Sci

วิจัย “ก้อนเกลือโบราณ” จนพบสิ่งมีชีวิตอายุ 830 ล้านปี (อาศัยอยู่ภายใน-คืนชีพได้ในอนาคต)

นักวิจัยพบสิ่งมีชีวิต “จุลินทรีย์” อายุ 830 ล้านปี ในผลึกเกลือโบราณที่เก็บได้จากประเทศออสเตรเลีย โดยมันหลับนิ่งอยู่ในถุงของเหลวในผลึกเกลือดังกล่าว ซึ่งมีโอกาสสูงที่พวกมันยังมีชีวิตอยู่และสามารถฟื้นคืนชีพหรือตื่นขึ้นได้ในอนาคต “ซารา ชเรดเดอร์ โกเมส” นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนีย ที่มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า “เรายังไม่สามารถระบุชนิดของจุลินทรีย์ชนิดนี้ได้ แต่เบื้องต้นทราบว่ามันมีลักษณะคล้ายกับ Dunaliella เป็นจุลินทรีย์สาหร่ายที่ชอบกินเกลือ มีขนาดเล็กเพียง 0.5-5 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่าขนาดเส้นผมที่มีขนาด 70 ไมครอนเสียอีก นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่ามันเคยมีชีวิตอยู่เมื่อเกือบ 1,000 ล้านปีก่อน อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางทะเลตื้นหรือในทะเลสาบน้ำเค็มตื้น” ซารา กล่าวเสริมว่า “การปลุกจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่ยาก สามารถทำได้ง่ายแค่เพียง เจาะ บด หรือละลายผลึกเกลือ จากนั้นก็เติมอาหารให้มัน เท่านี้ก็สามารถทำให้พวกมันฟื้นคืนชีพได้แล้ว (ในกรณีที่ยังมีชีวิตอยู่นะ)” เสมือนการปลดปล่อยสิ่งมีชีวิตโบราณที่ถูกกังขังไว้ยังไงยังงั้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นคืนชีพของสิ่งมีชีวิตโบราณที่เราไม่รู้จักแบบนี้ค่อนข้างอันตราย เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าพวกมันซ่อนความลับหรืออาจมีเชื้อโรคอะไรซ่อนอยู่บ้าง ว่าแต่ จุลินทรีย์มันมีอายุยืนยาวขนาดนั้นได้ยังไง ? ตอบ : จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อึดและปรับตัวได้เก่งมาก มันสามารถหยุดนิ่งหรือเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญของร่างกาย-ให้ไม่จำเป็นต้องกินอาหาร เพื่อให้อยู่ในสภาพแวดล้อมแห้งเหือดได้ และอยู่อย่างนั้นจนกว่าสภาพแวดล้อมจะเอื้ออำนวยให้มีชีวิตอีกครั้ง แต่ก็ไม่ทราบว่ามันสามารถอยู่โดยไม่กินอะไรเลยได้ยาวนานแค่ไหน ทั้งนี้ นักวิจัยยังไม่ได้ทดลองปลุกจุลินทรีย์ตัวดังกล่าว จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่ามันยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ […]

วิจัย “ก้อนเกลือโบราณ” จนพบสิ่งมีชีวิตอายุ 830 ล้านปี (อาศัยอยู่ภายใน-คืนชีพได้ในอนาคต) Read More »

นี่ไม่ใช่ปลาจาก Stranger Things แต่มันคือ “ปลาที่เกิดมา-เพื่อต้องว่ายกลับหัวไปตลอดชีวิต”

นี่ไม่ใช่โลก upside down ใน Stranger Things แต่มันคือ “ปลาดุกกลับหัว” (Upside-down Catfish) ที่จะว่ายน้ำแบบนี้ไปตลอดชีวิต มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำคองโก แถมเป็นที่รู้จักของชาวอียิปต์มานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ทว่ามันว่ายกลับหัวแบบนี้ได้ยังไง และทำไปเพื่ออะไร เดี๋ยวเราเล่าให้ฟังครับ ก่อนอื่นต้องรู้จักกับอวัยวะปลาที่เรียกว่า “Swim Bladder” เป็นถุงลมเก็บอากาศสำหรับช่วยให้ปลาลอยตัวขึ้นหรือจมลง หากต้องการลอยตัวขึ้นปลาก็กลืนอากาศเข้าไปหรือต้องการจมลงปลาจะปล่อยอากาศในถุงลมนี้ออกมา (คล้ายกับเครื่อง BCD ที่นักดำน้ำใช้) ซึ่งอวัยวะนี้จะช่วยประหยัดพลังงานในการว่ายน้ำ อยู่บริเวณพุงใต้จุดศูนย์กลางมวล (Centre of mass) โดยปกติแล้วปลาส่วนใหญ่จะใช้ครีบข้างในการพยุงตัวให้ไม่กลับหัว ซึ่งจะสังเกตได้ว่าปลาส่วนใหญ่ที่ป่วยหรือตายจะว่ายตะแคงข้างไม่ก็กลับหัว เพราะมันไม่สามารถพยุงร่างกายได้นั่นเอง แต่สำหรับปลาดุกกลับหัวการว่ายกลับหัวแบบนี้เป็นเรื่องปกติและสบายดี แล้วมันจะว่ายกลับหัวแบบนี้ทำไมล่ะ ? ต้องยอมรับว่าไม่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจน แต่มีทฤษฎีที่มีความเป็นไปได้คือ “เพื่อให้หาอาหารง่ายขึ้น” เพราะพวกมันจะกินหญ้า-ตะไคร่น้ำที่อยู่ใต้กิ่งไม้หรือท่อนซุง อีกทั้งยังหายใจเอาออกซิเจนบริเวณผิวน้ำง่ายขึ้นด้วย ความสามารถดังกล่าว เชื่อมโยงกับภาวะขาดออกซิเจนที่เกิดขึ้นได้บ่อยในแม่น้ำแอฟริกา โดย “ลอเรน แชปแมน” ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ที่ศึกษาปลาดุกกลับหัวมานานกว่า 20 ปี ทำการทดลองในภาวะออกซิเจนต่ำ พบว่าปลาดุกทั่วไปว่ายน้ำลำบากขึ้น ขนาดเหงือกใหญ่ขึ้น วางไข่น้อยลง ในขณะที่ปลาดุกกลับหัวใช้ชีวิตอย่างปกติและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด

นี่ไม่ใช่ปลาจาก Stranger Things แต่มันคือ “ปลาที่เกิดมา-เพื่อต้องว่ายกลับหัวไปตลอดชีวิต” Read More »

รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า”

การ์ไจอาเนียร์ (Garjainia) สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อราว 250 ล้านปีก่อน (ในยุคไทรแอสสิค – ก่อนยุคจูราสสิค) แต่ความโหดและความตะกละของมัน มีความเป็นไปได้สูงมากว่า มันกินได้ทุกอย่างแม้แต่ “พวกเดียวกันเอง” การ์ไจอาเนียร์ อยู่ในตระกูล erythrosuchid ซึ่งแปลว่า “จระเข้แดง” มีการขุดพบฟอสซิลของมันครั้งแรกที่รัสเซียเมื่อปี ค.ศ.1950 และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vjushkovia triplicostata จากนั้นในเวลาต่อมาได้ถูกค้นพบอีกครั้งที่แอฟริกาใต้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นสายพันธุ์ต่างกัน จึงได้รับการตั้งชื่อว่า Garjainia prima   ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สัตว์กินเนื้อยุคโบราณชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับมังกรโคโมโด และจระเข้แม่น้ำไนล์ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้มันจะไม่ใช่นักล่าที่มีขนาดตัวใหญ่มากนัก (ความยาวไม่ถึง 3 เมตร) แต่ส่วนหัวของมันมีความยาวถึง 1 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับหัวของทีเร็กซ์เลยทีเดียว    ริชาร์ด บัตเลอร์ นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า – “พวกมันมีส่วนหัวที่ใหญ่แบบแปลกประหลาดมาก ซึ่งยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่คิดว่าอาจเชื่อมโยงกับบทบาทของพวกมันในฐานะนักล่าแถวหน้าในระบบนิเวศของยุคนั้น โดยขากรรไกรที่ใหญ่และทรงพลัง พร้อมทั้งฟันขนาดใหญ่ที่คมแบบมีดหั่นสเต๊ก จึงทำให้การล่าเหยื่อแต่ละครั้งมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง” บัตเลอร์กล่าวเสริมว่า พวก “จระเข้แดง”

รู้จัก “การ์ไจอาเนียร์” (สัตว์กินเนื้อยุคโบราณ- จอมตะกละ) ที่มีฉายาว่า “นักล่าเหนือนักล่า” Read More »

Scroll to Top