รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า”

การ์ไจอาเนียร์ (Garjainia) สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อราว 250 ล้านปีก่อน (ในยุคไทรแอสสิค – ก่อนยุคจูราสสิค) แต่ความโหดและความตะกละของมัน มีความเป็นไปได้สูงมากว่า มันกินได้ทุกอย่างแม้แต่ “พวกเดียวกันเอง” การ์ไจอาเนียร์ อยู่ในตระกูล erythrosuchid ซึ่งแปลว่า “จระเข้แดง” มีการขุดพบฟอสซิลของมันครั้งแรกที่รัสเซียเมื่อปี ค.ศ.1950 และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vjushkovia triplicostata จากนั้นในเวลาต่อมาได้ถูกค้นพบอีกครั้งที่แอฟริกาใต้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นสายพันธุ์ต่างกัน จึงได้รับการตั้งชื่อว่า Garjainia prima   ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สัตว์กินเนื้อยุคโบราณชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับมังกรโคโมโด และจระเข้แม่น้ำไนล์ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้มันจะไม่ใช่นักล่าที่มีขนาดตัวใหญ่มากนัก (ความยาวไม่ถึง 3 เมตร) แต่ส่วนหัวของมันมีความยาวถึง 1 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับหัวของทีเร็กซ์เลยทีเดียว    ริชาร์ด บัตเลอร์ นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า – “พวกมันมีส่วนหัวที่ใหญ่แบบแปลกประหลาดมาก ซึ่งยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่คิดว่าอาจเชื่อมโยงกับบทบาทของพวกมันในฐานะนักล่าแถวหน้าในระบบนิเวศของยุคนั้น โดยขากรรไกรที่ใหญ่และทรงพลัง พร้อมทั้งฟันขนาดใหญ่ที่คมแบบมีดหั่นสเต๊ก จึงทำให้การล่าเหยื่อแต่ละครั้งมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง” บัตเลอร์กล่าวเสริมว่า พวก “จระเข้แดง” […]

รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า” Read More »