนด์ อุทยานสัตว์ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน  โดยมายาตัวต้นแบบถูกย้ายมาจากแคนาดาเมื่อปี 2006 และเสียชีวิตเมื่อต้นปี 2021 ด้วยวัยชรา ซึ่ง “Mi Jidong” หัวหน้าทีมของ Sinogene ระบุว่า “พวกเราใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการพยายามโคลนนิ่งเจ้ามายาขึ้นมา พวกเราเลือกใช้วิธีการถ่ายโอนนิวเคลียสของเซลล์โซมาติก (SCNT) เป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้โคลนนิ่ง ‘แกะดอลลี่’ (สัตว์โคลนนิ่งตัวแรกของโลก)” จากข้อมูลของ Global Times เผยว่า “ทีมวิจัยสกัด

จีนประสบความสำเร็จ โคลนนิ่ง “ลูกหมาป่าอาร์กติก” (สัตว์หายาก) ตัวแรกของโลก Read More »

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และน้ำแข็งที่ละลายอย่างต่อเนื่องทำให้ทีมนักธรณีวิทยาที่ทำการศึกษาธารน้ำแข็ง Gepatschferner (ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศออสเตรีย) ค้นพบซากมัมมี่ “ชามัวร์” หรือ “แพะภูเขาโบราณ” อายุ 500 ปี สุดหายาก “Martin Stocker-Waldhuber” นักวิจัยผู้ค้นพบกล่าวกับ National Geographic ว่า “สังเกตเห็นเขาของมันโผล่ขึ้นมาจากน้ำแข็งตั้งแต่ปีก่อนแล้ว (2021) แต่ว่าในตอนนั้นมันยังโผล่ออกมาไม่พอที่จะสามารถดึงออกมาได้โดยที่ซากไม่เสียหาย” โดยซากของชามัวร์นี้ถูกพบที่ความสูงกว่า 11,000 ฟุต ประมาณ 3.3 กิโลเมตร “Andrea Fischer” นักธารน้ำแข็งแห่งเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัย กล่าวว่า “ชามัวร์ตัวนี้น่าจะเสียชีวิตตอนอายุประมาณ 2 ปี ซากบริเวณศรีษะเหลือแต่กระดูก แต่ส่วนอื่น ๆ ตั้งแต่อกลงไปยังคงถูกเก็บรักษาเนื่องด้วยความเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ยังมีขนและผิวหนังอยู่ครบถ้วน” การค้นพบแบบนี้เกิดขึ้นได้ยากในเทือกเขาแอลป์ แต่เนื่องด้วยอัตราการละลายที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า อาจมีซากสิ่งมีชีวิตหายากอื่น ๆ ที่ถูกธารน้ำแข็งเก็บรักษาและซ่อนเอาไว้โผล่ออกมาให้เราได้ค้นพบอีกในอนาคตอันใกล้ Fischer กล่าวเสริมอีกว่า “มีธารน้ำแข็งราว 4,000 แห่งในเทือกเขาแอลป์ เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อที่ค้นพบซากชามัวร์ในบริเวณที่เรากำลังทำการศึกษาอยู่พอดี” โดยน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ละลายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 มาจนถึงปัจจุบัน

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ Read More »

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2020 ศูนย์รักษาพันธุ์นกฮูกซัฟโฟล์ค ของประเทศอังกฤษ ได้รับรายงานขอความช่วยเหลือว่ามีนกฮูกตัวหนึ่งบินไม่ขึ้นนอนแช่อยู่ในคูน้ำ ซึ่งหากปล่อยไว้มันต้องตายแน่ ๆ เจ้าหน้าที่จึงต้องส่งทีมงานไปช่วยเหลือ จากการรายงานของ CNN หลังจากช่วยเหลือนกฮูกตัวดังกล่าวมาแล้ว ในตอนแรกหัวหน้าทีม “ลูฟัส แซมคิน” เข้าใจว่านกฮูกอาจจะแค่ตัวเปียกทำให้ปีกหนักจนบินไม่ขึ้น แต่หลังจากตัวแห้งแล้วน้องก็ไม่ยอมบิน แซมคินก็คิดว่า เอ๊ะ หรือมันบาดเจ็บ แต่หลังจากตรวจสอบอย่างละเอียดก็ไม่พบบาดแผลใด ๆ จนกระทั่งพาไปชั่งน้ำหนักจึงรู้ว่า “อ๋อ ! น้องแค่อ้วนเกินไป” เจ้าหน้าที่ระบุว่า “นกฮูกตัวนี้หนักถึง 245 กรัม” ซึ่งหนักกว่านกฮูกทั่วไปเกือบ 3 เท่า เป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงบินไม่ขึ้น ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ “มันทำยังไงถึงอ้วนได้ขนาดนั้น ?” เพราะโดยปกติแล้ว เป็นเรื่องยากมากที่นกป่าตามธรรมชาติจะกินจนไม่สามารถบินได้แบบนี้ จากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพบว่า นกฮูกตัวนี้อาจเป็น “โรคอ้วน” (natural obesity) ประกอบช่วงเดือนก่อนหน้า อากาศอบอุ่นกว่าปกติ ทำให้แหล่งอาหารสมบูรณ์เกินไป และตามธรรมชาติของสัตว์เมื่อมีอาหารมันจะกินไม่หยุด เพื่อกักตวงให้มากที่สุด ฉะนั้นผลเลยออกมาอย่างที่เห็น แซมคิน กล่าวว่า “มันกินมากเกินไป แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับมัน

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน Read More »

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย

นักสำรวจพบซากกระดูกของสัตว์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 10 เมตร ในระหว่างเดินสำรวจชายหาดวอนบอยน์ ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคาดว่าเป็นกระดูกของวาฬ “โทนี่ แฮนด์ค็อก” ผู้ค้นพบในครั้งนี้กล่าวว่า “เราได้กลิ่นเหม็นระหว่างเดินสำรวจชายหาด และเมื่อตามกลิ่นไปก็ได้พบกับซากกระดูกขนาดใหญ่ที่น่าทึ่งนี้ มันยังคงสมบูรณ์และสดใหม่” สิ่งสำคัญที่ต้องระวังอย่างมากในการค้นพบนี้คือ ห้ามแตะต้องเด็ดขาดเนื่องจากอาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายได้ อีกทั้งการเก็บชิ้นส่วนของกระดูกที่พบไปถือเป็นการทำผิดกฎหมาย National Parks and Wildlife Service (NPWS) ระบุว่า “วาฬได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการครอบครองวาฬส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กฎหมายของรัฐและของรัฐบาลกลางถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ กระดูกวาฬมีสถานะแบบเดียวกับงาช้าง หากการครอบครองงาช้างผิดกฎหมาก กระดูกวาฬก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ ผู้คนยังคงสามารถเข้าใกล้และถ่ายรูปได้ “เกรแฮม สตับบ์” ผู็จัดการพิพิธภัณฑ์ Eden Killer Whale เผยว่า “การพบซากวาฬที่ทางตอนใต้ของออสเตรเลียนั้นไม่ค่อยแปลกเท่าไหร่ เพราะปกติจะมีซากวาฬถูกซัดเกยตื้นที่ภูมิภาคนี้เป็นประจำทุก ๆ 2 ปีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มันพิเศษคือการที่มันหลงเหลือแต่กระดูกสันหลังนี่แหละ ที่พบเจอได้ไม่บ่อยนัก” ในตอนนี้ นักวิจัยยังไม่ทราบว่า ซากกระดูกที่พบนี้เป็นของวาฬชนิดใด แต่อีกไม่นานก็น่าจะได้คำตอบเนื่องจากกระดูกยังคงมีเศษเนื้อ รวมถึงกระดูกก็มี DNA หลงเหลืออยู่เพียบ โดย “เดวิด ดอนเนลลี่”

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย Read More »

รู้จักกับ “เมนวูล์ฟ” หมาป่า-ที่ไม่ใช่หมาป่า สัตว์หายากที่ตอนนี้กำลังจะสูญพันธุ์แล้ว

นี่คือ “เมนวูล์ฟ” (Maned Wolf) หมาป่าแห่งอเมริกาใต้ แต่ถึงจะชื่อว่าหมาป่า และมีหน้าตาเหมือนสุนัขจิ้งจอกผสมกวาง แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่สัตว์ในตระกูลหมาป่าหรือสุนัขจิ้งจอกเลย โดยชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chrysocyon brachyurus มันเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในตระกูล เมนวูล์ฟเป็นสัตว์หายากและตอนนี้มันใกล้จะสูญพันธุ์แล้วครับ เมนวูล์ฟมีลักษณะเด่นคือ ขนสีส้มแดงคล้ายสุนัขจิ้งจอก ขาดำยาว และหูตั้งใหญ่ โดยมันมีความสูงประมาณ 90 เซนติเมตร หนักประมาณ 30 กิโลกรัม (ถือว่าตัวใหญ่พอสมควรเลยนะ) อาศัยอยู่ในภูมิประเทศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าดิบชื้น พื้นที่ชุ่มน้ำ สามารถพบพวกมันได้ในอเมริกาใต้ตอนกลางและตะวันออก โดยเมนวูล์ฟเป็นสัตว์ที่ออกหากินตามลำพังและเป็นสัตว์ประเภทที่สามารถกินได้ทุกอย่าง (Omnivorous Diet) แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ไม่ใช่นักล่าดุดันเหมือนหมาป่าหรือสิงโตอะไรทำนองนั้น เพราะอาหารหลักของมันคือผลไม้ หนู กระต่าย นก และแมลง ซึ่งศัตรูทางธรรมชาติของมันคือสุนัขบ้านและเสือภูเขา แต่สิ่งที่คุกคามมันมากที่สุดคือมนุษย์ การขยายตัวของเมืองทำให้ที่อยู่อาศัยของเมนวูล์ฟลดลง และมีรายงานจำนวนไม่น้อยที่พบว่าเมนวูล์ฟถูกรถชนตายในเส้นถนนตัดผ่าน อีกทั้งยังมีการล่าเมนวูล์ฟสำหรับนำไปทำเป็นยาแผนโบราณ ถึงแม้ว่าจะไม่มีงานวิจัยว่าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของเมนวูล์ฟจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคก็ตาม แต่พวกมันก็ยังคงถูกล่าต่อไป อีกทั้งชาวบราซิลพื้นเมืองบางคนเชื่อว่า ลูกตาของเมนวูล์ฟเป็นเครื่องรางนำโชคอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การล่าเมนวูล์ฟบางครั้งถูกจัดเป็นกีฬา หรือไม่ก็ล่าเพราะเกษตกรบางคนจะล่าหมาป่าและสัตว์นักล่าทุกชนิดรวมถึงเมนวูล์ฟด้วยเพราะเชื่อว่ามันเข้าไปกินสัตว์ของพวกเขา ซึ่งแม้ความจริงเมนวูล์ฟไมม่ใช่สัตว์นักล่าอย่างที่คิด รวมถึงยังมีโรคติดต่อที่ทำให้จำนวนประชากรเมนวูล์ฟลดลงด้วย ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุให้พวกมันเข้าใกล้การสูญพันธุ์เข้าไปทุกที อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความพยายามในการอนุรักษ์เมนวูล์ฟด้วยการใส่มันอยู่ในรายชื่อสัตว์คุ้มครอง

รู้จักกับ “เมนวูล์ฟ” หมาป่า-ที่ไม่ใช่หมาป่า สัตว์หายากที่ตอนนี้กำลังจะสูญพันธุ์แล้ว Read More »

นักสำรวจพบ “หมู่บ้านร้าง” ใน Arctic Circle ที่ชาวบ้านไม่ใช่มนุษย์-แต่เป็น “แก๊งหมีขั้วโลก”

เมื่อช่วงฤดูร้อนปี 2021 ช่างภาพชาวรัสเซีย “Dmitry Kokh” เดินทางสำรวจ “เกาะแรงเกิล” (Wrangle Island) เกาะห่างไกลที่อยู่ในเขต Arctic circle ทางตอนเหนือของภูมิภาคชูคอตกา ประเทศรัสเซีย โดยสิ่งที่เขาพบคือ หมู่บ้านร้างแห่งหนึ่งที่ซึ่งชาวบ้านคือ “แก๊งหมีขั้วโลก” กว่า 20 ตัว Kokh ร่องเรือไปไกลกว่า 2,000 กิโลเมตร จากเมือง Anadyr เมืองหลวงของชูคอตกา เพื่อเดินทางไปยังเกาะแรงเกิล โดยทางตอนใต้ของเกาะแรงเกิลมีเกาะเล็ก ๆ ชื่อ “Kolyuchin” ที่นั่นมีหมู่บ้านร้างที่อดีตเคยเป็นศูนย์วิจัยสภาพอากาศของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันคือที่อยู่อาศัยของหมีขั้วโลก “เกาะ Kolyuchin มีขนาดเล็กมาก คุณสามารถมองเห็นทั้งเกาะได้จากบนเรือ” Kokh กล่าวกับ Livescience สำหรับสถานีวิจัยสภาพอากาศของโซเวียตนั้นถูกทิ้งร้างไปเมื่อปี ค.ศ.1991 หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย โดยในระหว่างที่เรือของ Kokh จะเทียบท่า เขาเห็นความเคลื่อนไหวบางอย่างที่หน้าต่างของบ้านร้าง จนกระทั่งพบว่ามันคือหมีขั้วโลก “เราเห็นหมี 1 ตัว แล้วก็เห็นอีกตัว เมื่อนับไปเรื่อย ๆ จนมีหมีมากถึง

นักสำรวจพบ “หมู่บ้านร้าง” ใน Arctic Circle ที่ชาวบ้านไม่ใช่มนุษย์-แต่เป็น “แก๊งหมีขั้วโลก” Read More »

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น

เมื่อปี 2021 ระหว่างที่ “มาร์ติน กลาทซ์ และโอลิเวอร์ กลาทซ์” พี่น้องฝาแฝดนักตกปลาที่ออกไปตกปลาในทะเลสาบแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ จู่ ๆ ก็มี “ปลาดุกสีทอง” กระโดดขึ้นมาบนเรือ ซึ่งปลาดุกสีพิเศษนี้ไม่ใช่ปลาเทพ แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ! โดยปลาดุกที่ทั้งคู่พบคือ “ปลาดุกเวลส์” (Wels Catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis เป็นสายพันธุ์ปลาดุกขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบและแม่น้ำทั่วยุโรป ปลาดุกชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องขนาดมหึมา พวกมันสามารถโตได้อย่างต่ำ 2.7 เมตร หนักเกือบ 130 กิโลกรัม อ้างอิงข้อมูลจาก NOAA โดย มาร์ติน กลาทซ์ กล่าวว่า “ตลอดชีวิตการตกปลาผมเพิ่งเคยเห็นปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เป็นครั้งแรก” ปกติแล้วปลาดุกเวลส์จะมีลำตัวสีเขียวแกมดำ มีลายจุดสีเหลืองเล็กน้อย แต่ปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” (ภาวะด่าง) เป็นโรคทางพันธุกรรมหายากที่เมลานินไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้  โรคนี้จะต่างจาก “โรคผิวเผือก” (Albinism) ที่ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) ในมุมมองของมนุษย์สีทองแบบนี้ดูแปลกและสวยงาม แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมันค่อนข้างใช้ชีวิตลำบากมากและเสี่ยงอันตรายมาก

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น Read More »

Scroll to Top