FBIA

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน

เมื่อปี 2009 เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยค้นพบฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานมีปีกดึกดำบรรพ์ (หรือที่เรียกกันว่า “เรซัวร์”) ในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี เป็นหนึ่งในสองสายพันธุ์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน มีฉายาว่า “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า “เรซัวร์” คือชื่อเรียกของสัตว์ดึกดำบรรพ์บินได้ โดยจะมีหลัก ๆ แค่ 2 กลุ่ม คือ 1. Rhamphorhynchinae และ 2. Pterodactyloids ซึ่งสามารถพบเฉพาะในซีกโลกเหนือหรือที่เรียกว่ามหาทวีปลอเรเซีย ปล. อดีตมหาทวีปแพนเจียแตกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ลอเรเซีย (เหนือ) 2.กอนด์วานา (ใต้) โดยการค้นพบนี้เป็นครั้งแรกที่พบเรซัวร์ในซีกโลกใต้ คาดว่าเป็นสมาชิกของ Rhamphorhynchinae เพราะมีขนาดเล็ก โดยปีกกว้าง 2 เมตร มีหางยาวแหลม และจะงอยปากยืนยาว พร้อมฟันแหลมคม และแม้จะพ่นไฟไม่ได้แบบในซีรีส์ หรือในนิยายที่เราคุ้นเคย แต่ลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมาก็เพียงพอให้เราเรียกมันว่า “มังกร” ได้ “โจนาธาน อัลรากอน” […]

พบฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ “มังกรบินแห่งทะเลทราย” ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อ 160 ล้านปีก่อน Read More »

รู้จักกับ “Sea Cucumber” สัตว์หน้าประหลาด แต่มูลค่ามหาศาล-ฉายา “ทองคำแห่งท้องทะเล”

หลายคนอาจไม่รู้ว่า “Sea cucumber” หรือ “ปลิงทะเล” เป็นสัตว์ที่มีมูลค่ามหาศาล ที่ขายกันในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3,500 ดอลลาร์ หรือราว ๆ 130,000 บาทกันเลยทีเดียว ว่าแต่ทำไมมูลค่าของมันถึงแพงขนาดนั้น แล้วใครกันที่ยอมจ่ายเงินมหาศาลเพื่อสัตว์ทะเลหน้าแปลกชนิดนี้ เดี๋ยว Flagfrog เล่าให้ฟังครับ ก่อนอื่นมารู้จักกับปลิงทะเลกันก่อน โดยพวกมันเป็นสัตว์ไม่มีกระดุกสันหลัง มีประมาณ 1,250 สายพันธุ์ทั่วโลก มีขนาดตั้งแต่ 2 เซนติเมตร ไปจนถึงยาวสุด 1.8 เมตรเลยทีเดียว กระจายตัวอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่น้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ไปจนถึงร่องลึกสุดในมหาสมุทร โดยสายพันธุ์ที่แพง ๆ คือสายพันธุ์ที่อยู่ในน้ำลึก (ยิ่งหายากก็ยิ่งแพงนั่นเอง) ปลิงทะเลจัดว่าเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะการขับถ่ายของมันจะขับไนโตรเจน แอมโมเนีย และแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างแนวปะการัง อีกทั้งของเสียที่พวกมันปล่อยออกมายังมีค่า pH สูง ซึ่งช่วยลดความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์อีกด้วย เอาล่ะเกริ่นซะเยอะเลย มาเข้าเรื่องกันดีกว่า สำหรับสาเหตุที่ทำให้สัตว์หน้าตาประหลาดนี้มีราคาสูงลิ่วเป็นเพราะ ความนิยมในฝั่งเอเชียตะวันออกที่เชื่อว่ามีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งในอดีตมักถูกเสิร์ฟให้กับชนชั้นสูงและคนร่ำรวยมาก ๆ เท่านั้น ดังนั้นปลิงทะเลจึงถูกมองว่าเป็นอาหารล้ำค่านั่นเอง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1980

รู้จักกับ “Sea Cucumber” สัตว์หน้าประหลาด แต่มูลค่ามหาศาล-ฉายา “ทองคำแห่งท้องทะเล” Read More »

จีนประสบความสำเร็จ โคลนนิ่ง “ลูกหมาป่าอาร์กติก” (สัตว์หายาก) ตัวแรกของโลก

จากความพยายามเกือบ 2 ปีเต็ม บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของจีน ประสบความสำเร็จในการโคลิ่นนิ่ง “ลูกหมาป่าอาร์กติก” (Arctic Wolf) ครั้งแรกและตัวแรกของโลก ถูกตั้งชื่อว่า “มายา” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2022 “Sinogene Biotechnologies” เปิดเผยวิดีโอของเจ้ามายา ลูกหมาป่าอาร์กติกที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ โดยมายาเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ในกรุงปักกิ่ง จาก DNA ของ “มายา” (ตัวต้นแบบ) หมาป่าอาร์กติกที่เสียชีวิตในฮาร์บิน โพลาร์แลนด์ อุทยานสัตว์ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน  โดยมายาตัวต้นแบบถูกย้ายมาจากแคนาดาเมื่อปี 2006 และเสียชีวิตเมื่อต้นปี 2021 ด้วยวัยชรา ซึ่ง “Mi Jidong” หัวหน้าทีมของ Sinogene ระบุว่า “พวกเราใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการพยายามโคลนนิ่งเจ้ามายาขึ้นมา พวกเราเลือกใช้วิธีการถ่ายโอนนิวเคลียสของเซลล์โซมาติก (SCNT) เป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้โคลนนิ่ง ‘แกะดอลลี่’ (สัตว์โคลนนิ่งตัวแรกของโลก)” จากข้อมูลของ Global Times เผยว่า “ทีมวิจัยสกัด

จีนประสบความสำเร็จ โคลนนิ่ง “ลูกหมาป่าอาร์กติก” (สัตว์หายาก) ตัวแรกของโลก Read More »

ภัยแล้งยุโรป-ทำให้ “สโตนเฮนจ์แห่งสเปน” กลุ่มหินลึกลับ (อายุ 7,000 ปี) ปรากฏขึ้นอีกครั้ง

ในช่วงฤดูร้อนยุโรปต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้ง ระดับน้ำลดลงจนแห้งเหือด ทว่าในความยากลำบากกลับเผยให้เห็นสิ่งที่น่าทึ่งที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำ นั่นคือ “Dolmen of Guadalperal” หรือฉายา “สโตนเฮนจ์แห่งสเปน” คาดว่ามีอายุเก่าแก่กว่า 7,000 ปี ปรากฏขึ้นมาให้เห็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ดาวเทียม Landsat 8 ของ NASA ถ่ายภาพทางอากาศบริเวณอ่างเก็บน้ำ Valdecanas เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม เปรียบเทียบกับจุดเดียวกันเมื่อ 2013 จะเห็นได้ว่า จุดที่ Dolmen of Guadalperal ตั้งอยู่จะถูกน้ำจมมิด ไม่สามารถมองเห็นได้เลย (รูปที่ 3) “Dolmen of Guadalperal” ตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำ Valdecanas ประเทศสเปน ซึ่งด้วยภาวะภัยแล้งทำให้น้ำในอ่างลดลงไปมากถึง 72% จึงเผยให้เห็นกลุ่มหินโบราณหรือสโตนเฮนจ์แห่งนี้ โดยถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1926 โดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันชื่อ “Hugo Obermaier” ก่อนจะถูกน้ำท่วมในปี ค.ศ.1963 จากการสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับแต่นั้นมาก็แทบไม่เคยถูกพบอีกเลย จนกระทั่งในปัจจุบัน

ภัยแล้งยุโรป-ทำให้ “สโตนเฮนจ์แห่งสเปน” กลุ่มหินลึกลับ (อายุ 7,000 ปี) ปรากฏขึ้นอีกครั้ง Read More »

(ครั้งแรก) นักวิจัย “เปลี่ยนกรุ๊ปเลือด” อวัยวะบริจาคได้สำเร็จ-หวังช่วยชีวิตนับแสนในอนาคต

เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนกรุ๊ปเลือดของปอดจากกรุ๊ป A ไปเป็นกรุ๊ป O ได้สำเร็จ โดยหวังที่จะสร้างอวัยวะปลูกถ่ายแบบสากล ที่จะสามารถปลูกถ่ายอวัยวะให้กับผู้ป่วยได้ทุกรายโดยไม่ต้องคำนึงถึงกรุ๊ปเลือดเลย (โคตรเจ๋ง !) ตามรายงานของ Health Resource and Service Administration ระบุว่า ในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิต 17 ราย จากการรออวัยวะปลูกถ่ายที่ตรงกับกรุ๊ปเลือดตัวเอง และหลายครั้งอวัยวะปลูกถ่ายที่มีอยู่ก็ต้องสูญเปล่าไป เพราะไม่มีผู้ป่วยรับที่กรุ๊ปเลือดตรงกัน จากข้อมูลของ Stanford Blood Center ระบุว่า ประชากรกว่า 42% ในอเมริกาเป็นคนกรุ๊ป A นั่นทำให้ผู้ป่วยกรุ๊ปเลือด O และ B ที่ต้องการรับอวัยวะปลูกถ่ายต้องรอนานกว่าปกติ เพราะไม่สามารถรับอวัยวะจากเลือดกรุ๊ป A ที่มีจำนวนมากที่สุดได้ (หรือหากฝืนรับมาร่างกายจะต่อต้านเพราะมองว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม) “ดร.มาเซโล ไซเพิล” ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายปอดที่ศูนย์ปลูกถ่าย Ajmera ในแคนาดา เผชิญปัญหาดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง เขาจึงได้ตั้งทีมวิจัยในการทดลองทำอวัยวะสากลที่สามารถปลูกถ่ายอวัยวะโดยไม่สนกรุ๊ปเลือดได้ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนอวัยวะปลูกถ่ายให้เป็นกรุ๊ปเลือด O เนื่องจากสามารถเข้าได้กับทุกกรุ๊ปเลือด ไซเพิลได้ไอเดียนี้มาจากนักชีวเคมี “Stephen Withers” ที่ใช้เอนไซม์กำจัดแอนติเจนในเลือดทำให้เลือดเปลี่ยนจากกรุ๊ป A ไปเป็นกรุ๊ป

(ครั้งแรก) นักวิจัย “เปลี่ยนกรุ๊ปเลือด” อวัยวะบริจาคได้สำเร็จ-หวังช่วยชีวิตนับแสนในอนาคต Read More »

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และน้ำแข็งที่ละลายอย่างต่อเนื่องทำให้ทีมนักธรณีวิทยาที่ทำการศึกษาธารน้ำแข็ง Gepatschferner (ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศออสเตรีย) ค้นพบซากมัมมี่ “ชามัวร์” หรือ “แพะภูเขาโบราณ” อายุ 500 ปี สุดหายาก “Martin Stocker-Waldhuber” นักวิจัยผู้ค้นพบกล่าวกับ National Geographic ว่า “สังเกตเห็นเขาของมันโผล่ขึ้นมาจากน้ำแข็งตั้งแต่ปีก่อนแล้ว (2021) แต่ว่าในตอนนั้นมันยังโผล่ออกมาไม่พอที่จะสามารถดึงออกมาได้โดยที่ซากไม่เสียหาย” โดยซากของชามัวร์นี้ถูกพบที่ความสูงกว่า 11,000 ฟุต ประมาณ 3.3 กิโลเมตร “Andrea Fischer” นักธารน้ำแข็งแห่งเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัย กล่าวว่า “ชามัวร์ตัวนี้น่าจะเสียชีวิตตอนอายุประมาณ 2 ปี ซากบริเวณศรีษะเหลือแต่กระดูก แต่ส่วนอื่น ๆ ตั้งแต่อกลงไปยังคงถูกเก็บรักษาเนื่องด้วยความเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ยังมีขนและผิวหนังอยู่ครบถ้วน” การค้นพบแบบนี้เกิดขึ้นได้ยากในเทือกเขาแอลป์ แต่เนื่องด้วยอัตราการละลายที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า อาจมีซากสิ่งมีชีวิตหายากอื่น ๆ ที่ถูกธารน้ำแข็งเก็บรักษาและซ่อนเอาไว้โผล่ออกมาให้เราได้ค้นพบอีกในอนาคตอันใกล้ Fischer กล่าวเสริมอีกว่า “มีธารน้ำแข็งราว 4,000 แห่งในเทือกเขาแอลป์ เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อที่ค้นพบซากชามัวร์ในบริเวณที่เรากำลังทำการศึกษาอยู่พอดี” โดยน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ละลายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 มาจนถึงปัจจุบัน

จากการละลายต่อเนื่อง ทำให้นักสำรวจค้นพบ มัมมี่ “ชามัวร์” (อายุ 500 ปี) โดยบังเอิญ Read More »

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2020 ศูนย์รักษาพันธุ์นกฮูกซัฟโฟล์ค ของประเทศอังกฤษ ได้รับรายงานขอความช่วยเหลือว่ามีนกฮูกตัวหนึ่งบินไม่ขึ้นนอนแช่อยู่ในคูน้ำ ซึ่งหากปล่อยไว้มันต้องตายแน่ ๆ เจ้าหน้าที่จึงต้องส่งทีมงานไปช่วยเหลือ จากการรายงานของ CNN หลังจากช่วยเหลือนกฮูกตัวดังกล่าวมาแล้ว ในตอนแรกหัวหน้าทีม “ลูฟัส แซมคิน” เข้าใจว่านกฮูกอาจจะแค่ตัวเปียกทำให้ปีกหนักจนบินไม่ขึ้น แต่หลังจากตัวแห้งแล้วน้องก็ไม่ยอมบิน แซมคินก็คิดว่า เอ๊ะ หรือมันบาดเจ็บ แต่หลังจากตรวจสอบอย่างละเอียดก็ไม่พบบาดแผลใด ๆ จนกระทั่งพาไปชั่งน้ำหนักจึงรู้ว่า “อ๋อ ! น้องแค่อ้วนเกินไป” เจ้าหน้าที่ระบุว่า “นกฮูกตัวนี้หนักถึง 245 กรัม” ซึ่งหนักกว่านกฮูกทั่วไปเกือบ 3 เท่า เป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงบินไม่ขึ้น ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ “มันทำยังไงถึงอ้วนได้ขนาดนั้น ?” เพราะโดยปกติแล้ว เป็นเรื่องยากมากที่นกป่าตามธรรมชาติจะกินจนไม่สามารถบินได้แบบนี้ จากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพบว่า นกฮูกตัวนี้อาจเป็น “โรคอ้วน” (natural obesity) ประกอบช่วงเดือนก่อนหน้า อากาศอบอุ่นกว่าปกติ ทำให้แหล่งอาหารสมบูรณ์เกินไป และตามธรรมชาติของสัตว์เมื่อมีอาหารมันจะกินไม่หยุด เพื่อกักตวงให้มากที่สุด ฉะนั้นผลเลยออกมาอย่างที่เห็น แซมคิน กล่าวว่า “มันกินมากเกินไป แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับมัน

(นกอ้วนของจริง) เจ้าหน้าที่พบ “นกฮูกบินไม่ขึ้น” ตอนแรกคิดว่าบาดเจ็บ-ที่แท้น้องอ้วนเกิน Read More »

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร

นักวิจัยสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทรบนโลก พบว่ามีจำนวนมากถึง 1 พันล้านชนิด จากเดิมที่เคยเข้าใจว่ามี 20,000 ชนิด ซึ่งหากมัดรวมกันคาดว่าอาจมีน้ำหนักมากกว่าช้างแอฟริกัน 2 แสนล้านตัว ! ว่าแต่..การค้นพบนี้สำคัญอย่างไร ? เดี๋ยวเราเล่าให้ฟังครับ ในการสำรวจนี้มีนักวิจัยกว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมงาน International Census of Marine Microbes (ICoMM) เพื่อร่วมมือกันสำรวจจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในมหาสมุทร ถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว การค้นพบความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัฏจักรคาร์บอน ซึ่งจุลินทรีย์ที่หลากหลายนี้เชื่อมโยงกับพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารบนโลก ไม่เพียงแต่ในทะเลเท่านั้น แต่รวมถึงห่วงโซ่บนพื้นดินด้วย ถึงจะบอกว่าเป็นกองทัพจุลินทรีย์ที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งอาจฟังดูน่ากลัวแต่มันไม่ได้เตรียมตัวโจมตีพวกเรานะครับ ทว่าเหล่าจุลินทรีย์พวกนี้ทำหน้าที่เป็นลมหายใจของโลก ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนมันออกซิเจน รวมถึงแร่ธาตุที่สำคัญอื่น ๆ กลับสู่พื้นดิน และวนเข้าสู่วัฏจักรสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก “จอห์น บารอส” ประธานสภาที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ ICoMM จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า “มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ประมาณ 50-90 เปอร์เซนต์

นักวิจัยพบ “กองทัพจุลินทรีย์” (1 พันล้านชนิด) ที่มองไม่เห็น-กำลังซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร Read More »

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย

นักสำรวจพบซากกระดูกของสัตว์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 10 เมตร ในระหว่างเดินสำรวจชายหาดวอนบอยน์ ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคาดว่าเป็นกระดูกของวาฬ “โทนี่ แฮนด์ค็อก” ผู้ค้นพบในครั้งนี้กล่าวว่า “เราได้กลิ่นเหม็นระหว่างเดินสำรวจชายหาด และเมื่อตามกลิ่นไปก็ได้พบกับซากกระดูกขนาดใหญ่ที่น่าทึ่งนี้ มันยังคงสมบูรณ์และสดใหม่” สิ่งสำคัญที่ต้องระวังอย่างมากในการค้นพบนี้คือ ห้ามแตะต้องเด็ดขาดเนื่องจากอาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายได้ อีกทั้งการเก็บชิ้นส่วนของกระดูกที่พบไปถือเป็นการทำผิดกฎหมาย National Parks and Wildlife Service (NPWS) ระบุว่า “วาฬได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการครอบครองวาฬส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กฎหมายของรัฐและของรัฐบาลกลางถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ กระดูกวาฬมีสถานะแบบเดียวกับงาช้าง หากการครอบครองงาช้างผิดกฎหมาก กระดูกวาฬก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ ผู้คนยังคงสามารถเข้าใกล้และถ่ายรูปได้ “เกรแฮม สตับบ์” ผู็จัดการพิพิธภัณฑ์ Eden Killer Whale เผยว่า “การพบซากวาฬที่ทางตอนใต้ของออสเตรเลียนั้นไม่ค่อยแปลกเท่าไหร่ เพราะปกติจะมีซากวาฬถูกซัดเกยตื้นที่ภูมิภาคนี้เป็นประจำทุก ๆ 2 ปีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มันพิเศษคือการที่มันหลงเหลือแต่กระดูกสันหลังนี่แหละ ที่พบเจอได้ไม่บ่อยนัก” ในตอนนี้ นักวิจัยยังไม่ทราบว่า ซากกระดูกที่พบนี้เป็นของวาฬชนิดใด แต่อีกไม่นานก็น่าจะได้คำตอบเนื่องจากกระดูกยังคงมีเศษเนื้อ รวมถึงกระดูกก็มี DNA หลงเหลืออยู่เพียบ โดย “เดวิด ดอนเนลลี่”

พบ “ซากกระดูกสันหลัง” ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (ยาว 10 เมตร) เกยตื้นชายฝั่งออสเตรเลีย Read More »

หนุ่มอังกฤษเผยวิธี (พร้อมขั้นตอน) การเดินทางไปยัง “เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก”

“ไมลส์ เราท์เลดจ์” (Miles Routledge) นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบเสี่ยงตาย เขาเดินทางไปยังสถานที่อันตรายมากมายทั่วโลก เช่น อัฟกานิสถานท่ามกลางการยึดครองของตอลิบาน หรือ ยูเครนระหว่างการรุกรานของรัสเซีย โดยจุดหมายต่อไปของเขาคือ “นอร์ท เซนทิเนล” เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก “นอร์ท เซนทิเนล” (North Sentinel) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในอ่าวเบงกอล ณ คาบมหาสมุทรอินเดีย เป็นที่อยู่ของชนเผ่าเซนทิเนลลีส ที่ปฏิเสธการติดต่อจากโลกภายนอกมานานเกือบ 10,000 ปีแล้ว และหากใครเข้ามาใกล้เกาะภายในรัศมี 500 เมตร จะถูกชนเผ่าโจมตีด้วยการยิงธนูใส่ทันที  โดยในปี 2006 มีชาวประมง 2 คน ถูกสังหารเนื่องจากเข้าใกล้เกาะมากเกินไป และในปี 2018 นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน John Allen Chau ก็ถูกสังหารหลังจากพยายามขึ้นฝั่งบนเกาะเซนทิเนล โดยสาเหตุที่พวกเขาปฏิเสธจากโลกภายนอกแบบนี้ เป็นเพราะกลัวการติดเชื้อจากคนนอกเผ่านั้นเอง แม้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทางการของอินเดียพยายามผูกมิตรกับเผ่าเซนทิเนลแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล เอาล่ะ..กลับมาที่ “ไมลส์ เราท์เลดจ์” เขาทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ถึงแผนการเดินทางไปยังเกาะเซนทิเนลไว้ดังนี้ เริ่มจากเช่าเรือ 2 ลำเดินทางไปยังเกาะเซนทิเนล โดยแยกกันไปคนละทาง ให้เรือลำแรกจุดดอกไม้ไฟเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของชนเผ่า

หนุ่มอังกฤษเผยวิธี (พร้อมขั้นตอน) การเดินทางไปยัง “เกาะที่อันตรายที่สุดในโลก” Read More »

Scroll to Top