ปลาดุก

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น

เมื่อปี 2021 ระหว่างที่ “มาร์ติน กลาทซ์ และโอลิเวอร์ กลาทซ์” พี่น้องฝาแฝดนักตกปลาที่ออกไปตกปลาในทะเลสาบแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ จู่ ๆ ก็มี “ปลาดุกสีทอง” กระโดดขึ้นมาบนเรือ ซึ่งปลาดุกสีพิเศษนี้ไม่ใช่ปลาเทพ แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ! โดยปลาดุกที่ทั้งคู่พบคือ “ปลาดุกเวลส์” (Wels Catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis เป็นสายพันธุ์ปลาดุกขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบและแม่น้ำทั่วยุโรป ปลาดุกชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องขนาดมหึมา พวกมันสามารถโตได้อย่างต่ำ 2.7 เมตร หนักเกือบ 130 กิโลกรัม อ้างอิงข้อมูลจาก NOAA โดย มาร์ติน กลาทซ์ กล่าวว่า “ตลอดชีวิตการตกปลาผมเพิ่งเคยเห็นปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เป็นครั้งแรก” ปกติแล้วปลาดุกเวลส์จะมีลำตัวสีเขียวแกมดำ มีลายจุดสีเหลืองเล็กน้อย แต่ปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” (ภาวะด่าง) เป็นโรคทางพันธุกรรมหายากที่เมลานินไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้  โรคนี้จะต่างจาก “โรคผิวเผือก” (Albinism) ที่ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) ในมุมมองของมนุษย์สีทองแบบนี้ดูแปลกและสวยงาม แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมันค่อนข้างใช้ชีวิตลำบากมากและเสี่ยงอันตรายมาก […]

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น Read More »

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น

เมื่อปี 2021 ระหว่างที่ “มาร์ติน กลาทซ์ และโอลิเวอร์ กลาทซ์” พี่น้องฝาแฝดนักตกปลาที่ออกไปตกปลาในทะเลสาบแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ จู่ ๆ ก็มี “ปลาดุกสีทอง” กระโดดขึ้นมาบนเรือ ซึ่งปลาดุกสีพิเศษนี้ไม่ใช่ปลาเทพ แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ! โดยปลาดุกที่ทั้งคู่พบคือ “ปลาดุกเวลส์” (Wels Catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis เป็นสายพันธุ์ปลาดุกขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบและแม่น้ำทั่วยุโรป ปลาดุกชนิดนี้ขึ้นชื่อเรื่องขนาดมหึมา พวกมันสามารถโตได้อย่างต่ำ 2.7 เมตร หนักเกือบ 130 กิโลกรัม อ้างอิงข้อมูลจาก NOAA โดย มาร์ติน กลาทซ์ กล่าวว่า “ตลอดชีวิตการตกปลาผมเพิ่งเคยเห็นปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เป็นครั้งแรก” ปกติแล้วปลาดุกเวลส์จะมีลำตัวสีเขียวแกมดำ มีลายจุดสีเหลืองเล็กน้อย แต่ปลาดุกเวลส์สีทองแบบนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” (ภาวะด่าง) เป็นโรคทางพันธุกรรมหายากที่เมลานินไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้  โรคนี้จะต่างจาก “โรคผิวเผือก” (Albinism) ที่ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) ในมุมมองของมนุษย์สีทองแบบนี้ดูแปลกและสวยงาม แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมันค่อนข้างใช้ชีวิตลำบากมากและเสี่ยงอันตรายมาก

(หายาก) นักตกปลาบังเอิญพบ “ปลาสีทอง” ขนาดใหญ่ มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน แสนตัวเท่านั้น Read More »

นี่ไม่ใช่ปลาจาก Stranger Things แต่มันคือ “ปลาที่เกิดมา-เพื่อต้องว่ายกลับหัวไปตลอดชีวิต”

นี่ไม่ใช่โลก upside down ใน Stranger Things แต่มันคือ “ปลาดุกกลับหัว” (Upside-down Catfish) ที่จะว่ายน้ำแบบนี้ไปตลอดชีวิต มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำคองโก แถมเป็นที่รู้จักของชาวอียิปต์มานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ทว่ามันว่ายกลับหัวแบบนี้ได้ยังไง และทำไปเพื่ออะไร เดี๋ยวเราเล่าให้ฟังครับ ก่อนอื่นต้องรู้จักกับอวัยวะปลาที่เรียกว่า “Swim Bladder” เป็นถุงลมเก็บอากาศสำหรับช่วยให้ปลาลอยตัวขึ้นหรือจมลง หากต้องการลอยตัวขึ้นปลาก็กลืนอากาศเข้าไปหรือต้องการจมลงปลาจะปล่อยอากาศในถุงลมนี้ออกมา (คล้ายกับเครื่อง BCD ที่นักดำน้ำใช้) ซึ่งอวัยวะนี้จะช่วยประหยัดพลังงานในการว่ายน้ำ อยู่บริเวณพุงใต้จุดศูนย์กลางมวล (Centre of mass) โดยปกติแล้วปลาส่วนใหญ่จะใช้ครีบข้างในการพยุงตัวให้ไม่กลับหัว ซึ่งจะสังเกตได้ว่าปลาส่วนใหญ่ที่ป่วยหรือตายจะว่ายตะแคงข้างไม่ก็กลับหัว เพราะมันไม่สามารถพยุงร่างกายได้นั่นเอง แต่สำหรับปลาดุกกลับหัวการว่ายกลับหัวแบบนี้เป็นเรื่องปกติและสบายดี แล้วมันจะว่ายกลับหัวแบบนี้ทำไมล่ะ ? ต้องยอมรับว่าไม่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจน แต่มีทฤษฎีที่มีความเป็นไปได้คือ “เพื่อให้หาอาหารง่ายขึ้น” เพราะพวกมันจะกินหญ้า-ตะไคร่น้ำที่อยู่ใต้กิ่งไม้หรือท่อนซุง อีกทั้งยังหายใจเอาออกซิเจนบริเวณผิวน้ำง่ายขึ้นด้วย ความสามารถดังกล่าว เชื่อมโยงกับภาวะขาดออกซิเจนที่เกิดขึ้นได้บ่อยในแม่น้ำแอฟริกา โดย “ลอเรน แชปแมน” ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ที่ศึกษาปลาดุกกลับหัวมานานกว่า 20 ปี ทำการทดลองในภาวะออกซิเจนต่ำ พบว่าปลาดุกทั่วไปว่ายน้ำลำบากขึ้น ขนาดเหงือกใหญ่ขึ้น วางไข่น้อยลง ในขณะที่ปลาดุกกลับหัวใช้ชีวิตอย่างปกติและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด

นี่ไม่ใช่ปลาจาก Stranger Things แต่มันคือ “ปลาที่เกิดมา-เพื่อต้องว่ายกลับหัวไปตลอดชีวิต” Read More »

Scroll to Top