มหาสมุทร

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร

นักวิจัยสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทรบนโลก พบว่ามีจำนวนมากถึง 1 พันล้านชนิด จากเดิมที่เคยเข้าใจว่ามี 20,000 ชนิด ซึ่งหากมัดรวมกันคาดว่าอาจมีน้ำหนักมากกว่าช้างแอฟริกัน 2 แสนล้านตัว ! ว่าแต่..การค้นพบนี้สำคัญอย่างไร ? เดี๋ยวเราเล่าให้ฟังครับ ในการสำรวจนี้มีนักวิจัยกว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมงาน International Census of Marine Microbes (ICoMM) เพื่อร่วมมือกันสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทร ถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว การค้นพบความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัฏจักรคาร์บอน ซึ่งจุลินทรีย์ที่หลากหลายนี้เชื่อมโยงกับพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารบนโลก ไม่เพียงแต่ในทะเลเท่านั้น แต่รวมถึงห่วงโซ่บนพื้นดินด้วย ถึงจะบอกว่าเป็นกองทัพจุลินทรีย์ที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งอาจฟังดูน่ากลัวแต่มันไม่ได้เตรียมตัวโจมตีพวกเรานะครับ ทว่าเหล่าจุลินทรีย์พวกนี้ทำหน้าที่เป็นลมหายใจของโลก ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนมันออกซิเจน รวมถึงแร่ธาตุที่สำคัญอื่น ๆ กลับสู่พื้นดิน และวนเข้าสู่วัฏจักรสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก “จอห์น บารอส” ประธานสภาที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ ICoMM จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า “มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ประมาณ 50-90 เปอร์เซนต์ […]

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร Read More »

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยไมอามี-ค้นพบ “สระน้ำมรณะ” (Death Pool) ที่ใต้ก้นทะเลแดง (Red Sea) เป็นสระน้ำเกลือขนาดยาว 3 เมตร ที่ปราศจากออกซิเจนและระดับความเค็มที่สูงจนเป็นอันตราย หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์ซาลีน” (hypersaline) สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เผลอลงไปในสระมรณะนี้ได้ ทีมวิจัยค้นพบสระมรณะนี้ในปี 2020 ที่ระดับความลึก 1,770 เมตร ในอ่าวอควาบา ทะเลแดง ด้วยการใช้หุ่นยนต์สำรวจควบคุมระยะไกล (ROV) ภายใต้โครงการ OceanXplorer ถูกตั้งชื่อว่า “NEOM Brine Pools” โดยศาสตราจารย์ “แซม เพอร์คิส” ผู้นำทีมวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า “นอกจากมันจะไม่มีออกซิเจน มันยีงมีสารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เป็นพิษอีกด้วย” สิ่งที่น่าสนใจนอกจากความน่าสะพรึงของมันก็คือ สภาพแวดล้อมของสระมรณะนี้ที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยนับตั้งแต่มันก่อตัวขึ้นมา นั่นหมายความว่านี่เป็นเสมือนสมุดบันทึกที่สามารถช่วยให้นักวิจัยเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาจจะตั้งแต่เมื่อหลายพันจนถึงหลายล้านปีก่อน และอาจให้ความกระจ่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกเลยก็เป็นได้ เฮ้ย ! ไม่เว่อไปหน่อยหรอ ? แอ่งน้ำเค็มนี้มันจะเปิดเผยข้อมูลโลกขนาดนั้นเลยหรอ ? โดยเพอร์คิสให้คำตอบว่า “ความเข้าใจในปัจจุบันของเราคือสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจากมหาสมุทร ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเหมือนกัน ซึ่งหากเป็นไปตามทฤษฎีสระมรณะนี้อาจจะจำลองสภาพทะเลในโลกยุคแรกก็เป็นได้” นอกจากนี้ ยังพบจุลินทรีย์ชื่อ“Extremophile” ซึ่งไม่แน่ว่ามันอาจทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกก็ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้สระมรณะแห่งนี้คงสภาพไว้ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือความอันตรายของมันนั่นแหละ

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้ Read More »

ในที่สุดก็พบ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” สัตว์หายากระดับ Ultra Rare ณ เขต Midnight Zone

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (2021) นักวิจัยจากศูนย์วิจัย MBARI ออกสำรวจนอกชายฝั่งอ่าวมอนเทอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และพบกับสิ่งมีชีวิตหายากระดับ Ultra Rare คือ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” (Giant Phantom Jellyfish) หรือฉายา “ผียักษ์ใต้ทะเล” ทีมวิจัยพบ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” ที่ใต้ทะเลลึก 1,000 เมตร ณ จุดที่เรียกว่า Midnight Zone โดยใช้ Doc Ricketts หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำ (ROV) ซึ่งตัวที่พบมีขนาดใหญ่มาก ความยาวถึง 10 เมตร ! (ถ้านึกไม่ออกว่ามันใหญ่แค่ไหน ให้ลองนึกภาพแมงกะพรุนยาวเท่ารถเมย์) และสาเหตุที่เราเรียกมันว่าผียักษ์ใต้ทะเล คือนอกจากขนาดตัวมหึมาแล้ว มันยังมีสีดำและหนวดที่ราวกับสวมผ้าพันคอพริวไหว ดูน่าขนลุกและสวยงามในเวลาเดียวกัน โดย “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1899 และจากการสำรวจนับพันครั้งของ MBARI เผยว่าพบแมงกะพรุนแพนธอมยักษ์ เพียง 9 ครั้งเท่านั้น และตลอดระยะเวลากว่า 122 ปี นับตั้งแต่การค้นพบครั้งแรก

ในที่สุดก็พบ “แมงกะพรุนแฟนธอมยักษ์” สัตว์หายากระดับ Ultra Rare ณ เขต Midnight Zone Read More »

Scroll to Top