นก

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2020 ศูนย์รักษาพันธุ์นกฮูกซัฟโฟล์ค ของประเทศอังกฤษ ได้รับรายงานขอความช่วยเหลือว่ามีนกฮูกตัวหนึ่งบินไม่ขึ้นนอนแช่อยู่ในคูน้ำ ซึ่งหากปล่อยไว้มันต้องตายแน่ ๆ เจ้าหน้าที่จึงต้องส่งทีมงานไปช่วยเหลือ จากการรายงานของ CNN หลังจากช่วยเหลือนกฮูกตัวดังกล่าวมาแล้ว ในตอนแรกหัวหน้าทีม “ลูฟัส แซมคิน” เข้าใจว่านกฮูกอาจจะแค่ตัวเปียกทำให้ปีกหนักจนบินไม่ขึ้น แต่หลังจากตัวแห้งแล้วน้องก็ไม่ยอมบิน แซมคินก็คิดว่า เอ๊ะ หรือมันบาดเจ็บ แต่หลังจากตรวจสอบอย่างละเอียดก็ไม่พบบาดแผลใด ๆ จนกระทั่งพาไปชั่งน้ำหนักจึงรู้ว่า “อ๋อ ! น้องแค่อ้วนเกินไป” เจ้าหน้าที่ระบุว่า “นกฮูกตัวนี้หนักถึง 245 กรัม” ซึ่งหนักกว่านกฮูกทั่วไปเกือบ 3 เท่า เป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงบินไม่ขึ้น ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ “มันทำยังไงถึงอ้วนได้ขนาดนั้น ?” เพราะโดยปกติแล้ว เป็นเรื่องยากมากที่นกป่าตามธรรมชาติจะกินจนไม่สามารถบินได้แบบนี้ จากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพบว่า นกฮูกตัวนี้อาจเป็น “โรคอ้วน” (natural obesity) ประกอบช่วงเดือนก่อนหน้า อากาศอบอุ่นกว่าปกติ ทำให้แหล่งอาหารสมบูรณ์เกินไป และตามธรรมชาติของสัตว์เมื่อมีอาหารมันจะกินไม่หยุด เพื่อกักตวงให้มากที่สุด ฉะนั้นผลเลยออกมาอย่างที่เห็น แซมคิน กล่าวว่า “มันกินมากเกินไป แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับมัน […]

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน Read More »

รู้จัก “นกขนรุ้ง” (Sunbeam) ที่สวย-ห้าว-และไม่ชอบซ่อนรูป มีของดีแบบนี้ต้องโชว์สิคะ

“นกขนรุ้ง” (Shining sunbeam) เป็นหนึ่งในตระกูลนกฮัมมิงเบิร์ด (Hummingbird) ที่แม้ลำตัวจะมีสีน้ำตาลธรรมดาทั่วไป แต่บริเวณขนด้านหลังของมันจะ “ประกายแสงสีรุ้งสวยงาม” โดยมันเป็นฮัมมิงเบิร์ดสายพันธุ์เดียวที่มีขนสีรุ้งแบบนี้ (ทั้งนี้ ฮัมมิงเบิร์ดคือสายพันธุ์นกที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก บินถอยหลังได้ แล้วก็กินน้ำหวานจากดอกไม้ได้ด้วย) “เจ้าซันบีม” เป็นนกขนาดจิ๋วที่มีขนาดความยาวลำตัวเพียง 12-13 เซนติเมตรเท่านั้น (หรือเทียบเท่านิ้วหัวแม่มือของคนเราแค่นั้นเอง) มีน้ำหนักราว 7-8 กรัม ได้รับการบันทึกว่ามีตัวตนครั้งแรกในปี ค.ศ.1843 สามารถพบได้ตลอดแนวเทือกเขาแอนดีส ประเทศโคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู สิ่งหนึ่งที่มันต่างไปจากนกฮัมมิงเบิร์ดและนกสายพันธุ์อื่น คือมีนิสัยหวงอาณาเขตมาก นกขนรุ้งมักจะทำตัวเป็นเจ้าของดอกไม้และพื้นที่-ที่มันหากิน หากมีฮัมมิงเบิร์ดตัวอื่นมากินน้ำหวานจากดอกไม้ของมัน มันจะเข้าโจมตีนกตัวนั้นทันที ช่างภาพบางคนเล่าว่า “บางทีหากพวกเขาเข้าใกล้มากเกินไป ก็อาจถูกโจมตีได้เช่นกัน” สำหรับการผสมพันธุ์จะมีฤดูการผสมพันธุ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ เช่น โคลอมเบีย : ช่วงเดือนมีนาคม-กันยายน , เอกวาดอร์ : ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และ เปรู : พฤศจิกายน-เมษายน พวกมันสามารถสร้างรังจากตะไคร่น้ำและเส้นใยพืชได้ โดยจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 10 เมตร ปัจจุบัน IUCN ประเมินสถานะเสี่ยงสูญพันธุ์ของนกขนรุ้งคือ

รู้จัก “นกขนรุ้ง” (Sunbeam) ที่สวย-ห้าว-และไม่ชอบซ่อนรูป มีของดีแบบนี้ต้องโชว์สิคะ Read More »

Scroll to Top