ค้นพบ

พบดินแดนใหม่ ณ ปล่องไฟใต้ทะเลลึก พร้อมสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยรู้จักอีก 6 สายพันธุ์

นักสำรวจพบดินแดนแห่งใหม่ที่อยู่ลึกลงไปในอ่าวแคลิฟอร์เนีย นอกชายฝั่งลาปาซ ประเทศเม็กซิโก เป็นที่ตั้งของปล่องไฟใต้ทะเลสูง 24 เมตร สภาพแวดล้อมโดยรอบมีความร้อนสูงจนไม่น่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ แต่ทว่าพวกเขากลับพบสิ่งมีชีวิตที่โลกไม่เคยรู้จักมากถึง 6 สายพันธุ์เลย ทีมสำรวจนานาชาติจากอเมริกาและเม็กซิโก ร่วมกันออกสำรวจโดยใช้หุ่นยนต์ควบคุมระยะไกล (ROV) ชื่อ “SuBastian” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเก็บตัวอย่างของเหลวจากช่องปล่องไฟใต้ทะเล ทั้งหิน โคลน น้ำ และสิ่งมีชีวิต รวมทั้งยังใช้โซนาร์ทำแผนที่ใต้ทะเลเพื่อให้สะดวกต่อการเดินเรือในอนาคต โดยปล่องไฟดังกล่าวคือ “ปล่องไฮโดรเทอร์มอล” เป็นช่องระบายความร้อนจากใต้พิภพ เกิดจากรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งน้ำทะเลจะซึมผ่านรอยแยกลงไปสัมผัสกับเปลือกโลกที่ความร้อนสูง เปรียบเสมือนเป็นหม้อต้มน้ำที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน จากนั้นก็จะเกิดความร้อนตีกลับส่งขึ้นมาทำให้ในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิความร้อนสูงถึง 287 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว นอกจากการศึกษาข้อมูลเคมีของปล่องไฮโดรเทอร์มอลแล้ว พวกเขายังพบสิ่งมีชีวิตสุดอึดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ นั่นคือเหล่าหนอนทะเลที่มีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีหนอนทะเลอย่างน้อย 6 สายพันธุ์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน และอีก 10 สายพันธุ์ที่ไม่น่าจะมาอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ อีกทั้งยังมีพวกครัสเตเชีย หอย ดอกไม้ทะเล หนอนลูกศร และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักวิจัยสงสัยคือ พวกมันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ความร้อนสูงแบบนั้นโดยไม่ถูกต้มสุกได้อย่างไร ? เรื่องนี้คือสิ่งที่พวกเขาต้องศึกษาและวิจัยกันต่อไป แต่จากการประเมิณคาดว่าด้วยอุณหภูมิที่สูง ณ บริเวณนั้นอาจดึงดูดสารอาหารทำให้พวกมันปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่ออยู่รอดได้ ดังนั้นแม้ว่าการสำรวจนี้จะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม […]

พบดินแดนใหม่ ณ ปล่องไฟใต้ทะเลลึก พร้อมสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยรู้จักอีก 6 สายพันธุ์ Read More »

ภัยแล้งยุโรป-ทำให้ “สโตนเฮนจ์แห่งสเปน” กลุ่มหินลึกลับ (อายุ 7,000 ปี) ปรากฏขึ้นอีกครั้ง

ในช่วงฤดูร้อนยุโรปต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้ง ระดับน้ำลดลงจนแห้งเหือด ทว่าในความยากลำบากกลับเผยให้เห็นสิ่งที่น่าทึ่งที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำ นั่นคือ “Dolmen of Guadalperal” หรือฉายา “สโตนเฮนจ์แห่งสเปน” คาดว่ามีอายุเก่าแก่กว่า 7,000 ปี ปรากฏขึ้นมาให้เห็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ดาวเทียม Landsat 8 ของ NASA ถ่ายภาพทางอากาศบริเวณอ่างเก็บน้ำ Valdecanas เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม เปรียบเทียบกับจุดเดียวกันเมื่อ 2013 จะเห็นได้ว่า จุดที่ Dolmen of Guadalperal ตั้งอยู่จะถูกน้ำจมมิด ไม่สามารถมองเห็นได้เลย (รูปที่ 3) “Dolmen of Guadalperal” ตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำ Valdecanas ประเทศสเปน ซึ่งด้วยภาวะภัยแล้งทำให้น้ำในอ่างลดลงไปมากถึง 72% จึงเผยให้เห็นกลุ่มหินโบราณหรือสโตนเฮนจ์แห่งนี้ โดยถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1926 โดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันชื่อ “Hugo Obermaier” ก่อนจะถูกน้ำท่วมในปี ค.ศ.1963 จากการสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับแต่นั้นมาก็แทบไม่เคยถูกพบอีกเลย จนกระทั่งในปัจจุบัน

ภัยแล้งยุโรป-ทำให้ “สโตนเฮนจ์แห่งสเปน” กลุ่มหินลึกลับ (อายุ 7,000 ปี) ปรากฏขึ้นอีกครั้ง Read More »

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และน้ำแข็งที่ละลายอย่างต่อเนื่องทำให้ทีมนักธรณีวิทยาที่ทำการศึกษาธารน้ำแข็ง Gepatschferner (ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศออสเตรีย) ค้นพบซากมัมมี่ “ชามัวร์” หรือ “แพะภูเขาโบราณ” อายุ 500 ปี สุดหายาก “Martin Stocker-Waldhuber” นักวิจัยผู้ค้นพบกล่าวกับ National Geographic ว่า “สังเกตเห็นเขาของมันโผล่ขึ้นมาจากน้ำแข็งตั้งแต่ปีก่อนแล้ว (2021) แต่ว่าในตอนนั้นมันยังโผล่ออกมาไม่พอที่จะสามารถดึงออกมาได้โดยที่ซากไม่เสียหาย” โดยซากของชามัวร์นี้ถูกพบที่ความสูงกว่า 11,000 ฟุต ประมาณ 3.3 กิโลเมตร “Andrea Fischer” นักธารน้ำแข็งแห่งเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัย กล่าวว่า “ชามัวร์ตัวนี้น่าจะเสียชีวิตตอนอายุประมาณ 2 ปี ซากบริเวณศรีษะเหลือแต่กระดูก แต่ส่วนอื่น ๆ ตั้งแต่อกลงไปยังคงถูกเก็บรักษาเนื่องด้วยความเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ยังมีขนและผิวหนังอยู่ครบถ้วน” การค้นพบแบบนี้เกิดขึ้นได้ยากในเทือกเขาแอลป์ แต่เนื่องด้วยอัตราการละลายที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า อาจมีซากสิ่งมีชีวิตหายากอื่น ๆ ที่ถูกธารน้ำแข็งเก็บรักษาและซ่อนเอาไว้โผล่ออกมาให้เราได้ค้นพบอีกในอนาคตอันใกล้ Fischer กล่าวเสริมอีกว่า “มีธารน้ำแข็งราว 4,000 แห่งในเทือกเขาแอลป์ เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อที่ค้นพบซากชามัวร์ในบริเวณที่เรากำลังทำการศึกษาอยู่พอดี” โดยน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ละลายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 มาจนถึงปัจจุบัน

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ Read More »

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย

นักสำรวจพบซากกระดูกของสัตว์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 10 เมตร ในระหว่างเดินสำรวจชายหาดวอนบอยน์ ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคาดว่าเป็นกระดูกของวาฬ “โทนี่ แฮนด์ค็อก” ผู้ค้นพบในครั้งนี้กล่าวว่า “เราได้กลิ่นเหม็นระหว่างเดินสำรวจชายหาด และเมื่อตามกลิ่นไปก็ได้พบกับซากกระดูกขนาดใหญ่ที่น่าทึ่งนี้ มันยังคงสมบูรณ์และสดใหม่” สิ่งสำคัญที่ต้องระวังอย่างมากในการค้นพบนี้คือ ห้ามแตะต้องเด็ดขาดเนื่องจากอาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายได้ อีกทั้งการเก็บชิ้นส่วนของกระดูกที่พบไปถือเป็นการทำผิดกฎหมาย National Parks and Wildlife Service (NPWS) ระบุว่า “วาฬได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการครอบครองวาฬส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กฎหมายของรัฐและของรัฐบาลกลางถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ กระดูกวาฬมีสถานะแบบเดียวกับงาช้าง หากการครอบครองงาช้างผิดกฎหมาก กระดูกวาฬก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ ผู้คนยังคงสามารถเข้าใกล้และถ่ายรูปได้ “เกรแฮม สตับบ์” ผู็จัดการพิพิธภัณฑ์ Eden Killer Whale เผยว่า “การพบซากวาฬที่ทางตอนใต้ของออสเตรเลียนั้นไม่ค่อยแปลกเท่าไหร่ เพราะปกติจะมีซากวาฬถูกซัดเกยตื้นที่ภูมิภาคนี้เป็นประจำทุก ๆ 2 ปีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มันพิเศษคือการที่มันหลงเหลือแต่กระดูกสันหลังนี่แหละ ที่พบเจอได้ไม่บ่อยนัก” ในตอนนี้ นักวิจัยยังไม่ทราบว่า ซากกระดูกที่พบนี้เป็นของวาฬชนิดใด แต่อีกไม่นานก็น่าจะได้คำตอบเนื่องจากกระดูกยังคงมีเศษเนื้อ รวมถึงกระดูกก็มี DNA หลงเหลืออยู่เพียบ โดย “เดวิด ดอนเนลลี่”

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย Read More »

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยไมอามี-ค้นพบ “สระน้ำมรณะ” (Death Pool) ที่ใต้ก้นทะเลแดง (Red Sea) เป็นสระน้ำเกลือขนาดยาว 3 เมตร ที่ปราศจากออกซิเจนและระดับความเค็มที่สูงจนเป็นอันตราย หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์ซาลีน” (hypersaline) สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เผลอลงไปในสระมรณะนี้ได้ ทีมวิจัยค้นพบสระมรณะนี้ในปี 2020 ที่ระดับความลึก 1,770 เมตร ในอ่าวอควาบา ทะเลแดง ด้วยการใช้หุ่นยนต์สำรวจควบคุมระยะไกล (ROV) ภายใต้โครงการ OceanXplorer ถูกตั้งชื่อว่า “NEOM Brine Pools” โดยศาสตราจารย์ “แซม เพอร์คิส” ผู้นำทีมวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า “นอกจากมันจะไม่มีออกซิเจน มันยีงมีสารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เป็นพิษอีกด้วย” สิ่งที่น่าสนใจนอกจากความน่าสะพรึงของมันก็คือ สภาพแวดล้อมของสระมรณะนี้ที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยนับตั้งแต่มันก่อตัวขึ้นมา นั่นหมายความว่านี่เป็นเสมือนสมุดบันทึกที่สามารถช่วยให้นักวิจัยเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาจจะตั้งแต่เมื่อหลายพันจนถึงหลายล้านปีก่อน และอาจให้ความกระจ่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกเลยก็เป็นได้ เฮ้ย ! ไม่เว่อไปหน่อยหรอ ? แอ่งน้ำเค็มนี้มันจะเปิดเผยข้อมูลโลกขนาดนั้นเลยหรอ ? โดยเพอร์คิสให้คำตอบว่า “ความเข้าใจในปัจจุบันของเราคือสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจากมหาสมุทร ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเหมือนกัน ซึ่งหากเป็นไปตามทฤษฎีสระมรณะนี้อาจจะจำลองสภาพทะเลในโลกยุคแรกก็เป็นได้” นอกจากนี้ ยังพบจุลินทรีย์ชื่อ“Extremophile” ซึ่งไม่แน่ว่ามันอาจทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกก็ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้สระมรณะแห่งนี้คงสภาพไว้ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือความอันตรายของมันนั่นแหละ

นักวิจัยค้นพบ “สระน้ำมรณะ” ที่ใต้ก้นมหาสมุทร-สามารถคร่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตกลงไปได้ Read More »

นักสำรวจ พบซากเรืออับปางที่ลึกที่สุดในโลก-หลังจมลงสู่ก้นทะเลเมื่อเกือบ 80 ปีก่อน

เมื่อเดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา นักสำรวจพบซากเรืออับปาง “USS Samuel B Roberts” หรือชื่อเล่นว่า “Sammy B” เป็นเรือรบคุ้มกันของกองทัพสหรัฐฯ ที่ถูกใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยซากเรือรบนี้ถูกค้นพบโดย “วิคเตอร์ เวสโคโว” นักสำรวจมหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทสำรวจมหาสมุทร Caladan Oceanic และ “เจเรมี มอรีเซต” ผู้เชี่ยวชาญด้านโซนาร์จาก EYOS Expeditions พวกเขาใช้หุ่นยนต์ดำน้ำและเรือสำรวจโซนาร์สำรวจทะเลฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยเป็นสนามรบในสงครามอ่าวเลย์เตระหว่างกองทัพสหรัฐฯ และกองทัพญี่ปุ่น ทีมสำรวจดำเนินการสำรวจ 6 ครั้ง ใช้เวลากว่า 7 วันในการสำรวจครั้งนี้ โดยในวันที่ 18 มิถุนายน ทีมวิจัยค้นพบเครื่องยิงตอร์ปิโดแบบ 3 หัว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเรือรบ Sammy B ต่อมาก็ค้นพบซากเรือทั้งหมดำตั้งแต่หัวเรือยันท้ายเรือ ซึ่งเรือแตกออกเป็น 2 ส่วน ที่ระดับความลึก  6,895 เมตร นับว่าเป็นระดับความลึกที่ลึกที่สุดในโลกที่มีการค้นพบเรืออับปาง ทำลายสถิติเดิมที่ความลึก 6,469 เมตร

นักสำรวจ พบซากเรืออับปางที่ลึกที่สุดในโลก-หลังจมลงสู่ก้นทะเลเมื่อเกือบ 80 ปีก่อน Read More »

นี่คือ “แบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุดในโลก” (ใหญ่กว่าปกติ 5,000 เท่า) สามาถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

นักวิจัยค้นพบ แบคทีเรียยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแบบไม่ต้องใช้กล้องจุลทัศน์เลยทีเดียว แบคทีเรียตัวนี้ชื่อ “Thiomargarita magnifica” มันมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปถึง 5,000 เท่าเลยทีเดียว “จีน-แมรี่ วอลแลนด์” นักชีววิทยาทางทะเลจากศูนย์วิจัย Complex Systems ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า มันมีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีลักษณะ ขนาดและรูปร่างคล้ายขนตามนุษย์ ซึ่งนอกจากจะใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปถึง 5,000 เท่าแล้ว เมื่อเทียบกับแบคทีเรียที่จัดว่ามีขนาดใหญ่ เจ้าแบคทีเรียตัวนี้ก็ยังใหญ่กว่าถึง 50 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น เซลล์ในแบคทีเรียยักษ์นี้ก็ยังพิเศษและซับซ้อนกว่าแบคทีเรียทั่วไป คือสารพันธุกรรมของแบคทีเรียทั่วไปจะลอยตัวอย่างอิสระอยู่ภายในเซลล์ แต่สำหรับ T.magnifica กลับบบรจุสารพันธุกรรมไว้ในถุงเมมเบรน ซึ่งปกติแล้วจะพบได้เฉพาะในพืชและสัตว์เท่านั้น โดย “โอลิเวอร์ กลอส” นักชีววิทยาทางทะเลจากประเทศฝรั่งเศส ค้นพบแบคทีเรียชนิดนี้ครั้งแรก จากการเก็บตัวอย่างน้ำในป่าชายเลนเขตร้อนในทะเล Lesser Antilles คาบสมุทรแคริบเบียน ซึ่งในตอนแรกพวกเขาเข้าใจว่ามันเป็นสัตว์จำพวกพยาธิชนิดหนึ่ง แต่เมื่อหลายปีต่อมาเริ่มมีการศึกษาจริงจังมากขึ้น จึงทราบว่ามันคือแบคทีเรีย ก่อนหน้านี้ มีทฤษฎีเกี่ยวกับสาเหตุที่แบคทีเรียมีขนาดเล็กจิ๋วจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าระบุว่า “เซลล์แบคทีเรียนั้นไม่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นตัวจำกัดขนาดของเซลล์” กล่าวคือ เมื่อร่างกายมีความเรียบง่าย ไม่มีอวัยวะมากมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จพต้องมีขนาดใหญ่โตเมื่อสิ่งมีชีวิตอื่น

นี่คือ “แบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุดในโลก” (ใหญ่กว่าปกติ 5,000 เท่า) สามาถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Read More »

ค้นพบฟอสซิล “สัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล” (ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ – อยู่บนโลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน)

ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์จากยุค Triassic กลาง ที่เคยอยู่บนโลกเมื่อ 247-237 ล้านปีก่อน ณ หุบเขา Augusta Mountains ในเนวาดา สหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่แค่เฉพาะกะโหลกอย่างเดียวก็ยาวกว่า 2 เมตรแล้ว โดยฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ตัวดังกล่าวเป็น “อิกไทโอซอร์” (Ichthyosaur) สายพันธุ์ใหม่ถูกตั้งชื่อว่า “Cymbospondylus Youngorum” (อ่านว่า ซิม–โบ–สะ–ปอน–ได–รัส/โย–อัน–โก–รัม) เป็นสัตว์ขนาดยักษ์ที่มีความยาวถึง 18 เมตร (ใหญ่พอ ๆ กับวาฬสเปิร์ม) ซึ่งการค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันช่วยให้เราเข้าใจถึงการวิวัฒนาการของอิกไทโอซอร์มากขึ้น  ดร.มาร์ติน แซนเดอร์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยบอนน์ กล่าวว่า “ในตอนแรกการค้นพบนี้นักวิจัยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก เนื่องจากพบเพียงแค่ชิ้นส่วนกระดูกสันหลังเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น แต่การค้นพบกระดูกสันหลังในทางกายวิภาคนั้น เป็นไปได้ว่าส่วนหัวสัตว์ตัวดังกล่าวต้องอยู่ใกล้ ๆ กันแน่นอน ทีมนักบรรพชีวินจึงพยายามขุดต่อไปจนพบกับกะโหลกศรีษะ ขาหน้าและหน้าอก จนได้ทราบว่ามันเป็นอิกไทโอซอร์สายพันธุ์ใหม่นั่นเอง” จากโครงสร้างฟอสซิลบริเวณกะโลหกเผยให้เห็นว่ามันมีปากยื่นยาวและฟันแหลมคม บ่งบอกว่า C. Youngorum เป็นสัตว์นักล่าที่กินเนื้อเป็นอาหารและมันอาจมีนิสัยดุร้ายด้วย ดร.เอวา มาเรีย กรีเบลา จากมหาวิทยาลัยไมนซ์ในเยอรมนี ได้สร้างแบบจำลองสภาพแวดล้อมในสมัยโบราณขึ้นมา เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการกิน

ค้นพบฟอสซิล “สัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล” (ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ – อยู่บนโลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน) Read More »

นักสำรวจพบ “ซากแมมมอธ” (14 ตัว) นอนเกลื่อนติดกับดักที่มนุษย์วางไว้ เมื่อ 15,000 ปีที่แล้ว

วันที่ 9 พ.ย. 2019 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักโบราณคดีของเม็กซิโก ได้ค้นพบซากโครงกระดูกแมมมอธจำนวน 14 ตัว ในหลุมลึก 2 หลุม บริเวณเมือง Tultepec (ทุลเทเพค) ทางตอนเหนือของเม็กซิโกซิตี้ (ใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างสนามบินใหม่) ถือเป็นการค้นพบโครงกระดูกแมมมอธจำนวนมากที่สุดของประเทศเม็กซิโก ทีมงานเชื่อว่า พวกมันตายหลังจากติดกับดักซึ่งสร้างมนุษย์สร้างไว้ในช่วงราว 15,000 ปีที่แล้ว เนื่องจากแต่ละหลุมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เมตร และลึกลงไปราว 1.7 เมตร จึงเชื่อว่าเป็นกับดักล่าสัตว์ของมนุษย์ในยุคนั้น และการค้นพบในครั้งนี้ นักโบราณคดีไม่ได้ขุดพบพวกมันนอนเป็นระเบียบสวยงาม แต่สิ่งที่พวกเขาขุดพบคือ ซากโครงกระดูกที่อยู่กระจัดกระจายมากกว่า 800 ชิ้น ทำให้ทีมงานต้องใช้เวลานานถึง 10 เดือน ในการขุดค้น-นำมาประกอบ-นำมาวิจัย “การค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ระบุว่า มนุษย์รู้จักวางแผนการล่ามาเป็นเวลานานแล้ว เพราะจากการตรวจสอบกระดูกพบว่าแมมมอธบางตัวถูกชำแหละจนแทบไม่มีชิ้นเนื้อหลงเหลืออยู่ อีกทั้งยังเป็นกุญแจสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการล่าสัตว์ของยุคก่อนประวัติศาสตร์ , การรวมกลุ่มของมนุษย์ในอดีต และการศึกษาสัตว์กินพืชขนาดยักษ์ในยุคดึกดำบรรพ์” – หลุยส์ คอร์โดบา หัวหน้าทีมขุดค้น กล่าว ก่อนหน้านี้ เม็กซิโกก็เคยค้นพบกระดูกช้างแมมมอธที่สร้างความประหลาดใจมาแล้วหลายครั้ง เช่นในช่วงทศวรรษที่

นักสำรวจพบ “ซากแมมมอธ” (14 ตัว) นอนเกลื่อนติดกับดักที่มนุษย์วางไว้ เมื่อ 15,000 ปีที่แล้ว Read More »

Scroll to Top