FBIA

นักสำรวจพบ “ซากแมมมอธ” (14 ตัว) นอนเกลื่อนติดกับดักที่มนุษย์วางไว้ เมื่อ 15,000 ปีที่แล้ว

วันที่ 9 พ.ย. 2019 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักโบราณคดีของเม็กซิโก ได้ค้นพบซากโครงกระดูกแมมมอธจำนวน 14 ตัว ในหลุมลึก 2 หลุม บริเวณเมือง Tultepec (ทุลเทเพค) ทางตอนเหนือของเม็กซิโกซิตี้ (ใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างสนามบินใหม่) ถือเป็นการค้นพบโครงกระดูกแมมมอธจำนวนมากที่สุดของประเทศเม็กซิโก ทีมงานเชื่อว่า พวกมันตายหลังจากติดกับดักซึ่งสร้างมนุษย์สร้างไว้ในช่วงราว 15,000 ปีที่แล้ว เนื่องจากแต่ละหลุมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เมตร และลึกลงไปราว 1.7 เมตร จึงเชื่อว่าเป็นกับดักล่าสัตว์ของมนุษย์ในยุคนั้น และการค้นพบในครั้งนี้ นักโบราณคดีไม่ได้ขุดพบพวกมันนอนเป็นระเบียบสวยงาม แต่สิ่งที่พวกเขาขุดพบคือ ซากโครงกระดูกที่อยู่กระจัดกระจายมากกว่า 800 ชิ้น ทำให้ทีมงานต้องใช้เวลานานถึง 10 เดือน ในการขุดค้น-นำมาประกอบ-นำมาวิจัย “การค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ระบุว่า มนุษย์รู้จักวางแผนการล่ามาเป็นเวลานานแล้ว เพราะจากการตรวจสอบกระดูกพบว่าแมมมอธบางตัวถูกชำแหละจนแทบไม่มีชิ้นเนื้อหลงเหลืออยู่ อีกทั้งยังเป็นกุญแจสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการล่าสัตว์ของยุคก่อนประวัติศาสตร์ , การรวมกลุ่มของมนุษย์ในอดีต และการศึกษาสัตว์กินพืชขนาดยักษ์ในยุคดึกดำบรรพ์” – หลุยส์ คอร์โดบา หัวหน้าทีมขุดค้น กล่าว ก่อนหน้านี้ เม็กซิโกก็เคยค้นพบกระดูกช้างแมมมอธที่สร้างความประหลาดใจมาแล้วหลายครั้ง เช่นในช่วงทศวรรษที่ […]

นักสำรวจพบ “ซากแมมมอธ” (14 ตัว) นอนเกลื่อนติดกับดักที่มนุษย์วางไว้ เมื่อ 15,000 ปีที่แล้ว Read More »

อัพเดต-ภารกิจตามหา “หมึกยักษ์-วัยรุ่น” อีกครั้ง หลังพบครั้งแรกในอเมริกา (เมื่อ 3 ปีที่แล้ว)

เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2019 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เพื่อทำภารกิจสำรวจอ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico) ได้ประกาศข่าวดีโดยการเผยแพร่คลิปของ “หมึกยักษ์”  (Giant Squid) ตัวแรกที่ถูกพบภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนที่พวกเขาพบมัน ทีมงานอยู่ห่างจากชายฝั่งหลุยเซียน่าและอลาบามาประมาณ 160 กิโลเมตร ณ ระดับความลึกราว 760 เมตร โดยก่อนหน้านี้ ทีมลูกเรือได้พยายามค้นหาสิ่งมีชิวิตสุดลึกลับนี้หลายครั้ง แต่ครั้งนี้พวกเขาได้เลือกใช้กล้องพิเศษที่มีชื่อว่า “เมดูซ่า” (Medusa) เพราะถูกตกแต่งด้วย ‘แมงกระพรุนไฟฟ้า’ เพื่อดึงดูดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึก ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสมาชิกทีมของ ดร. Edie Widder นักวิทยาศาสตร์หญิงที่สามารถบันทึกคลิปวิดีโอของปลาหมึกยักษ์ได้เป็นครั้งแรกในมหาสมุทรนอกชายฝั่งญี่ปุ่นเมื่อปี 2012 แต่แม้จะได้อุปกรณ์สุดล้ำมาช่วยแล้ว ทีมงานก็ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจมากโขอยู่ดี เพราะกล้องเมดูซ่าถูกนำไปใช้ในการสำรวจ 5 ครั้ง บันทึกวีดีโอนานครั้งละ 24 ชั่วโมง ฉะนั้นทีมงานต้องมานั่งกรองฟุตเทจกว่า 120 ชั่วโมง เพื่อดูว่ากล้องเห็นอะไรบ้าง กระทั่งวันที่ 19 มิถุนายน 2019 ระหว่างการตรวจดูฟุตเทจ ทีมงานก็ได้เจอกับปลาหมึกยักษ์ตัวนี้บนกล้อง

อัพเดต-ภารกิจตามหา “หมึกยักษ์-วัยรุ่น” อีกครั้ง หลังพบครั้งแรกในอเมริกา (เมื่อ 3 ปีที่แล้ว) Read More »

นี่คือก้อน “หยกยักษ์” (หนักเกือบ 200 ตัน) ถูกตีมูลค่า-มหาศาลกว่า “3 แสนล้านจ๊าด”

หยกยักษ์ (Giant jade) ชิ้นนี้ถูกขุดพบเมื่อเดือนตุลาคม 2016 โดยสำนักข่าวโกลบอล นิว ไลท์ออฟ เมียนมาร์ รายงานว่า เจ้าหยกยักษ์ก้อนนี้หนักถึง 175 ตัน (ความสูง 4.3 เมตร ความยาว 5.8 เมตร) ซึ่งขุดพบลึกลงไป ณ ความลึก 60 เมตร ในเหมืองหยกที่เมืองพากัน รัฐกะฉิ่น ทางตอนเหนือของประเทศเมียนมาร์     ซึ่งขณะนี้ถูกตัดแยกออกเป็นชิ้นน้อย เพื่อขายในงาน Myanmar’s Gem Emporium (ปีต่อมาเรียบร้อยแล้ว) โดย ณ ตอนนั้น มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประทศได้รับคำเชิญให้ประเมินราคาหยกยักษ์ชิ้นนี้ จากผลสรุป ทำให้ทราบว่า มันถูกตีมูลค่ามหาศาลกว่า 3 แสนล้านจ๊าด (ราว 5.7 พันล้านบาท) ซึ่งมันเป็นหินหยกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากรูปปั้นหยกแกะสลักของพระพุทธเจ้าในประเทศจีน ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 260 ตัน ขณะนี้ตั้งอยู่ ณ วัดพระหยก

นี่คือก้อน “หยกยักษ์” (หนักเกือบ 200 ตัน) ถูกตีมูลค่า-มหาศาลกว่า “3 แสนล้านจ๊าด” Read More »

Scroll to Top