ฟอสซิลไดโนเสาร์

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน

เมื่อปี 2009 เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยค้นพบฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานมีปีกดึกดำบรรพ์ (หรือที่เรียกกันว่า “เรซัวร์”) ในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี เป็นหนึ่งในสองสายพันธุ์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน มีฉายาว่า “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า “เรซัวร์” คือชื่อเรียกของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ โดยจะมีหลัก ๆ แค่ 2 กลุ่ม คือ 1. Rhamphorhynchinae และ 2. Pterodactyloids ซึ่งสามารถพบเฉพาะในซีกโลกเหนือหรือที่เรียกว่ามหาทวีปลอเรเซีย ปล. อดีตมหาทวีปแพนเจียแตกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ลอเรเซีย (เหนือ) 2.กอนด์วานา (ใต้) โดยการค้นพบนี้เป็นครั้งแรกที่พบเรซัวร์ในซีกโลกใต้ คาดว่าเป็นสมาชิกของ Rhamphorhynchinae เพราะมีขนาดเล็ก โดยปีกกว้าง 2 เมตร มีหางยาวแหลม และจะงอยปากยืนยาว พร้อมฟันแหลมคม และแม้จะพ่นไฟไม่ได้แบบในซีรีส์ หรือในนิยายที่เราคุ้นเคย แต่ลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมาก็เพียงพอให้เราเรียกมันว่า “มังกร” ได้ “โจนาธาน อัลรากอน” […]

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน Read More »

ค้นพบฟอสซิล “สัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล” (ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ – อยู่บนโลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน)

ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์จากยุค Triassic กลาง ที่เคยอยู่บนโลกเมื่อ 247-237 ล้านปีก่อน ณ หุบเขา Augusta Mountains ในเนวาดา สหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่แค่เฉพาะกะโหลกอย่างเดียวก็ยาวกว่า 2 เมตรแล้ว โดยฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ตัวดังกล่าวเป็น “อิกไทโอซอร์” (Ichthyosaur) สายพันธุ์ใหม่ถูกตั้งชื่อว่า “Cymbospondylus Youngorum” (อ่านว่า ซิม–โบ–สะ–ปอน–ได–รัส/โย–อัน–โก–รัม) เป็นสัตว์ขนาดยักษ์ที่มีความยาวถึง 18 เมตร (ใหญ่พอ ๆ กับวาฬสเปิร์ม) ซึ่งการค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันช่วยให้เราเข้าใจถึงการวิวัฒนาการของอิกไทโอซอร์มากขึ้น  ดร.มาร์ติน แซนเดอร์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยบอนน์ กล่าวว่า “ในตอนแรกการค้นพบนี้นักวิจัยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก เนื่องจากพบเพียงแค่ชิ้นส่วนกระดูกสันหลังเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น แต่การค้นพบกระดูกสันหลังในทางกายวิภาคนั้น เป็นไปได้ว่าส่วนหัวสัตว์ตัวดังกล่าวต้องอยู่ใกล้ ๆ กันแน่นอน ทีมนักบรรพชีวินจึงพยายามขุดต่อไปจนพบกับกะโหลกศรีษะ ขาหน้าและหน้าอก จนได้ทราบว่ามันเป็นอิกไทโอซอร์สายพันธุ์ใหม่นั่นเอง” จากโครงสร้างฟอสซิลบริเวณกะโลหกเผยให้เห็นว่ามันมีปากยื่นยาวและฟันแหลมคม บ่งบอกว่า C. Youngorum เป็นสัตว์นักล่าที่กินเนื้อเป็นอาหารและมันอาจมีนิสัยดุร้ายด้วย ดร.เอวา มาเรีย กรีเบลา จากมหาวิทยาลัยไมนซ์ในเยอรมนี ได้สร้างแบบจำลองสภาพแวดล้อมในสมัยโบราณขึ้นมา เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการกิน

ค้นพบฟอสซิล “สัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล” (ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ – อยู่บนโลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน) Read More »

Scroll to Top