วิทยาศาสตร์

“Sexsomnia มีอยู่จริง” โรคที่ผู้ป่วยละเมอมีเซ็กส์ (หรือช่วยตัวเอง) ในระหว่างหลับแบบไม่รู้ตัว

รู้หรือไม่ว่า “Sexsomnia” มีอยู่จริง ! เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่ผู้ป่วยมักแสดงพฤติกรรมทางเพศขึ้นมาระหว่างนอนหลับแบบไม่รู้ตัว ทั้งการช่วยตัวเอง ร้องคราง ถึงจุดสุดยอด หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน “Sexsomnia” บางครั้งถูกเรียกว่า “Sleep Sex” จัดอยู่ในประเภท Parasomnia ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการนอนหลับ ซึ่งอยู่เดียวกับอาการละเมอเดิน หรือละเมอพูดออกมา จากการศึกษาในปี 2018 พบว่ามีประชากรในวัยผู้ใหญ่ประมาณ 7.1% ที่ป่วยเป็นโรค Sexsomnia โดยจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง Sexsomnia เกิดขึ้นได้ยังไง ? จากรายงานการศึกษาในปี 2010 ในวารสาร Clinical Neurology and Neurosurgery ที่เขียนโดย “ดร.เร็กซ์ฟอร์ด มูซา” ระบุว่า Sexsomnia จะเกิดขึ้นในช่วงหลับลึก (deep sleep) พฤติกรรมดังกล่าวจะปรากฏออกมาเมื่อสมองถูกกระตุ้น เมื่อปี 2016 มีการศึกษาโดยการตรวจคลื่นสมอง (EEG) ของผู้ป่วย Sexsomnia พบว่า เมื่อมีอาการ sexsomnia สมองในส่วน motor […]

“Sexsomnia มีอยู่จริง” โรคที่ผู้ป่วยละเมอมีเซ็กส์ (หรือช่วยตัวเอง) ในระหว่างหลับแบบไม่รู้ตัว Read More »

นี่คือ “แบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุดในโลก” (ใหญ่กว่าปกติ 5,000 เท่า) สามาถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

นักวิจัยค้นพบ แบคทีเรียยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแบบไม่ต้องใช้กล้องจุลทัศน์เลยทีเดียว แบคทีเรียตัวนี้ชื่อ “Thiomargarita magnifica” มันมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปถึง 5,000 เท่าเลยทีเดียว “จีน-แมรี่ วอลแลนด์” นักชีววิทยาทางทะเลจากศูนย์วิจัย Complex Systems ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า มันมีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีลักษณะ ขนาดและรูปร่างคล้ายขนตามนุษย์ ซึ่งนอกจากจะใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปถึง 5,000 เท่าแล้ว เมื่อเทียบกับแบคทีเรียที่จัดว่ามีขนาดใหญ่ เจ้าแบคทีเรียตัวนี้ก็ยังใหญ่กว่าถึง 50 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น เซลล์ในแบคทีเรียยักษ์นี้ก็ยังพิเศษและซับซ้อนกว่าแบคทีเรียทั่วไป คือสารพันธุกรรมของแบคทีเรียทั่วไปจะลอยตัวอย่างอิสระอยู่ภายในเซลล์ แต่สำหรับ T.magnifica กลับบบรจุสารพันธุกรรมไว้ในถุงเมมเบรน ซึ่งปกติแล้วจะพบได้เฉพาะในพืชและสัตว์เท่านั้น โดย “โอลิเวอร์ กลอส” นักชีววิทยาทางทะเลจากประเทศฝรั่งเศส ค้นพบแบคทีเรียชนิดนี้ครั้งแรก จากการเก็บตัวอย่างน้ำในป่าชายเลนเขตร้อนในทะเล Lesser Antilles คาบสมุทรแคริบเบียน ซึ่งในตอนแรกพวกเขาเข้าใจว่ามันเป็นสัตว์จำพวกพยาธิชนิดหนึ่ง แต่เมื่อหลายปีต่อมาเริ่มมีการศึกษาจริงจังมากขึ้น จึงทราบว่ามันคือแบคทีเรีย ก่อนหน้านี้ มีทฤษฎีเกี่ยวกับสาเหตุที่แบคทีเรียมีขนาดเล็กจิ๋วจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าระบุว่า “เซลล์แบคทีเรียนั้นไม่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นตัวจำกัดขนาดของเซลล์” กล่าวคือ เมื่อร่างกายมีความเรียบง่าย ไม่มีอวัยวะมากมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จพต้องมีขนาดใหญ่โตเมื่อสิ่งมีชีวิตอื่น

นี่คือ “แบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุดในโลก” (ใหญ่กว่าปกติ 5,000 เท่า) สามาถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Read More »

“ระวังถูกขโมย DNA” หลังเทคโนโลยีใหม่สามารถให้กำเนิดลูกจาก DNA เส้นผมได้

DNA ของคุณอาจไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีผู้คนจำนวนไม่น้อยถูกขโมย DNA ผ่านข้าวของเครื่องใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น หมากฝรั่ง กระดาษทิชชู่ที่ใช้แล้ว เศษอาหารที่เหลือบนจาน เส้นผม เล็บ น้ำลาย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นร่องรอย DNA ของคุณไว้ และสามารถถูกดึงออกมาใช้ในทางที่เสียหายได้ ความกังวลเรื่องความปลอดภัย DNA ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในหมู่ของดาราคนดัง บุคคลสาธารณะ คนสำคัญของประเทศ ดังเช่นกรณีของประธานาธิบดีฝรั่งเศส “เอ็มมานูเอล มาครง” ปฏิเสธการตรวจ PCR โควิด-19 ของรัฐบาลรัสเซีย เพราะเกรงว่ารัสเซียอาจนำ DNA ของเขาไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ รวมถึงนายกรัฐมนตรีเยอรมัน “โอลัฟ ช็อลทซ์” ก็ปฏิเสธการตรวจ PCR เช่นเดียวกัน  ซึ่งความกังวลเรื่องความปลอดภัยของ DNA อาจดูใหม่ แต่ “มาดอนนา” นักร้องชื่อดังกังวลเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว เธอจะจ้างทีมทำความสะอาดฆ่าเชื้อในห้องแต่งตัวของเธอทุกครั้งหลังจบคอนเสิร์ต และต้องมีห้องน้ำส่วนตัวทุกครั้ง จนเคยถูกกล่าวหาว่าเป็นโรค “หวาดระแวงดีเอ็นเอ” (DNA paranoid) แต่เมื่อเทคโนโลยีเกี่ยวกับพันธุกรรมพัฒนามากขึ้น ทำให้ความหวาดระแวงของเธอเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แล้ว DNA ที่ถูกขโมยไปอันตรายอย่างไร

“ระวังถูกขโมย DNA” หลังเทคโนโลยีใหม่สามารถให้กำเนิดลูกจาก DNA เส้นผมได้ Read More »

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก

โพลีสไตรีน (Polystyrene) คือพลาสติกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด เช่นกล่องพลาสติก กล่องโฟม เป็นวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลและย่อยสลาย ส่วนใหญ่แล้วจะจบลงด้วยการฝังดินหรือไม่ก็ถูกทิ้งลงมหาสมุทร แต่ทว่าล่าสุดนักวิจัยพบ “หนอน” ที่สามารถกินและย่อยพลาสติกพวกนี้ได้แล้ว งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Microbial Genomics โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ค้นพบตัวอ่อนของด้วงดำ (Zophobas Morio) หรือที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์เวิร์ม” หรือ “หนอนยักษ์” (Superworm) สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ด้วยการกินพลาสติกโฟม “คริสเตียน รินกี้” ผู้นำการวิจัยทดลองแบ่งซูเปอร์เวิร์มออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว กลุ่มที่เลี้ยงด้วยพลาสติกโฟม และกลุ่มที่อดอาหารไปเลย ผลปรากฏว่า กลุ่มที่เลี้ยงด้วยโฟมสามารถเติบโตได้ดีกว่ากลุ่มที่อดอาหาร และมีโอกาสกลายเป็นดักแด้มากกว่าถึง 60% (แต่เป็นรองกลุ่มที่เลี้ยงด้วยรำข้าว) นั่นหมายความว่า ซูเปอร์เวิร์มสามารถกินพลาสติกโฟมและเปลี่ยนมันเป็นพลังงานได้จริง ๆ ซึ่งแม้อาหารพลาสติกจะไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้กินอะไรเลย แต่สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้จริง ๆ คือ “เอนไซม์ในลำไส้” ของซูเปอร์เวิร์มว่าพวกมันสามารถย่อยสลายสารพลาสติกที่อึด-ถึก-ทนและย่อยยากนี้ได้อย่างไร ? แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะทำโรงงานหนอนย่อยพลาสติก แต่ต้องการศึกษาเพื่อหาทางรีไซเคิลพลาสติกต่างหาก โดยทีมวิจัยได้ใช้เทคนิดที่เรียกว่า Metagenomics ในการวิเคราะห์จุลินทรีย์ในลำไส้ และค้นหาว่าเอนไซม์ตัวไหนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว

สิ่งที่เจ๋งกว่า “หนอนยักษ์-กินพลาสติก” คือการศึกษาลำไส้ของมันเพื่อช่วยโลก Read More »

Scroll to Top