Uncategorized

รู้จัก “ตุ่นทองคำ” นักล่าแห่งทะเลทราย ที่แม้สายตาจะแย่-แต่ประสาทสัมผัสน้องโคตรเทพ

นี่คือ “ตุ่นทองคำ” (Chrysochloridae) หนึ่งในนักล่าแห่งทะเลทรายที่มีขนสีทองเป็นประกายแวววาว ที่มีประสาทสัมผัสในระดับสุดยอด ถึงขั้นได้ยินแม้กระทั่งเสียงมดเดินเลยก็ว่าได้ อีกทั้งมันยังสามารถล่าได้แม้แต่งูที่เป็นนักล่าเบอร์ต้น ๆ ของทะเลทรายเลยล่ะ โดยตุ่นทองคำอาศัยอยู่ในแถบแอฟริกาเขตทะเลทราย เช่นทะเลทรายซาฮารา ทะเลทรายนามิเบีย มีทั้งหมด 21 สายพันธุ์ แต่การพบมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในรอบ 10 ปี จะมีรายงานการพบตุ่นทองคำเพียง 3-5 ครั้งเท่านั้น เนื่องจากมันจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน มีขนาดตั้งแต่ 8-20 เซนติเมตร สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของตุ่นทองคำก็คือ “สีขน” ที่มีสีทองประกายแวววาวสะท้อนแสง ว่าแต่มันจะมีสีทองไปทำไม เมื่อชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดิน และไม่ได้ต้องใช้สีสันสะดุดตาเพื่อดึงดูดตัวเมียหรือสื่อสารใด ๆ ? นี่เป็นคำถามที่นักวิจัยต่างสงสัย ทำให้ “แมทธิว ชอว์คีย์” นักสัตววิทยาจาก University of Akron เริ่มศึกษาเพื่อหาคำตอบของเรื่องนี้ โดยชอว์ได้ทำการศึกษาเส้นขนของตุ่นทองคำด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ พบว่า เส้นขนมีลักษณะแบนราบ เรียบเงา เป็นเหตุให้สะท้อนแสงแววาว ใช้ป้องกันน้ำและรีดความชื้นออกจากร่างกาย และช่วยให้ดินทรายไม่ติดตัวในระหว่างขุด กล่าวคือช่วยให้คล่องตัวขึ้นนั่นเอง อีกทั้งยังช่วยป้องกันความร้อนจากทะเลทรายได้ด้วย (น่าเสียดายที่น้องตาบอด เลยไม่รู้ว่าตัวเองมีขนที่สวยงามแบบนี้) ตุ่นทองคำมีกล้ามเนื้อและหนังที่แข็งแรงมากโดยเฉพาะส่วนหัวและขาหน้าที่ใช้สำหรับขุดดิน อย่างที่กล่าวคือตุ่นทองคำใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในดิน […]

รู้จัก “ตุ่นทองคำ” นักล่าแห่งทะเลทราย ที่แม้สายตาจะแย่-แต่ประสาทสัมผัสน้องโคตรเทพ Read More »

รู้จักกับ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตลก (ที่ชีวิตจริงแสนเศร้า) และความเข้าใจผิดของเสือขาวหายาก

นี่คือเรื่องจริงของ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตลกที่เป็นดาวน์ซินโดรม กลายเป็นกระแสไวรัลบนโลกออนไลน์ ผู้คนจำนวนมากต่างเอ็นดูเจ้าเคนนี่ แต่ทว่าชีวิตจริงของเคนนี่นั้นแสนเศร้า และมีความจริงบางอย่างที่สวนสัตว์ไม่ได้บอกเรา อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังบอกว่าเราไม่ควรเพาะพันธุ์เสือขาวด้วย เมื่อช่วงต้นปี 2000 ผู้คนต่างหลงใหลรูปถ่ายของ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตาตลก ที่ทางสวนสัตว์โปรโมทว่ามันเป็นดาวน์ซินโดรม แต่ความจริงแล้วเจ้าเคนนี่ไม่ได้เป็นดาวน์ซินโดรมและไม่มีทางเป็นด้วย เพราะ “ภาวะดาวน์ซินโดรม” เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในมนุษย์เท่านั้น นั่นหมายความว่าสวนสัตว์ใช้คำว่าดาวน์ซินโดรมเพียงเพื่อดึวดูดนักท่องเที่ยวเท่านั้น แล้วความผิดปกติของเจ้าเคนนี่คืออะไร ? “ซูซาน เบส” ผู้เชี่ยวชาญจาก Big Cat Rescue (BCR) กล่าวกับ the dodo ว่า “ความผิดปกติของเคนนี่เป็นผลมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์หลายชั่วอายุเพื่อให้ลูกเสือแสดงยีนด้อยออกมา (สีขาว) ซึ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มักจะมาจากคอกเดียวกัน” อีกทั้ง สาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเราไม่ควรเพาะพันธุ์เสือขาว เพราะว่า “เสือขาวไม่ใช่สายพันธุ์ ไม่ใช่สัตว์หายาก เพียงแต่เป็นความผิดปกติตามธรรมชาติเท่านั้น” ทว่าสาเหตุที่เรายังคงเห็นเสือขาวตามสวนสัตว์ นั่นก็เพราะมันทำกำไรได้ ซึ่งลูกเสือขาวส่วนใหญ่ที่ได้มักจะร่างกายไม่แข็งแรง และอายุสั้น โดยโอกาสเกิดเสือขาวที่แข็งแรงสมบูรณ์คือ 1 ใน 30 ตัว ซึ่งส่วนมากตัวที่ไม่แข็งแรงมักจะถูกฆ่าทิ้งเพราะขายไม่ได้ โดยเจ้าเคนนี่ถือว่าโชคดี เพราะได้รับการช่วยเหลือจาก Turpentine Creek Wildlife

รู้จักกับ “เคนนี่” เสือขาวหน้าตลก (ที่ชีวิตจริงแสนเศร้า) และความเข้าใจผิดของเสือขาวหายาก Read More »

รู้จักกับ “ปลาจู๋” สิ่งมีชีวิตโบราณ-ที่อยู่บนโลกด้วยหน้าตาแบบนี้มานานกว่า 300 ล้านปี

นี่คือ “ปลาจู๋” (penis fish) แต่แท้จริงแล้วมันคือสัตว์ตระกูลหนอนทะเล ชื่อทางการที่ถูกต้องคือ “Fat innkeeper worms” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Urechis caupo) มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นสายพันธุ์สัตว์โบราณที่ว่ากันว่ามันมีชีวิตอยู่มาตั้งแต่เมื่อ 300 ล้านปีก่อนแล้ว แถมแทบไม่เปลี่ยนหน้าตาไปจากเดิมเลยด้วย ชื่อ “Fat innkeeper worms” แปลว่า “หนอนอ้วนเจ้าของโรงแรม” มาจากพฤติกรรมของมันที่มักจะขุดทรายเป็นหลุมโค้งรูปตัว U เพื่อดักจับเหยื่อและหลบซ่อนจากศัตรู โดยจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ทำให้หลุมเก่าที่ขุดไว้ถูกปลา กุ้ง หรือปูมาเทคโอเวอร์อยู่ต่อนั่นเอง อาศัยอยู่ในมหาสมุทรน้ำตื้นตามแนวชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ และเอเชียตะวันออก พวกมันจะฝั่งตัวอยู่ในพื้นทราย กินแบคทีเรียและแพลงตอนเป็นอาหาร โดยจะปล่อยเมือกเหนียวออกมาดังจับอาหารและจะดูดกลับเข้าไปกิน พวกมันเป็นเหยื่อของปลาฉลาม ปลากระเบน นกนางนวล และนากทะเล มีอายุขัยประมาณ 25 ปี นอกจากนี้ ถึงหน้าตามันจะดูไม่น่ากินเอาซะเลย แต่ในฝั่งเอเชียประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่น นี่ถือเป็นอาหารชั้นเลิศเลยล่ะ   ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2019 “เดวิด ฟอร์ด”

รู้จักกับ “ปลาจู๋” สิ่งมีชีวิตโบราณ-ที่อยู่บนโลกด้วยหน้าตาแบบนี้มานานกว่า 300 ล้านปี Read More »

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร

นักวิจัยสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทรบนโลก พบว่ามีจำนวนมากถึง 1 พันล้านชนิด จากเดิมที่เคยเข้าใจว่ามี 20,000 ชนิด ซึ่งหากมัดรวมกันคาดว่าอาจมีน้ำหนักมากกว่าช้างแอฟริกัน 2 แสนล้านตัว ! ว่าแต่..การค้นพบนี้สำคัญอย่างไร ? เดี๋ยวเราเล่าให้ฟังครับ ในการสำรวจนี้มีนักวิจัยกว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมงาน International Census of Marine Microbes (ICoMM) เพื่อร่วมมือกันสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทร ถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว การค้นพบความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัฏจักรคาร์บอน ซึ่งจุลินทรีย์ที่หลากหลายนี้เชื่อมโยงกับพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารบนโลก ไม่เพียงแต่ในทะเลเท่านั้น แต่รวมถึงห่วงโซ่บนพื้นดินด้วย ถึงจะบอกว่าเป็นกองทัพจุลินทรีย์ที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งอาจฟังดูน่ากลัวแต่มันไม่ได้เตรียมตัวโจมตีพวกเรานะครับ ทว่าเหล่าจุลินทรีย์พวกนี้ทำหน้าที่เป็นลมหายใจของโลก ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนมันออกซิเจน รวมถึงแร่ธาตุที่สำคัญอื่น ๆ กลับสู่พื้นดิน และวนเข้าสู่วัฏจักรสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก “จอห์น บารอส” ประธานสภาที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ ICoMM จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า “มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ประมาณ 50-90 เปอร์เซนต์

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร Read More »

“หน้ากาก-กันเรอ” นวัตกรรมที่ช่วยให้วัว-เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (แต่อาจต้องใส่ตลอดชีวิต)

ขณะนี้บนโลกของเรามีการเลี้ยงวัวเพื่อปศุสัตว์ราว ๆ 1.6 พันล้านตัว ซึ่งรู้หรือไม่ว่า “การเรอและตด” ของพวกมันกำลังเป็นปัญหาต่อโลกอย่างมาก … นั่นเพราะทุกครั้งที่พวกมันเรอหรือตดจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมา ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุใหญ่สุดของปัญหาโลกร้อน (อันตรายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 84 เท่า) ด้วยเหตุนี้ Zelp บริษัท Startup สัญชาติอังกฤษ ก่อตั้งโดยสองพี่น้อง “ฟรานซิสโก และ แพทริซิโอ นอร์ริส” จึงทำการพัฒนา “หน้ากากกันเรอ” (Burp-catching mask) ที่สามารถดักจับก๊าซมีเทนที่ออกมาจากลมหายใจของวัว ช่วยให้สามารถลดปริมาณก๊าซมีเทนลงได้ถึง 60% เพราะกว่า 95% ของก๊าซมีเทนที่วัวปล่อยออกมานั้น-มาจากทางปากและจมูก (โดยตดเป็นเพียง 5%) ผู้พัฒนาจึงเลือกแก้ปัญหาที่ลมหายใจและการเรอก่อนครับ ทั้งนี้ โดยปกติการแก้ปัญหาลดก๊าซมีเทนของวัวจะอยู่ในรูปของสารเติมแต่งในอาหาร ซึ่งจะช่วยยับยั้งการผลิตก๊าซในกระเพาะวัวด้วยการเปลี่ยนกระบวนการย่อยอาหาร แม้วิธีนี้จะได้ผลแต่ก็ต้องแลกมากับการทำให้วัวได้รับสารอาหารน้อยลง แต่นวัตกรรม “หน้ากาก-กันเรอ” นี้ ช่วยให้วัวสามารถกินและย่อยอาหารได้ตามปกติ ซึ่งวิธีนี้จะมั่นใจได้ว่าวัวจะยังคงได้รับสารอาหารครบถ้วน ไม่ส่งผลต่อการผลิตเนื้อในตลาด โดยทางบริษัทยืนยันหนักแน่นอนว่า “ไม่ต้องห่วงว่ามันจะทรมาน” เพราะหน้ากากมีน้ำหนักเบา-ใช้งานง่าย-เพียงแค่สวมเข้ากับศรีษะก็ติดตั้งเสร็จสิ้น โดยแผ่นดักก๊าซจะติดอยู่เหนือรูจมูก-คอยทำหน้าที่กรองลมหายใจและเรอของวัวเข้าไป-ซึ่งแผ่นกรองจะทำปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนก๊าซมีเทนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์แทน (สามารถใส่ได้ทันทีหลังวัวหย่านมเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือนครับ) นอร์ริส (ผู้ร่วมก่อตั้ง)

“หน้ากาก-กันเรอ” นวัตกรรมที่ช่วยให้วัว-เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (แต่อาจต้องใส่ตลอดชีวิต) Read More »

(เหตุการณ์จริง) เมื่อนักวิจัยต้องทิ้ง “ฐานทดลอง” ขั้วโลก เพื่อรอดจากน้ำแข็งละลายฉับพลัน

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.2019 นักวิจัยจากสถาบัน Roshydromet (“โรซายโดเมท”) ของรัสเซีย ที่ได้ตั้งฐานวิจัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็งในแถบอาร์กติก (หรือขั้วโลกเหนือ) ต้องทำการอพยพคนออกจากสถานีโดยด่วน เนื่องจากพบว่า พื้นผิวน้ำแข็งในบริเวณนั้นเริ่มละลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการอพยพครั้งนี้ ถูกประกาศอย่างเร่งด่วนจากทีมเฝ้าระวังว่า “ต้องเสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมง” มิเช่นนั้นอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ (ทั้งนี้ ภาพประกอบบทความทั้งหมด-รวมถึงภาพหน้าปก คือภาพจากเหตุการณ์จริงเมื่อปี 2015 ซึ่งมีเนื้อหาอยู่ด้านล่าง เนื่องจากเหตุการณ์ล่าสุด 2019 ทีมงานรีบอพยพจึงอาจทำให้ไม่มีเวลาถ่ายภาพ – หรืออาจมีแต่เราหาไม่เจอจริง ๆ ครับ) กลับมาที่เหตุการณ์ปี 2019 – ทีมวิจัยดังกล่าวได้ตั้งสถานีวิจัย ณ บริเวณนั้นได้เพียง 1 เดือน เพื่อทำการศึกษาค่ามลพิษที่เพิ่มสูงขึ้นของบริเวณขั้วโลกเหนือ แต่โชคดีที่ได้แบ่งหน้าที่คอยสังเกตร่องที่เกิดการแตกของพื้นน้ำแข็ง-จึงทำให้เห็นถึงการละลายอย่างชัดเจนอยู่ก่อนแล้ว โดยการแจ้งเตือนเกิดขึ้นกระทันหัน-เพราะจู่ ๆ แผ่นน้ำแข็งก็เกิดการละลายพร้อมทั้งแตกออกจากกันอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งนักวิจัยยอมรับว่า งานที่พวกเขาทำนั้นมีความเสี่ยงสูง เพราะจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้พวกเขาไม่สามารถหาแผ่นน้ำแข็ง-ที่มีความแข็งแรงมากพอที่จะลอยตัวได้จริง ๆ (และจนถึงตอนนี้ อัพเดต:2021 ก็ยังไม่สามารถหาที่ตั้งสำหรับสถานีวิจัยใหม่ได้) และการหนีเอาชีวิตรอดในครั้งนี้ก็ไม่ใช่เหตุกาณ์แรกที่เคยเกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ปี

(เหตุการณ์จริง) เมื่อนักวิจัยต้องทิ้ง “ฐานทดลอง” ขั้วโลก เพื่อรอดจากน้ำแข็งละลายฉับพลัน Read More »

Scroll to Top