รัสเซีย

นักสำรวจพบ “หมู่บ้านร้าง” ใน Arctic Circle ที่ชาวบ้านไม่ใช่มนุษย์-แต่เป็น “แก๊งหมีขั้วโลก”

เมื่อช่วงฤดูร้อนปี 2021 ช่างภาพชาวรัสเซีย “Dmitry Kokh” เดินทางสำรวจ “เกาะแรงเกิล” (Wrangle Island) เกาะห่างไกลที่อยู่ในเขต Arctic circle ทางตอนเหนือของภูมิภาคชูคอตกา ประเทศรัสเซีย โดยสิ่งที่เขาพบคือ หมู่บ้านร้างแห่งหนึ่งที่ซึ่งชาวบ้านคือ “แก๊งหมีขั้วโลก” กว่า 20 ตัว Kokh ร่องเรือไปไกลกว่า 2,000 กิโลเมตร จากเมือง Anadyr เมืองหลวงของชูคอตกา เพื่อเดินทางไปยังเกาะแรงเกิล โดยทางตอนใต้ของเกาะแรงเกิลมีเกาะเล็ก ๆ ชื่อ “Kolyuchin” ที่นั่นมีหมู่บ้านร้างที่อดีตเคยเป็นศูนย์วิจัยสภาพอากาศของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันคือที่อยู่อาศัยของหมีขั้วโลก “เกาะ Kolyuchin มีขนาดเล็กมาก คุณสามารถมองเห็นทั้งเกาะได้จากบนเรือ” Kokh กล่าวกับ Livescience สำหรับสถานีวิจัยสภาพอากาศของโซเวียตนั้นถูกทิ้งร้างไปเมื่อปี ค.ศ.1991 หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย โดยในระหว่างที่เรือของ Kokh จะเทียบท่า เขาเห็นความเคลื่อนไหวบางอย่างที่หน้าต่างของบ้านร้าง จนกระทั่งพบว่ามันคือหมีขั้วโลก “เราเห็นหมี 1 ตัว แล้วก็เห็นอีกตัว เมื่อนับไปเรื่อย ๆ จนมีหมีมากถึง […]

นักสำรวจพบ “หมู่บ้านร้าง” ใน Arctic Circle ที่ชาวบ้านไม่ใช่มนุษย์-แต่เป็น “แก๊งหมีขั้วโลก” Read More »

รู้จักกับ “Mirny Mine” หลุมเพชรใหญ่ที่สุดในโลก (ลึก 500 เมตร) มีแรงดึงดูดให้เฮลิคอปเตอร์ตกได้

เหมืองเมียร์นี่ (Mirny Mine) นับว่าเป็นหลุมที่ใหญ่ที่สุดที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ แต่นอกเหนือจากที่มันจะเป็นเหมืองเพชรอันล้ำค่าแห่งหนึ่งของโลกแล้ว มันยังแฝงด้วยเรื่องราวพิศวงที่ว่ากันว่า เหมืองยักษ์แห่งนี้สามารถดูดเฮลิคอปเตอร์ที่บินผ่านให้ตกได้ด้วย !   จุดเริ่มต้นของเหมืองแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1955 ทีมธรณีวิทยาแห่งสหภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน ค้นพบว่าบริเวณแถบไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแร่คิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) ซึ่งเป็นแร่ที่เกิดขึ้นจากการเย็นตัวลงของแม็กม่าที่สามารถถลุงออกมาให้กลายเป็นเพชรได้ และด้วยความที่เป็นแร่หายากมีค่ามหาศาล ส่งผลให้ทีมธรณีวิทยาที่ค้นพบได้รับรางวัลเลนิน ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติชิ้นหนึ่งในสหภาพโซเวียตเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวสหภาพโซเวียตยังได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้การดำเนินการเพื่อสร้างเหมืองเมียร์นี่เป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่มีน้อย เนื่องจากประชากรในประเทศลดลงหลังสงครามโลกสิ้นสุด จนถึงสภาพแวดล้อมในแถบไซบีเรียที่ไม่เอื้ออำนวยในการขุดเหมืองเอาเสียเลย โดยพื้นที่ในแถบไซบีเรียเป็นที่ทราบกันว่ามีสภาพอากาศแบบสุดขั้วแห่งหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้ ช่วงฤดูหนาวอันแสนยาวนานบางครั้งทำให้อากาศลดต่ำลงถึง -40 องศาเซลเซียส รถขุดเจาะไม่สามารถทำงานได้ในอากาศเย็นจัด (ยางและเหล็กที่แข็งตัวทำให้เปราะแตกได้ง่าย) หรือจะเป็นชั้นดินเยือกแข็งเรียกว่า เพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ซึ่งต้องใช้ระเบิดหรือเครื่องขุดเจาะกำลังสูง อย่างไรก็ตาม แม้การสร้างเหมืองเมียร์นี่จะยากลำบากมาก แต่มันก็ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าเพราะมันสร้างรายได้ให้กับสหภาพโซเวียตได้อย่างมหาศาล อย่างในปี ค.ศ.1960 แร่คิมเบอร์ไลต์ที่ขุดได้สามารถถลุงออกมาเป็นเพชรมากถึง 2 ล้านกะรัต ! และเมื่อคำนวณรายได้ตั้งแต่เหมืองเริ่มเปิดทำการก็จะอยู่ที่ราว ๆ 1.3 หมื่นล้านปอนด์ หรือประมาณ 4.4 แสนล้านบาทครับ ส่วนเรื่องเล่าที่ว่าเหมืองเมียร์นี่ดูดเฮลิคอปเตอร์นั้นมีคำอธิบายอยู่ว่า เหมืองนี้มีความลึกถึง 525

รู้จักกับ “Mirny Mine” หลุมเพชรใหญ่ที่สุดในโลก (ลึก 500 เมตร) มีแรงดึงดูดให้เฮลิคอปเตอร์ตกได้ Read More »

(เหตุการณ์จริง) เมื่อนักวิจัยต้องทิ้ง “ฐานทดลอง” ขั้วโลก เพื่อรอดจากน้ำแข็งละลายฉับพลัน

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.2019 นักวิจัยจากสถาบัน Roshydromet (“โรซายโดเมท”) ของรัสเซีย ที่ได้ตั้งฐานวิจัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็งในแถบอาร์กติก (หรือขั้วโลกเหนือ) ต้องทำการอพยพคนออกจากสถานีโดยด่วน เนื่องจากพบว่า พื้นผิวน้ำแข็งในบริเวณนั้นเริ่มละลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการอพยพครั้งนี้ ถูกประกาศอย่างเร่งด่วนจากทีมเฝ้าระวังว่า “ต้องเสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมง” มิเช่นนั้นอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ (ทั้งนี้ ภาพประกอบบทความทั้งหมด-รวมถึงภาพหน้าปก คือภาพจากเหตุการณ์จริงเมื่อปี 2015 ซึ่งมีเนื้อหาอยู่ด้านล่าง เนื่องจากเหตุการณ์ล่าสุด 2019 ทีมงานรีบอพยพจึงอาจทำให้ไม่มีเวลาถ่ายภาพ – หรืออาจมีแต่เราหาไม่เจอจริง ๆ ครับ) กลับมาที่เหตุการณ์ปี 2019 – ทีมวิจัยดังกล่าวได้ตั้งสถานีวิจัย ณ บริเวณนั้นได้เพียง 1 เดือน เพื่อทำการศึกษาค่ามลพิษที่เพิ่มสูงขึ้นของบริเวณขั้วโลกเหนือ แต่โชคดีที่ได้แบ่งหน้าที่คอยสังเกตร่องที่เกิดการแตกของพื้นน้ำแข็ง-จึงทำให้เห็นถึงการละลายอย่างชัดเจนอยู่ก่อนแล้ว โดยการแจ้งเตือนเกิดขึ้นกระทันหัน-เพราะจู่ ๆ แผ่นน้ำแข็งก็เกิดการละลายพร้อมทั้งแตกออกจากกันอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งนักวิจัยยอมรับว่า งานที่พวกเขาทำนั้นมีความเสี่ยงสูง เพราะจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้พวกเขาไม่สามารถหาแผ่นน้ำแข็ง-ที่มีความแข็งแรงมากพอที่จะลอยตัวได้จริง ๆ (และจนถึงตอนนี้ อัพเดต:2021 ก็ยังไม่สามารถหาที่ตั้งสำหรับสถานีวิจัยใหม่ได้) และการหนีเอาชีวิตรอดในครั้งนี้ก็ไม่ใช่เหตุกาณ์แรกที่เคยเกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ปี

(เหตุการณ์จริง) เมื่อนักวิจัยต้องทิ้ง “ฐานทดลอง” ขั้วโลก เพื่อรอดจากน้ำแข็งละลายฉับพลัน Read More »

Scroll to Top