ธารน้ำแข็ง

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และน้ำแข็งที่ละลายอย่างต่อเนื่องทำให้ทีมนักธรณีวิทยาที่ทำการศึกษาธารน้ำแข็ง Gepatschferner (ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศออสเตรีย) ค้นพบซากมัมมี่ “ชามัวร์” หรือ “แพะภูเขาโบราณ” อายุ 500 ปี สุดหายาก “Martin Stocker-Waldhuber” นักวิจัยผู้ค้นพบกล่าวกับ National Geographic ว่า “สังเกตเห็นเขาของมันโผล่ขึ้นมาจากน้ำแข็งตั้งแต่ปีก่อนแล้ว (2021) แต่ว่าในตอนนั้นมันยังโผล่ออกมาไม่พอที่จะสามารถดึงออกมาได้โดยที่ซากไม่เสียหาย” โดยซากของชามัวร์นี้ถูกพบที่ความสูงกว่า 11,000 ฟุต ประมาณ 3.3 กิโลเมตร “Andrea Fischer” นักธารน้ำแข็งแห่งเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัย กล่าวว่า “ชามัวร์ตัวนี้น่าจะเสียชีวิตตอนอายุประมาณ 2 ปี ซากบริเวณศรีษะเหลือแต่กระดูก แต่ส่วนอื่น ๆ ตั้งแต่อกลงไปยังคงถูกเก็บรักษาเนื่องด้วยความเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ยังมีขนและผิวหนังอยู่ครบถ้วน” การค้นพบแบบนี้เกิดขึ้นได้ยากในเทือกเขาแอลป์ แต่เนื่องด้วยอัตราการละลายที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า อาจมีซากสิ่งมีชีวิตหายากอื่น ๆ ที่ถูกธารน้ำแข็งเก็บรักษาและซ่อนเอาไว้โผล่ออกมาให้เราได้ค้นพบอีกในอนาคตอันใกล้ Fischer กล่าวเสริมอีกว่า “มีธารน้ำแข็งราว 4,000 แห่งในเทือกเขาแอลป์ เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อที่ค้นพบซากชามัวร์ในบริเวณที่เรากำลังทำการศึกษาอยู่พอดี” โดยน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ละลายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 มาจนถึงปัจจุบัน […]

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ Read More »

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง”

ระหว่างการสำรวจธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของปาทาโกเนีย นักบรรพชีวินค้นพบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์หายากคือ “อิคธิโอซอร์” (Ichthyosaur) สัตว์เลื้อยคลานในทะเลคล้ายโลมาที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 251-95 ล้านปีก่อน ซึ่งสิ่งที่ทำให้ฟอสซิลนี้น่าสนใจและหายากกว่าปกติคือ “มันกำลังตั้งท้อง” ฟอสซิลอิคธิโอซอร์นี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2009 โดยนักบรรพชีวินวิทยา “Judith Pardo-Pérez” เขาตั้งชื่อให้มันว่า “ฟิโอน่า” (Fiona) มาจากตัวละครยักษ์ในเภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง “Shrek” (2001) เพราะฟอสซิลมีสีเขียวจากการถูกเคลือบด้วยสารออกไซด์ มีขนาดยาว 4 เมตร มีอายุประมาณ 139-129 ล้านปีก่อน (ช่วงต้นยุคครีเทเชียส) ต่อมาเข้าร่วมงานวิจัยกับ “แอริน แมกซ์เวล” ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งรัฐในเมืองสตุตการ์ท ประเทศเยอรมนี ในการขุดมันขึ้นมา โดยต้องใช้เวลากว่า 13 ปี ในการขุดเนื่องจากที่ตั้งของฟอสซิลฟิโอน่าตั้งอยู่บนธารน้ำแข็ง Tyndall ซึ่งห่างไกลมาก ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในการขนย้ายเท่านั้น Pardo-Pérez กล่าวว่า “ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้อง สิ่งนี้ช่วยในการศึกษาอย่างมาก เพราะมันแสดงให้เห็นวงจรชีวิต สามารถบอกได้ว่าอิคธิโอซอร์ตั้งท้องครั้งละกี่ตัว ลูกที่กำลังจะคลอดออกมามีขนาดเท่าใด” อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ฟอสซิลอิคธิโอซอร์ตั้งท้องตัวแรก เพราะก่อนหน้านี้เคยพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1749 แต่ถึงอย่างนั้นการค้นพบนี้ก็ช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้มากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากฟอสซิลฟิโอน่า ยังมีฟอสซิลของอิคธิโอซอร์อีกนับร้อยตัวในแหล่งสะสมฟอสซิล ณ

นักสำรวจพบ “ฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์” อายุ 130 ล้านปี (หายากมาก) เพราะ “มันกำลังตั้งท้อง” Read More »

Scroll to Top